เปรียบเทียบโควิดโอมิครอน-สายพันธุ์อื่น ความรุนแรง - แพร่กระจาย

สังคม
13 เม.ย. 65
07:43
2,064
Logo Thai PBS
เปรียบเทียบโควิดโอมิครอน-สายพันธุ์อื่น ความรุนแรง - แพร่กระจาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอนามัย เผยผลสำรวจอนามัยโพล พบประชาชนร้อยละ 75 กังวลโควิดพันธุ์ใหม่ อธิบายความแตกต่างโอมิครอน - สายพันธุ์อื่น การแพร่เชื้อ-ความรุนแรง

เมื่อวันที่ 12 เม.ย.2565 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงผลการสำรวจอนามัยโพล พบว่า ประชาชนร้อยละ 75 มีความกังวลต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ เนื่องจากไม่รู้ว่าสายพันธุ์ใหม่จะรุนแรงเพียงใด กลัวว่าจะติดเชื้อได้ง่าย และกังวลว่าวัคซีนที่ฉีดไปแล้ว จะสามารถป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้หรือไม่ ขณะที่ร้อยละ 25 ไม่รู้สึกกังวลเนื่องจากมั่นใจว่าตนเองและคนในครอบครัว สามารถป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี และเชื่อมั่นต่อวัคซีนที่ได้รับมากกว่า 2 เข็ม

สำหรับข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น พบว่า ร้อยละ 64 ต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อโควิดแต่ละสายพันธุ์ เช่น โอมิครอน BA.1 BA.2 หรือพันธุ์ผสม XE XJ เป็นต้น ร้อยละ 49 ต้องการรู้วิธีดูแลเพิ่มเติมในกลุ่มเปราะบาง ทั้งเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ รวมถึงรู้วิธียกระดับการป้องกันตนเองต่อโควิดสายพันธุ์ใหม่

นอกจากนี้ บางส่วนต้องการทราบข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ รวมถึงวิธีการทำความสะอาด ต้องมีความแตกต่างจากวิธีการเดิม ๆ หรือไม่ และข้อมูลของสถานประกอบการที่ผ่านมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข

 

ความแตกต่างโควิด แต่ละสายพันธุ์

สำหรับจากการติดตามการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ด้วยธรรมชาติของโควิดเป็นไวรัสมีการปรับตัวกลายพันธุ์เพื่อความอยู่รอดอยู่เสมอ ขณะที่การกลายพันธุ์ของโควิดมีจำนวนมาก แต่มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยพิจารณาจากความรุนแรงและอัตราการแพร่กระจาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ขึ้นบัญชีสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง อัลฟา, เบตา, เดลตา, โอมิครอน

ส่วนในชื่อสายพันธุ์หลักที่องค์การอนามัยโลกให้คำนิยาม ก็จะมีสายพันธุ์ย่อยซึ่งจะมีชื่อเรียกย่อยไปอีก ยกตัวอย่างโอมิครอน ที่มีทั้งชื่อ BA.1 และ BA.2 นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ลูกผสมที่เป็นการรวมกันระหว่างสายพันธุ์หลัก ยกตัวอย่างเช่น สายพันธุ์ XE XJ ที่เป็นลูกผสมระหว่าง โอมิครอน BA.1 และ BA.2 

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ข้อมูลเท่าที่มีในปัจจุบันของแต่ละสายพันธุ์ เมื่อนำมาเปรียบเทียบพบว่า ด้านความรุนแรงของเชื้อ สายพันธุ์เดลตามีความรุนแรงมากที่สุด ขนาดที่โอมิครอน BA.2 มีความรุนแรงน้อยที่สุด

ขณะที่ ด้านความสามารถในการแพร่กระจายของเชื้อ พบว่า โอมิครอน BA.2 แพร่กระจายได้ง่ายกว่า BA.1 และเดลตา ตามลำดับ

ส่วนการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน พบว่า โอมิครอน BA.2 มีความสามารถหลบเลี่ยงภูมิมากกว่า BA.1 และเดลตา 

ในส่วนของความคงทนของเชื้อโรคบนพื้นผิวสัมผัส ยังไม่มีข้อมูลในส่วนของสายพันธุ์ย่อย แต่พบว่าโอมิครอนอยู่บนพื้นผิวหนังและผิวของพลาสติกได้นานกว่าเดลตา

ส่วนของสายพันธุ์ลูกผสม XE และ XJ ยังมีข้อมูลที่จำกัด โดยข้อมูลเท่าที่มีพบว่า XE หรือ XJ สามารถสามารถแพร่ติดเชื้อได้เร็วกว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 มีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเทียบเท่ากับสายพันธุ์ BA.2 มีอาการเช่นเดียวกับโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม

 

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า เนื่องจากโควิดทุกสายพันธุ์ต่างก็เป็นไวรัส ดังนั้นมาตรการป้องกันส่วนบุคคล หากประชาชนดำเนินการอย่างเคร่งครัดก็ยังคงมีประสิทธิภาพสูง เน้นย้ำมาตรการวัคซีน โดยเฉพาะการฉีดครบตามเกณฑ์ และควรได้รับเข้มกระตุ้น เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต จากการศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พบว่าวัคซีน 3 เข็ม ป้องกันการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 98 - 99 บุคคลเสี่ยง ควรสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น และใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า จากข้อมูลในปัจจุบันไม่ว่าโควิดจะกลายพันธุ์ไปอีกมากเท่าไร ในอนาคตหากประชาชนร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก คงมาตรการ VUCA อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถรับมือกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างปลอดภัย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสียชีวิตจากโควิดเกินร้อย 3 วันติด กลุ่มสูงวัย-โรคเรื้อรัง 97%

โอมิครอนน้องใหม่ "BA.4 - BA.5" แพร่เร็วในแอฟริกาใต้

เปิด 10 จังหวัด ป่วยโควิด "ปอดอักเสบ" สูงสุด

เช็ก 3 เงื่อนไข ผู้ป่วยโควิดเข้าเกณฑ์ UCEP Plus

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง