ไทยติด 1 ใน 5 ของโลก อนุบาลลูกเต่ามะเฟืองวัยอ่อน สำเร็จ

สิ่งแวดล้อม
13 เม.ย. 65
16:49
604
Logo Thai PBS
ไทยติด 1 ใน 5 ของโลก อนุบาลลูกเต่ามะเฟืองวัยอ่อน สำเร็จ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยประสบความสำเร็จ ติด 1 ใน 5 ของโลกการอนุบาลลูกเต่ามะเฟืองวัยอ่อนในบ่อเลี้ยงเกิน 1 ปี เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มประชากรสัตว์ทะเลหายากที่ใกล้สูญพันธุ์จากโลก

วันนี้ (13 เม.ย.2565) นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน แหลมพันวา จ.ภูเก็ต ประสบความสำเร็จการอนุบาลเต่ามะเฟืองวัยอ่อนในบ่อเลี้ยงเกิน 1 ปี จนประเทศไทยอยู่ 1 ใน 5 ของโลกที่ทำสำเร็จแล้ว คือ ศรีลังกา อเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา

นายโสภณ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยใช้ความพยายามทดลองเลี้ยงเต่ามะเฟืองในบ่อเลี้ยง แต่ยังไม่สามารถอนุบาลเป็นเวลานานได้ เพราะเต่ามะเฟืองเป็นสัตว์ทะเลหายากที่ใกล้สูญพันธุ์จากโลก (Critically endangered) และเป็นสัตว์สงวนของไทยที่เป็นเต่าทะเลน้ำลึกต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่นๆ เมื่อนำมาอนุบาลในบ่อเลี้ยงเต่าจะว่ายชนบ่อเลี้ยงจนติดเชื้อและตาย

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

เต่ามะเฟืองกลับมาวางไข่ พังงา-ภูเก็ต

เต่ามะเฟืองมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณแมงกะพรุน แล้วอาศัยอยู่ในทะเลลึกเกือบตลอดชีวิตและจะกลับมาชายหาดเฉพาะตอนวางไข่เท่านั้น โดยปี 2561 - 2564 พบเต่ามะเฟืองกลับมาวางไข่ที่พังงาและภูเก็ตอีกครั้ง มีโดยมีลูกเต่ามะเฟืองฟักตัวจากไข่ออกสู่ทะเลมากกว่า 1,000 ตัว ตามสถิติลูกเต่า 1,000 ตัวจะมีเพียง 1 ตัว เท่านั้นจะมีชีวิตรอดไปเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

อนุรักษ์-เพิ่มประชากรสัตว์ทะเลหายาก

สำหรับผลพลอยได้จากโครงการทดลองอนุบาลเต่ามะเฟืองครั้งนี้ คือ ความสำเร็จการเพาะขยายพันธุ์แมงกะพรุนหนังลายจุดและแมงกะพรุนลอดช่อง การสร้างระบบเลี้ยงสำหรับลูกเต่ามะเฟือง โดยเฉพาะคอกป้องกันไม่ให้เต่าเกิดบาดแผล และสุดท้าย งานวิจัยการอนุบาลเต่ามะเฟืองในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เล่ม

สิ่งสำคัญการศึกษาวิจัยเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติของเต่ามะเฟืองยังเป็นการเพิ่มโอกาสการมีชีวิตรอดท่ามกลางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนี้ด้วย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง