"ชัชชาติ" ขอ 1 เดือนเคลียร์สัญญา "บีทีเอสสายเขียว"

เศรษฐกิจ
2 มิ.ย. 65
15:29
8,153
Logo Thai PBS
"ชัชชาติ" ขอ 1 เดือนเคลียร์สัญญา "บีทีเอสสายเขียว"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ส่งสัญญาณหลังหารือกับกรุงเทพธนาคม ปมสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ตั้งเป้า 1 เดือนได้ข้อสรุปปมสัญญา ส่วนภาระหนี้ 40,000 ล้านบาทโครงสร้างพื้นฐานขอคุยหลายหน่วยงาน ชี้ถ้าพ้นหนี้จะช่วยค่าโดยสารถูกลง

วันนี้ (2 มิ.ย.2565) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร เผยภายหลังร่วมหารือบริษัทกรุง เทพธนาคมนานกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อดูรายละเอียดสัญญาการเดินรถ และสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เบื้องต้นคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 1 เดือน

นายชัชชาติ กล่าวว่า มีการดูข้อกฎหมาย สัญญาการเดินรถบีทีเอสสายสีเขียว โดยพบว่าเห็นสัญญาการเดินรถที่จะสิ้นสุดในปี 2585 เป็นตัวที่ก่อให้เกิดภาระหนี้สินได้ จึงต้องนำข้อมูลมาตรวจสอบว่าภาระหนี้สินเกิดจากอะไร รวมทั้งต้องสัญญาได้รับการอนุมัติจากสภากทม.หรือไม่ 

ขออย่าเอาหนี้สินมาเป็นตัวเร่งรัดหรือผูกมัด การตัดสินใจระยะยาว แม้ว่าจะมีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ว่าจ่ายไปเท่าไหร่ 

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้หากมีความจำเป็น กทม.ยังมีข้อบัญญัติในการกู้เงินที่จะนำมาชำระหนี้สินได้ โดยเป็นข้อบัญญัติที่ต้องผ่านสภากทม.ก่อน และเป็นการกู้เงินจากรัฐจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าเอกชนกู้ ย้ำว่าต้องดูรายละเอียดให้รอบคอบก่อน

ส่วนการขยายสัญญาสัมปทานที่จะหมดในปี 2572 ยังไม่ได้มีการหารือชัดเจน เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการหารือกัน เพราะยังมีส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร (สจส.) และสภา กทม.เข้ามาพูดคุยกันข้อมูล และทบทวนการต่ออายุสัญญาโดยให้สภากทม.ดูเนื้อหาอย่างละเอียดตามแนวทางปฏิบัติ เพราะสัญญาเดิมที่ค้างอยู่ใน ครม.

เสนอส่งไม้ต่อรัฐบาลสางหนี้ 40,000 ล้าน

นอกจากนี้ คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นโดยใช้ ม.44 จึงต้องคุยกันว่าจะเป็นโมฆะหรือไม่ หรือต้องแก้รายเอียดทางกฎหมาย จากนั้นจะเสนอให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทิศทางร่วมกัน

นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ ขณะนี้ปัญหาเรื่องหนี้ยังไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ โดยที่ผ่านมามีการคุยกับ 3 ส่วนคือ สนข.กทม.กระทรวงคมนาคม แต่กระบวนการยังไม่ชัดเจนว่า กทม.นำหนี้โครงสร้างพื้นฐานประมาณ 40,000 ล้านบาทมาเป็นภาระหนี้อย่างไร ผ่านสภา กทม.หรือไม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนจึงต้องทำเรื่องภาระหนี้ในส่วนหนี้ให้ชัดเจนก่อน

ทิศทางหนี้ 40,000 ล้านบาทโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานไหนคควรจะต้องรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งหากกทม.ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้ดังกล่าวก็จะตัวเบามากขึ้น จนทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลงเป็นไปได้มากขึ้น

ทั้งนี้หากศึกษารายละเอียดเชื่อว่าจะมีจุดที่ทำให้สัญญาถูกลงได้ เพราะที่ผ่านมาไม่มีการใช้พ.ร.บ.ร่วมทุน เข้ามาแข่งขัน ส่วนค่าโดยสาร 8 สถานีราคา 25 บาท เป็นเป้าหมายหลังจากที่ทีมงานศึกษาข้อมูลก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อยากจะทำแต่ก็จะมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" ถกปมสัญญาสัมปทาน BTS - โรงไฟฟ้าขยะ

รถไฟฟ้าเขียวจากมุม "ชัชชาติ"

"ชัชชาติ" รับใบรับรองผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 17

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง