เปิดเกณฑ์เบิกจ่ายโควิด "ผู้ป่วยนอก-แยกกักตัวที่บ้าน"

สังคม
6 มี.ค. 65
16:38
11,350
Logo Thai PBS
เปิดเกณฑ์เบิกจ่ายโควิด "ผู้ป่วยนอก-แยกกักตัวที่บ้าน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สปสช.ประชุมหน่วยบริการทั่วประเทศ ชี้แจงการเบิกจ่ายดูแลรักษาโควิด หลังปรับหลักเกณฑ์ใหม่ รองรับบริการผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน เริ่มตั้งแต่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ด้านที่ปรึกษากรมการแพทย์ ย้ำกรณีตรวจ RT-PCR เฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเบิกจ่ายกรณีบริการดูแลรักษาโรคโควิด-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2565 ผ่านระบบออนไลน์ และ FB Live สปสช. โดยมีผู้ร่วมประชุมเกือบ 3,000 คน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยบริการทุกระดับทั่วประเทศเข้าร่วม

พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมการแพทย์ ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศและต่างประเทศ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา กำหนดให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อตรวจ ATK กรณีมีผลบวกให้ประเมินอาการและความเสี่ยง หากไม่มีให้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ Home Isolation (HI) และแยกกักตัวที่บ้านได้

โทรติดตามเมื่อครบ 48 ชั่วโมง - อาการแย่ลงส่ง รพ.

กรณีรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ระบบจะโทรติดตามอาการเมื่อครบ 48 ชั่วโมง หากมีอาการที่แย่ลงก็จะส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล ส่วนกรณีผู้มีอาการและมีความเสี่ยง รวมถึงที่บ้านไม่มีความพร้อมในการแยกกักตัว จะเข้าสู่การดูแลในระบบ Hotel Isolation, Hospitel และ Community Isolation โดยไม่ต้องทำการตรวจ RT-PCR ซึ่งการตรวจ RT-PCR จะทำการตรวจเฉพาะในกรณีที่ต้องเข้ารักษาห รือส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล

เช็กเกณฑ์ให้ยาต้านไวรัส

ส่วนการให้ยารักษานั้น ย้ำว่าในกรณีผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือสบายดี จะไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ ให้ยาฟ้าทะลายโจร ขึ้นอยู่ตามดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการ แพทย์จะพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด แต่หากมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน โดยผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย อาจไม่จำเป็นต้องให้ยา เพราะจากข้อมูลการรักษาพบว่าเชื้อโอไมครอน 80% ผู้ป่วยจะหายเองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ด้าน พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช. กล่าวว่า ตามที่กรมการแพทย์ได้มีการปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทาง สปสช.จึงทำการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการเพื่อรองรับการให้บริการของหน่วยบริการ ซึ่งรายการบริการต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

เปิดหลักเกณฑ์จ่ายค่าบริการ

  • บริการคัดกรองโควิด-19 สำหรับคนไทยทุกสิทธิ ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด การคัดกรองก่อนทำหัตถการตามที่กรมการแพทย์กำหนด และตามดุลยพินิจแพทย์ เฉพาะดำเนินการภายในหน่วยบริการ ทั้งการตรวจแบบ RT-PCR ประเภท 2 ยืน อัตรา 900 บาท/ครั้ง และประเภท 3 ยีน อัตรา 1,100 บาท/ครั้ง การตรวจแบบ Antigen Professional ทั้งวิธี Chormatography อัตรา 250 บาท/ครั้ง และวิธี FIA อัตรา 350 บาท/ครั้ง
    การสนับสนุนชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 แบบ ATK สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในอัตรา 55 บาท/ชุด โดยจ่ายให้กับหน่วยบริการ ซึ่งประชาชนสามารถรับชุดตรวจครั้งละไม่เกิน 2 ชุด/ครั้ง โดยตรวจเว้นระยะห่างอย่างน้อย 5 วัน และรายงานผลผ่านแอบเป๋าตังของธนาคารกรุงไทย
  • บริการดูแลรักษาโรคโควิด-19 ที่เป็นการรักษาIแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (OP self Isolation) เฉพาะผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น ซึ่งแยกการจ่ายชดเชยค่าบริการเป็น 2 ส่วน คือ 1.ค่าบริการดูแลรักษาที่เป็นจ่ายแบบเหมาจ่าย 1,000 บาท/ราย ครอบคลุมการให้คำแนะนำแยกกักตัวที่บ้าน การให้ยารักษา การประสานติดตามอาการ และการจัดระบบส่งต่อ 2.ค่าบริการสำหรับการให้คำปรึกษาหรือการดูแลรักษาเบื้องต้นหลังครบ 48 ชั่วโมงไปแล้ว (บริการรองรับการติดต่อกลับ) เหมาจ่ายอัตรา 300 บาท/ราย
  • กรณีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเช่นเดียวกับ Home Isolation และ Community Isolation (HI/CI) แบบเหมาจ่าย ทั้งกรณีรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการในระบบ และกรณีเข้ารักษาในระบบ UCEP COVID ในหน่วยบริการนอกระบบ รวมถึงการรักษานอกโรงพยาบาล ได้แก่ HI/CI, Hotel Isolation, รพ.สนาม และ Hospitel เป็นต้น ครอบคลุมบริการดูแลผู้ติดเชื้อ ค่าอาหาร 3 มื้อ/วัน อุปกรณ์ในการดูแลและติดตามสัญญาณชีพ ค่ายา และค่าเอกซเรย์ปอด หรือ Chest X-ray กรณีจำเป็น ซึ่งการจ่ายชดเชยกรณีการให้บริการรักษาตั้งแต่ 1-6 วัน จะอยู่ที่อัตรา 4,000 บาท หากมีบริการอาหารเพิ่มเป็น 6,000 บาท และบริการรักษา 7 วันขึ้นไป อยู่ที่ 8,000 บาท หากมีบริการอาหารเพิ่มเป็น 12,000 บาท
  • บริการผู้ป่วยนอกที่ไม่เข้าเกณฑ์ OP self Isolation จะครอบคลุมบริการตรวจแลปและค่าเก็บตัวอย่าง ทั้ง RT-PCR, Antibody และ Antigen ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโควิด จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาท/ราย และค่ารถส่งต่อผู้ป่วย รวมค่าชุด PPE และ ยาฆ่าเชื้อจ่ายตามจริงตามระยะทางไม่เกิน 1,400 บาท/ครั้ง
  • บริการผู้ป่วยใน กำหนดจ่ายตามระบบ DRG. และจ่ายเพิ่มเติมทั้งในส่วนค่าตรวจแลป ค่ายารักษาเฉพาะผู้ป่วยโควิดไม่เกิน 7,200 บาท/ราย ค่าห้องดูแลรวมค่าอาหาร ตั้งแต่เตียงระดับ 1-3 ในอัตราตั้งแต่ 1,000-7,500 บาท ค่าชุด PPE อัตรา 550 บาท/ชุด และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการและอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อ 300-11,000 บาท/วัน และค่ารถส่งต่อผู้ป่วย รวมค่าชุด PPE และยาฆ่าเชื้อจ่ายตามจริงตามระยะทางไม่เกิน 1,400 บาท/ครั้ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง