"ฮูส์คอล" เปิดสถิติโทรศัพท์หลอกลวงพุ่ง 6.4 ล้านครั้ง

อาชญากรรม
4 มี.ค. 65
07:17
831
Logo Thai PBS
"ฮูส์คอล" เปิดสถิติโทรศัพท์หลอกลวงพุ่ง 6.4 ล้านครั้ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ฮูส์คอล" เปิดสถิติปี 2564 มีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงในประเทศไทยมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 270% จากปีก่อนหน้า มีข้อความ SMS หลอกลวง เพิ่มขึ้นถึง 57% วิธีที่พบบ่อยคือหลอกให้ดาวน์โหลดแอปฯที่เป็นอันตรายและหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2565 ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันฮูส์คอล (Whoscall) เปิดเผยรายงาน รายงานข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มการโทรศัพท์ และข้อความหลอกลวงทาง เอสเอ็มเอสทั่วโลกและประเทศไทย พบว่า ปี 2564 จำนวนการโทรฯ และข้อความหลอกลวงทั่วโลกมีจำนวนถึง 460 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 จากปีที่แล้ว

น.ส.ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ หัวหน้าฝ่ายการตลาด โกโกลุค ประเทศไทย ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันฮูส์คอล (Whoscall) เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงในประเทศไทยมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 270 จากปีก่อนหน้า ส่วนข้อความ "เอสเอ็มเอส" หลอกลวงยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57 ซึ่งการหลอกลวงลักษณะนี้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

ทำไมการหลอกลวงด้วยวิธีการส่งข้อความถึงมีมากสาเหตุก็เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ ประกอบกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือเหยื่ออยู่ในอัตราสูง ทำให้จำนวนข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้นทุกๆ เดือน ตั้งแต่ปี 2563 และเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2564 โดยข้อความเอสเอ็มเอส หลอกลวงในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 57 ซึ่งข้อความเหล่านี้อาจนำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือการสูญเสียทรัพย์สิน ซึ่งประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเมื่อมีเบอร์แปลกโทรฯ หรือส่งข้อความเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากลุ่มดังกล่าวมีการขอข้อมูลส่วนตัว

น.ส.ฐิตินันท์ กล่าวต่อว่า ในช่วงปี 2564 การโทรหลอกลวงชี้ให้เห็นมีความแนบเนียนมากขึ้นและมีความถี่สูงขึ้น โดยสายมิจฉาชีพจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เช่น การโทรที่อ้างว่ามาจากคอลเซ็นเตอร์บริการจัดส่งสินค้า ซึ่งเริ่มรุนแรงมาตั้งแต่เดือน เม.ย.2564 จนถึง ในช่วงระหว่างเดือน ก.ย.- ธ.ค. และจากการหลอกลวงดังกล่าวส่งผลให้เหยื่อสูญเสียเงินมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท

นอกจากนี้การฉ้อโกงอีกแบบหนึ่งที่ได้รับการรายงานจากผู้ใช้ ฮูส์คอล คือ การโทรศัพท์ที่อ้างว่ามาจากตำรวจ โดยกล่าวหาว่าผู้ใช้มีส่วนร่วมในอาชญากรรม เช่น การฟอกเงิน เป็นต้น

 

สถานการณ์การหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นในไทย สะท้อนถึงกระแสโลก ที่มีนักต้มตุ๋นในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างใช้กลวิธีที่หลากหลาย อาทิ ไต้หวัน ได้รับผลกระทบจากการหลอกลวงด้านการลงทุนในหุ้น เนื่องมาจากตลาดหุ้นที่เฟื่องฟู

ขณะที่ในฮ่องกง มาเลเซีย และเกาหลี มีผู้หลอกลวงโดยการปลอมตัวเป็นอัยการ ในญี่ปุ่น พนักงานบริษัทไฟฟ้าปลอมได้ทำการ โทรศัพท์หลอกลวง เพื่อเรียกเก็บค่าบริการบำรุงรักษาสำหรับผู้บริโภค ฯลฯ

ทั้งนี้ ฮูส์คอล เป็นเหมือนผู้ช่วยให้คัดกรองเบอร์เบื้องต้น รู้ทันถึงที่มาของผู้ส่งและสายโทรฯ เข้าที่ไม่รู้จัก Community Report หรือ การรายงานเพื่อระบุหมายเลขโทรศัพท์หลอกลวงจากผู้ใช้ ฮูส์คอลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถือเป็นการช่วยกันของคนไทยเพื่อเสริมเกราะป้องกันภัยจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี รวมถึงช่วยปกป้องคนที่คุณรัก และสังคมไทยให้พ้นจากการถูกหลอกลวง

นอกจากแอปพลิเคชัน ฮูส์คอลเเล้ว ยังมีอีกหลายเเอปที่สามารถกลั่นกรองเบอร์เเปลก ๆ หรือ มิจฉาชีพได้ ตรวจสอบแอปพลิเคชันสกัดผู้หลอกลวง เช่น Mr. Number ผู้ช่วยจัดการบล็อกเบอร์โทรแปลกที่เราไม่ต้องการให้โทรเข้ามาได้มากสุดถึง 20 เบอร์ จัดเก็บข้อมูลเบอร์โทรเป็นระบบ มีการเตือนทุกครั้งที่มีสายโทรเข้ามา จุดเด่นช่วยบล็อกเบอร์และข้อความรบกวน เเละมีฐานข้อมูลเบอร์โทรต้องสงสัย

 

นอกจากนี้ มี Hiya นอกจากจะช่วยบล็อกเบอร์โทรแปลกแล้ว เเอปนี้ สามารถโชว์เบอร์ที่ตั้งค่าไว้ไม่ให้โชว์ว่าโทรมาจากที่ไหนได้ และสามารถค้นหาที่มาของเบอร์โทรว่ามีประวัติต้มตุ๋นหรือไม่ รวมทั้ง ปิดการแจ้งเตือนเบอร์โทรที่ไม่ต้องการได้นี่เป็นตัวอย่างบางส่วนเท่านั้นที่ได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่าง สำคัญคือต้องรู้เท่าทันพวกมจฉาชีพด้วย

 

 

 

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง