อาลัย "เสน่ห์​ จามริก" อดีตประธาน กสม. เสียชีวิต

สังคม
9 เม.ย. 65
19:39
433
Logo Thai PBS
อาลัย "เสน่ห์​ จามริก" อดีตประธาน กสม. เสียชีวิต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศ.เสน่ห์​ จามริก อดีตประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี​ พนมยงค์ เสียชีวิตแล้ว สวดอภิธรรมศพและพระราชทานเพลิงศพ​ที่วัดโสมนัสวิหาร​

วันนี้ (9 เม.ย.2565) นายสินธุ์สวัสดิ์​ ยอดบางเตย ผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sinsawat Yodbangtoey ว่าขอแสดงความเสียใจยิ่ง จากการจากไปของ ศ.เสน่ห์​ จามริก​ (2470-2565) ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี​ พนมยงค์ ท่านแรก

พร้อมโพสต์กำหนดบำเพ็ญกุศลรดน้ำ สวดอภิธรรมศพ และพระราชทานเพลิงศพ​ ศ.เสน่ห์​ จามริก ณ​ วัดโสมนัสวิหาร​ ถนนกรุงเกษม ป้อมปราบฯ​ กรุงเทพฯ

วันที่​ 10 เม.ย.2565

คนทั่วไปรดน้ำเวลา​ 16.00 น. น้ำหลวงเวลา​ 17.00 น.

วันที่10-12 เม.ย. และ 17-18 เม.ย.2565

สวดอภิธรรมเวลา​ 18.00 น.

วันที่ 19 เม.ย.2565

พระราชทานเพลิง​ เวลา​ 17.00 น.

ศ.เสน่ห์ จามริก เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ราษฎรอาวุโส นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ประะธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ประวัติการทำงาน
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2503-2530 อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ
พ.ศ. 2516-2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2518 ร่วมก่อตั้งสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ปัจจุบันคือ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ สสส.) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน
หัวหน้าโครงการรัฐศาสตร์ศึกษา และหัวหน้าสาขาวิชาการต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2518 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอีกหลายแห่ง งานที่ทำล้วนเน้นหนักไปทางด้านชนบท ชุมชนท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน ตำแหน่งสำคัญคือ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2552

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง