"ไชยา" ชี้ทางรอดประเทศชาติ คือ เปลี่ยนรัฐบาล

การเมือง
1 มิ.ย. 65
11:11
115
Logo Thai PBS
"ไชยา" ชี้ทางรอดประเทศชาติ คือ เปลี่ยนรัฐบาล
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ไชยา" ชี้ทางรอดของประเทศชาติคือการเปลี่ยนรัฐบาล ไม่สามารถทนความยากจนจากการบริหารงานของรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์" ได้

วันนี้ (1 มิ.ย.2565) นายไชยา พรหมา ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายตั้งข้อสังเกต การจัดงบขาดดุลต่อเนื่องมา 8 ปี และการจัดงบปี 2566 ยังไม่มีความแตกต่างจากที่ผ่านมา วงเงินงบประมาณรายจ่าย 3,185,000 ล้านบาท โดยมีเป้ารายรับ 2,490,000 ล้านบาท และตั้งวงเงินกู้ชดเชยการขาดดุล 7 แสนล้านบาท

จะเห็นว่า ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณถูกลดลงจากปี 2565 จำนวน 5,000 ล้านบาท เป็นการลดแก้เกี้ยว เสมือนหนึ่งรัฐบาลจัดงบประมาณขาดดุลน้อยลง

ที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้เงินแบบมือเติบ สุรุ่ยสุร่ายมี 100 ใช้ 200 รู้แต่วิธีการใช้เงิน แต่ไม่รู้วิธีการหาเงิน

ชี้รัฐบาลมีแต่รายจ่ายไม่เกิดรายได้

พร้อมยกตัวอย่าง จัดทำงบประมาณด้านความมั่นคงในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ อาจจะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์สังคม ที่มีความเปลี่ยนแปลง หรือรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มภาระให้กับประเทศ แต่กลับพบว่า ยังมีแผนการจัดซื้ออาวุธเป็นจำนวนมาก 450,000 ล้านบาท ในช่วง 10 ปีข้างหน้า แต่เทคโนโลยีอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

นายไชยากล่าวต่อว่า ขณะที่งบบูรณาการที่มากกว่า 218,477 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 6.86 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ถูกซ่อนไว้ในกระทรวงต่างๆ ถูกนำมาใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถวัดความสำเร็จในเนื้อหาสาระของแต่ละโครงการ ทำให้การทำงานแบบบูรณาการเป็นเพียงรูปแบบ และคำพูดที่สวยหรูเท่านั้น ซึ่งเป็นงบบูรณาการที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน

การจัดทำงบประมาณครั้งนี้ไม่สอดคล้อง และไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน แม้สามารถกู้เงินได้ กว่า 700,000 ล้านบาท แต่การประมาณการรายได้จัดเก็บภาษี เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

หากต่ำกว่าการประมาณการ หรือต่ำกว่า 2.49 แสนล้านบาท รัฐจะทำอย่างไร ชี้ปัจจุบันตัวเลขหนี้สาธารณะสะสม 10 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 15 ปี

มาถึงจุดวิกฤต ยอมติดโควิดเอาเงินประกัน

นายไชยาตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ขาดไปในการจัดทำงบประมาณครั้งนี้ คือรัฐบาลมองสถานการณ์ไม่ขาด โดยเฉพาะวิกฤตอาหารโลก ที่ส่งผลจากสงครามรัสเซียยูเครน แล้วรัฐบาลจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เริ่มงดการส่งออกอาหาร เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับประเทศของตัวเอง

ปีนี้เป็นปีที่รัฐบาลประกาศให้เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน สิ้นปี 2565 มีแนวโน้มหนี้ครัวเรือนสูงร้อยละ 90-92 % ต่อจีดีพี รายได้ของประชาชนแต่ละเดือนทั้งหมดต้องนำมาใช้จ่ายหนี้สิน ถึงขั้นเกิดจุดเลวร้ายที่สุด เมื่อมีคนตัดสินใจที่จะติดโควิดเพื่อนำเงินประกันมาใช้จ่าย

นายไชยาอภิปรายต่อว่า อยากเห็นการจัดสรรงบประมาณที่สอดรับกับปัญหาของประเทศอย่างเร่งด่วน ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาวางแผนการแก้ไขปัญหาระยะสั้น-ระยะยาว รัฐบาลต้องลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ชะลอออกไป ลดการการนำเข้าที่มีต้นทุนสูง เช่นเรือดำน้ำและอาวุธยุทโธปกรณ์

ใช้งบฯ แอบแฝง เลี่ยงตรวจสอบ

ที่ผ่านมารัฐบาลใช้จ่ายอย่างพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ รวมถึงการลักษณะที่แอบแฝง ลับ ลวง พราง ยากต่อการตรวจสอบ โดยได้รับการร้องเรียน เกี่ยวกับงบกลางเพื่อการฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านสถาบันการศึกษา

พบสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในงบประมาณ ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยมีขบวนการในการหาผลประโยชน์จากมันส่วนนี้โดยกำลังรวบรวมหลักฐานตรวจสอบในฐานะประธานกรรมาธิการติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณ โดยชี้ว่าการเปลี่ยนรัฐบาลง่ายที่สุดเพื่อเป็นหนทางที่ประเทศไทยจะรอด เพราะทนความยากลำบากจากรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้อีกแล้ว ย้ำว่าหมดเวลาของรัฐบาลแล้ว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ยิ่งลักษณ์” โพสต์สวนนายกฯ หยุดโจมตี “สร้างหนี้” เทียบจีดีพี 8 ปี หนี้สูง 4.4 ล้านล้าน

ฝ่ายค้านตั้งฉายา "พ.ร.บ.งบฯ ฉบับขูดรีดประชาชน”

รัฐบาลของบฯ 1.2 หมื่นล้าน จัด "นมโรงเรียน" ดูแลเด็ก 6.79 ล้านคน

ฝ่ายค้านชี้รัฐบาลแจงงบฯ ปี 66 ยังเหมือนกบในกะลา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง