ความท้าทายทั่วโลก บรรลุเป้าหมาย ลดความเสี่ยงภัยพิบัติตามกรอบเซนได

ภัยพิบัติ
24 พ.ค. 65
15:04
240
Logo Thai PBS
ความท้าทายทั่วโลก บรรลุเป้าหมาย ลดความเสี่ยงภัยพิบัติตามกรอบเซนได
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

วันที่ 23-28 พ.ค.2565 รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ระดับสูง ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จาก 193 ประเทศ ราว 5,000 คน เข้าร่วมจากทางออนไลน์ และมาร่วมในงาน การประชุมระดับโลกด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 7 ที่บาหลี อินโดนีเซีย

เพื่อติดตามความคืบหน้า เพื่อติดตามความคืบหน้าที่ทั่วโลกได้ให้คำมั่นสัญญาไว้"ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในปฏิญญาเซนได เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตั้งเป้าลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมเพิ่มมาตรการเตือนภัยล่วงหน้า และระบบให้ความช่วยเหลือผลกระทบจากภัยพิบัติ

รายงานขององค์การสหประชาชาติ ที่จัดทำก่อนสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ระบุว่า แม้ทั่วโลกจะมีการพัฒนาศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติมากขึ้น และมีความคืบหน้าในการลงทุนกับระบบการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

แต่การดำเนินมาตรการ เพื่อป้องกันการสร้างความเสี่ยงใหม่ และลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ยังล่าช้ามาก

มามิ มิตซูโทริ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ ด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ระบุว่า ทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตซ้ำซ้อน ทั้งภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม พร้อม ๆ กับโรคและสงครามยูเครน ซึ่งทำให้การกำกับสำคัญมากขึ้น

 

ผู้แทนด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สหประชาชาติ มองว่า ตอนนี้ทั่วโลกยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านภัยพิบัติที่วางไว้ และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การประชุมครั้งนี้ เป็นเป็นโอกาสที่จะเร่งเครื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมาย

ไทยย้ำความพร้อม บรรลุเป้าหมายเซนได

แม้ไทยจะไม่มีผู้แทนระดับรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ แต่จะมีแถลงการณ์ของประเทศ ย้ำการนำกรอบเซนได ไปผนวกกับกรอบดำเนินการต่าง ๆ ในระดับโลก ทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อตกลงปารีส เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ

 

พรรณภา ณ น่าน ผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า ไทยเดินหน้ากระบวนการทบทวนระยะกลางของกรอบเซนได และเชื่อมั่นว่าไทยสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

5 รัฐมนตรีชาติอาเซียน เข้าร่วมประชุม

การประชุมระดับรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 พ.ค. เฉพาะอาเซียน มีระดับรัฐมนตรีเข้าร่วม 5 จาก 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ผู้จัดงาน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และกัมพูชา

ริยานติ ดจาลานเต หัวหน้าการจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สานักงานเลขาธิการอาเซียน ระบุถึงความสำคัญของ การเข้าร่วมประชุมในระดับรัฐมนตรี ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการแก้ปัญหา 

 

ก่อนการประชุมหลักจะเริ่มขึ้นในวันที่ 25 พ.ค. ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งกลุ่มประเทศ และกลุ่มผู้แทนผู้หญิง เยาวชน ผู้พิการ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน รวมตัว เพื่อจัดทำข้อเรียกร้องต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ย้ำไม่ต้องการเห็นผู้กำหนดนโยบาย ผ่อนผัน ต่อเรื่องผลกระทบภัยพิบัติ อีกต่อไป และจบที่ข้อตกลงครึ่ง ๆ กลาง ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง