#LetTheEarthBreath โซเชียลร่วมต้านโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล

ต่างประเทศ
15 เม.ย. 65
15:35
2,032
Logo Thai PBS
#LetTheEarthBreath โซเชียลร่วมต้านโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
#LetTheEarthBreath ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยอันดับ 1 ท่ามกลางความคิดเห็นมากกว่า 1.7 ล้านทวีต หลังมีการชุมชนหลายพื้นที่ในอังกฤษ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่

วันนี้ (15 เม.ย.2565) #LetTheEarthBreath ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยอันดับ 1 ท่ามกลางความคิดเห็นมากกว่า 1.7 ล้านทวีตที่แสดงความกังวล หลังจากนักเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งเดินทางไปชุมนุมหลายพื้นที่ในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษยุติโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่


เหล่านักเคลื่อนไหวต่างชูป้ายคำว่า "ยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลเดี๋ยวนี้" และ "ประกันความยุติธรรมด้านสภาพอากาศ" เพื่อเรียกร้องให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน 

การรับทำประกันภัยโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเรื่องที่ร้ายแรงที่สุดในโลก พวกเขากำลังสร้างความวุ่นวายให้สภาพภูมิอากาศ ทั้งน้ำท่วม ความอดอยาก ไฟป่า และความตาย 


เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปเจรจาให้ยุติการชุมนุมในพื้นที่ และมีการควบคุมตัวผู้ชุมนุมบางส่วนจนทำให้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงความไม่พอใจ และร่วมเรียกร้องไปกับผู้ชุมนุมในอังกฤษ พร้อมบอกเล่าข้อเสียจากโครงการเชื้องเพลิงฟอสซิลที่จะสร้างก๊าซเรือนกระจกจนนำไปสู่การซ้ำเติมปัญหาภาวะโลกร้อน 

รายงาน IPCC ชี้ยังมีทางกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ขณะที่ก่อนหน้านี้ Reyes Tirado นักวิทยาศาสตร์จาก Greenpeace Research Laboratories มหาวิทยาลัย Exeter ระบุว่า จากข้อมูลของ IPCC มีทางออกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกอย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหลายความตกลงปารีส นอกเหนือจาก บทบาทที่สำคัญของพลังงานแสงอาทิตย์ ลม และประสิทธิภาพทางพลังงาน รายงานเน้นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูและปกป้องป่าไม้และระบบนิเวศทางธรรมชาติต่างๆ การฟื้นฟูผืนดินเพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนและการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร


อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรเงินต้องใช้เพื่อหาทางออก แต่เงินทุนของภาครัฐและเอกชนยังคงใช้อุดหนุนอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงฟอสซิล มากกว่าทางออกจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บรรลุการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตอันใกล้

กระแสการเงินในการดำเนินการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศจะต้องเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีการปลดแอก จากใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่มีที่ว่างสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่อีกแล้ว

รายงาน IPCC คณะทำงานที่ 3 ยืนยันว่า แผนและนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกภายความตกลงปารีส แต่กลับขยายความไม่เท่าเทียม และส่งผลกระทบต่อชุมชนที่มีเปราะบางอยู่แล้วให้เสี่ยงมากขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และยังสรุปถึงกรอบการทำงานของรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกว่าจะสามารถทำตามคำมั่นสัญญา ที่มีขึ้นเมื่อปี 2564 การประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กลาสโกว์ ซึ่งตกลงจะทบทวนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศภายในสิ้นปี 2565 การประชุมสุดยอดครั้งต่อไปคือ COP27 ในอียิปต์ในปลายปีนี้ ซึ่งประเทศต่าง ๆ จะต้องตอบรับข้อค้นพบของ IPCC เกี่ยวกับแผนปฏิบัติการที่ไม่เข้มแข็งและขาดความต่อเนื่อง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง