ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ระบุต้องปลดล็อกตัวเอง ไม่ต้องทำเองทุกอย่าง ประสานทุกทางให้ได้

การเมือง
16 พ.ค. 65
20:10
153
Logo Thai PBS
ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ระบุต้องปลดล็อกตัวเอง ไม่ต้องทำเองทุกอย่าง ประสานทุกทางให้ได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ระบุ ตัวชี้วัดความสำเร็จของการสร้างเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ต้องกระจายอำนาจ ทำงานร่วมกับเครือข่าย ปลดล็อกตัวเองให้ได้ พร้อมประสานกับหน่วยงานอื่น

วันนี้ (16 พ.ค.2565) ที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ไทยพีบีเอส เวลา 16.30 น. ไทยพีบีเอส จัดมหกรรม “ปลุกกรุงเทพฯ เปลี่ยนเมืองใหญ่ เลือกตั้งผู้ว่าฯ 65” ด้วยการประชันวิสัยทัศน์ ของผู้สมัครชิงตำแหน่ง "ผู้ว่าฯ กทม.”

มีผู้สมัครผู้ว่าฯ เข้าร่วม 5 คน คือ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครหมายเลข 1 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครหมายเลข 3 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 4 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครหมายเลข 7 น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครหมายเลข 11

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

“4 ปี กรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร” ในความตั้งใจของว่าที่ผู้ว่าฯ 5 คน

ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมรับความหลากหลาย คนทุกกลุ่ม-สภาพแวดล้อม

“สกลธี-สุชัชวีร์-รสนา” ตั้งเป้าพัฒนา รพ.กทม.ให้ทันสมัย

แนะพัฒนา "คนจนเมือง" มีที่อยู่อาศัย-มีงานทำ-คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ต่อมาเป็นคำถามที่ 5 เกี่ยวกับเมืองมีส่วนร่วมและเมืองสร้างสรรค์ “ตัวชี้วัดความสำเร็จของการสร้างเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”

“รสนา” ระบุกระจายอำนาจ-ทำงานร่วมกับประชาชน

น.ส.รสนา กล่าวว่า การบริหารงานท้องถิ่นเป็นงานที่ได้รับการกระจายอำนาจ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับประชาชน และเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างประชาธิปไตยทางตรง หรือแบบปรึกษาหารือ ส่วนตัวมีนโยบายกระจายงบฯ เขตละ 50 ล้านบาท ซึ่งหลายคนคิดว่า กทม.ควรเริ่มต้นเลือก ผอ.เขต แต่กฎหมายยังไม่เปิดช่อง

ตนจะใช้นโยบายกระจายงบฯ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมทำในสิ่งที่สนใจ เช่น สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว สาธารณสุข อีกทั้ง ผอ.เขตต้องดำเนินการร่วมกับประชาชน ดึงจุดเด่นของแต่ละเขต และให้ประชาชนประเมิน ผอ.เขต รวมทั้งผู้ว่าฯ กทม.

เริ่มต้นจะทำให้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครหลังเก่า ที่เสาชิงช้า เป็นพื้นที่ของประชาชน พื้นที่คนรุ่นใหม่ ในการจัดการประชุม สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ห้องสมุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยทางตรง หรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

“ศิธา” ปลื้มคำแนะเครือข่าย “ไม่ต้องทำเองทุกอย่าง”

ด้าน น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครหมายเลข 11 ระบุว่า ภาครัฐและ กทม.ทำงานเหมือนกรรไกรที่คมด้านบนด้านเดียวมาตลอด มีเพียงงบประมาณและนโยบาย ไม่เคยรับฟังเสียงจากประชาชน จึงต้องรับกรรไกรจากด้านล่างให้มีความคมด้วย

ผมเห็นด้วยกับเครือข่ายภาคประชาชนที่บอกว่า “คุณไม่ต้องทำเองทุกอย่างก็ได้” เพราะมีประชาชน มีเครือข่าย มีอาสาสมัครมากมายที่พร้อมจะพัฒนาให้บ้านเมืองดีขึ้น จึงจะดำเนินการ 2 ส่วน คือ ออฟไลน์ ให้มีสภาชุมชน ทุกคนมีส่วนร่วมทั้งหมด กิจกรรมต่าง ๆ คนต่างจังหวัดก็ต้องมีส่วนร่วมได้

"ออนไลน์" ผมจะสร้างระบบ Decentralized autonomous organizations (DAOs) ให้คนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ เข้าไปใช้งานได้ ทั้งการโหวต จัดสรรงบประมาณ โยกย้ายข้าราชการ และส่งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ หากทำได้เช่นนี้ ผมเชื่อว่าประเทศเราจะเจริญมากกว่านี้เยอะ

“วิโรจน์” ชี้ผู้ว่าฯ กทม.ต้องปลดล็อกตัวเอง

สำหรับคำถามที่ 6 ถามว่า โครงสร้างการบริหาร กทม. ที่จะทำให้นโยบายของผู้สมัครมีผลเป็นรูปธรรมอย่างไร

นายวิโรจน์ กล่าวว่า คำว่า ติดล็อก คือ ล็อกตัวเอง กับ ล็อกราชการรวมศูนย์ ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. จะต้องแก้ปัญหาล็อกตัวเองก่อน พรรคก้าวไกลไม่ได้ต้องการแค่เปลี่ยนคนในเกมเดิม แต่เราต้องการเปลี่ยนเกม โดยต้องการยกระดับการหารายได้ ด้วยการจัดเก็บภาษีที่ดินจากคนตัวใหญ่ที่เอาเปรียบ ภาษีป้ายจากนายทุนบิลบอร์ด ค่าขยะจากนายห้างใหญ่ที่จ่ายถูกมาก ซึ่ง ส.ก.ของก้าวไกล กล้าที่จะแก้ข้อบัญญัติ

การจัดงบฯ ต้องไม่ใช่ให้กับนายทุน ผู้รับเหมา ทำโครงการอุโมงค์ยักษ์ แต่ต้องกระจายไปใช้ในระบบระบายน้ำ การสร้างเขื่อน และบำรุงรักษาสถานีสูบน้ำ ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

ทุกอย่างขึ้นกับ ส.ก.ในการอนุมัติงบฯ ซึ่งผู้ว่าฯ เดิม ๆ มักใช้ส่วนนี้เป็นข้ออ้าง และปล่อยให้ติดปัญหานั้น ๆ หากแก้ไม่ได้ต้องผลักดันเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร

ส่วนความโปร่งใสนั้น จะต้องมีคณะกรรมการ 1 ชุด ดูแลป้องกันและปราบปรามคอรัปชัน ทบทวนกฎระเบียบที่ล้าสมัย เพื่อไม่ให้ข้าราชการนำปัญหาขั้นตอนมากมายและล้าหลัง ไปเรียกรับผลประโยชน์ ยืนยันว่าจะทำเป็นเรื่องแรกหากได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.

ผู้ว่าฯ กทม.ต้องทำงานประสานหลายหน้า

ด้านนายสกลธี เคยเป็นรองผู้ว่าฯกทม.มา 4 ปีเห็นปัญหามาก ๆ เพราะกทม.ผู้ว่าฯ ไม่ได้มีอำนาจเต็ม เช่น ปัญหาจราจร มีอำนาจแค่ขีดสี ตีเส้น ตั้งสัญญาณ แต่คนใช้คือตำรวจ ส่วนถนนขับไปเจอ ถ.วิภาวดี ก็เป็นของกรมทางหลวง แต่เวลามีปัญหากลายเป็น กทม.ไม่แก้ปัญหาอะไร

นายสกลธีกล่าวว่า สิ่งที่ติดล็อกคือกฎหมาย เพราะมีข้อบัญญัติที่ล็อกอยู่เงินของ กทม.จะลงได้เฉพาะในที่เอกชนเท่านั้น เช่น ถนนน้ำท่วมหน้าบ้านมาเป็น 10 ปี เงินกทม.เอามาลงไม่ได้ แต่ผู้ว่าฯ สกลธี จะเป็นคนแรกที่จะแก้ข้อบัญญัติให้เอาเงินมาแก้ปัญหา ให้ชาวกทม.ในทุกตารางนิ้ว

เขาบอกว่า พยายามขายนโยบายมาตลอด จะเป็นคนแรกที่หาเงินเป็น และใช้เงินเป็น จะเอาเงินที่ได้อุดหนุน 8 หมื่นล้านที่มาใช้เท่านั้น แต่หลังจากหักค่าใช้จ่ายในแต่ละเขตจะเหลือแค่หลักหมื่นล้านเท่านั้น ไม่พอใช้กับ 50 เขต

อุปสรรคคือไม่มีคนคิดที่จะหาไปทำตรงนั้น เพราะถ้าหาเงินมาจะเป็นภาระ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง