จับตา "โอมิครอน" สายพันธุ์ BA.5 -BA.2.12 พบชาวต่างชาติ 3 คน

สังคม
9 พ.ค. 65
14:24
2,723
Logo Thai PBS
จับตา "โอมิครอน" สายพันธุ์ BA.5 -BA.2.12 พบชาวต่างชาติ 3 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2 ครองไทย 97.6% กลืนเดลตาที่เคยระบาดช่วงปี 2564 จับตาสายพันธุ์ย่อย BA.2.12 พบชาวต่างชาติในไทย 2 คน ส่วนอีก 1 คนสัญชาติบราซิลสายพันธุ์ BA.5

วันนี้ (9 พ.ค.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทยว่า ขณะนี้มีการพบสายพันธุ์โควิด-19 และมีการนำเสนอข่าวในหลายประเด็นทำให้เกิดความวิตกกังวล ยังยืนยันว่าสธ.มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในไทย ซึ่งผลการตรวจสอบใน 2 สัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค.นี้ ไม่พบว่าสายพันธุ์อื่น เช่น เบตา อัลฟา และเดลตาแล้ว แต่พบจากตัวอย่างที่ตรวจสอบ 800 คนเป็นโอมิครอนทั้งหมด 100%

สายพันธุ์โอมิครอนที่ตรวจสอบส่วนใหญ่เป็นโอมิครอน BA.1 จำนวน 18 คนหรือ 2.4% และอีก 728 คนเป็นสายพันธุ์ BA.2 หรือคิดเป็น 97.6% ซึ่งพบทั้งในคนไทย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า หลังจากการเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ย.2564 ที่พบในช่วงแรกยังเป็นเดลตา และเริ่มมาเป็นโอมิครอน กลืนสายพันธุ์เดลตาไปแล้ว และจากการตรวจสอบพบว่าในกลุ่ม BA.1,BA.2 มีการแยกตัวเป็นย่อยๆไปอีก 20 สายพันธุ์ และยังไม่มีข้อมูลว่าสายพันธุ์ย่อยนี้ มีระดับความรุนแรงที่น่ากังวล  แต่ในตอนนี้ที่สหรัฐอเมริกา พบการระบาดของสายพันธุ์ย่อย BA.2.12

สำหรับสายพันธุ์ไฮบริดโดย GISAID รายงานจากที่พบในทั่วโลก พบว่าตั้งแต่ XA,XE,XS ยังไม่มีรายงานจากไทยที่เราเคยสงสัยเรื่อง XJ ถือว่าเป็นโมฆะ หรือไทยยังไม่มีไฮบริด 

พบโควิดสายพันธุ์ย่อยBA.5- BA.2.12 ในชาวต่างชาติ

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า แต่จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ X ในไทยทั้งหมด 12 ตัวอย่างพบมีสายพันธุ์ XM จำนวน 8 ตัวอย่าง และ XN จำนวน 3 และ  XE อีก 1 ตัวอย่าง 

นอกจากนี้ จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว (WGS) ในประเทศไทย เบื้องต้นพบ BA.5 จำนวน 1 คน สัญชาติบราซิล และ BA.2.12 จำนวน 2 คน สัญชาติอินเดีย และแคนาดา ส่วน BA.2.12.1 และ BA.4 ยังไม่พบในประเทศไทยแต่อย่างใด

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ในส่วนของ BA.4 พบข้อมูลว่า มีบางส่วนคล้าย BA.1 และ BA.2 หรือมีการกลายพันธุ์ของสไปค์โปรตีน ซึ่งเหมือนกับที่เคยเกิดในเดลตา แต่ยังถือว่าเร็วเกินไปที่จะระบุว่าจะมีความสามารถในการแพร่ระบาดรวดเร็ว หรือมีความรุนแรงเท่าเดลตาหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ในผู้ที่เคยติดเชื้อ BA.1 พบว่า ภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกัน BA.4 และ BA.5 ได้มากพอ แต่ในผู้ติดเชื้อที่เคยฉีดวัคซีน ภูมิยังสามารถป้องกัน BA.4 และ BA.5 ได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์แบบ SNP/Deletion ในทุกศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อดูสถานการณ์ทั้ง BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง