ผุดแคมเปญเลิกใช้ "เลขไทย" ในหนังสือราชการ

สังคม
29 พ.ค. 65
12:15
2,943
Logo Thai PBS
ผุดแคมเปญเลิกใช้ "เลขไทย" ในหนังสือราชการ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โซเชียลผุดแคมเปญรณรงค์เลิกใช้ "เลขไทย" ในหนังสือราชการผ่าน www.change.org นักดิจิทัล ระบุกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลดิจิทัล

วันนี้ (29 พ.ค.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โซเชียลได้มีการรณรงค์ผ่านเว็บไซต์ https://www.change.org เพื่อขอรายชื่อสนับสนุนรณรงค์ “ขอให้ใช้เลขอารบิกในเอกสารราชการไทย เพื่อความพัฒนาในด้านดิจิทัล” ซึ่งข้อมูลล่าสุดจนถึงเวลา 12.00 น.มีผู้ลงชื่อสนับสนุนแล้ว มีผู้สนับสนุน 893 คน 

ผู้ที่สร้างหัวข้อแคมเปญ ระบุว่าในฐานะคนทำงานด้านดิจิทัล ที่ต้องประสานงานกับภาครัฐ และในฐานะประชาชนหนึ่ง ขอเสนอข้อเรียกร้องไปยังหน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น และระดับประเทศให้ปรับมาใช้เลขอารบิกในเอกสารราชการเป็นหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และเป็นสากล และส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลดิจิทัล

การใช้เลขไทยในเอกสารดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข เพื่อการคำนวณ เป็นการขัดขวางความเจริญของงานประมวลผลเอกสารดิจิทัล ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งคงต้องได้เวลาที่รัฐจะต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงการใช้เลขไทยให้ถูกที่ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

เหตุผลการการ “ส่งเสริม” นี้ก็ไม่ได้เริ่มจากการอยากให้ใช้เลขไทยด้วย แต่เริ่มจากข้อสังเกตของ คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 16 ก.พ.2543 ที่พบว่ามีการใช้ปี ค.ศ. 2000 กันแพร่หลายในหน่วยงานราชการ เช่น ไอที 2000 มหกรรมการศีกษา 2000 เขาก็เป็นห่วงกันว่า หากราชการยอมรับการใช้เลข 2000 แล้ว “ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเอกลักษณ์ของไทยจนกลายเป็นปัญหาที่จะแก้ไขได้ยาก

 

กระทั่งคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2543 ที่จะ “กำชับ” ให้หน่วยงานใช้ พ.ศ.แทน ค.ศ. แล้วก็ "แทรก" ให้ “ส่งเสริม” การใช้เลขไทย เพราะอยาก “อนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติและเป็นสิ่งที่ควรหวงแหน เพราะปัจจุบันภาษาที่เหลืออยู่ในโลกมีไม่มากนัก”  หลังจากนั้นทุกหน่วยงานก็เริ่มใช้เลขไทยในเอกสารดิจิทัล อย่างบ้าคลั่ง เห็นได้จากคำบ่นของข้าราชการท่านหนึ่งเมื่อปี 2554

ผลของการการใช้งานอย่างไม่รู้กาลเทศะ ทำให้เกิดการใช้เลขไทยที่วิปริตผิดที่ผิดทางในเอกสารราช การกันเป็นอย่างมาก เช่น คำว่า ๕G, Windows ๑๐ หรือแม้กระทั่ง URL ที่ใช้งานไม่ได้จริง https://example.com/?passcode=๔๐๙๒๑๑

ในความเป็นจริง นโยบายการใช้เลขไทยไม่ได้เป็นการบังคับขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนราชการ ดังนั้นถ้าอยากให้การประมวลผลข้อมูลดิจิทัลก้าวหน้า หน่วยงานก็เลิกใช้เลขไทย ในเอกสารดิจิทัลของราชการ 

สิ่งที่น่าสนใจตอนขุดคุ้ยเรื่องนี้คือ ตอนปี 2485 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยมีการกำหนดให้เลขสากล (เลขอาหรับ/อารบิก) เป็นเลขไทยมาแล้ว แล้วก็มาโดนยกเลิกเมื่อปี 2587 โดยนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีในตอนนั้น

ดังนั้นการทำให้เป็นสากลไม่ใช่เรื่องใหม่เขาคิดกันมา 80 ปีแล้ว มันควรจะทำได้ เหลือแค่ต้องทำในโลกยุคไร้พรมแดน อย่าให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นปัญหาในการเชื่อมต่อและพัฒนาประเทศอีกต่อไป

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง