เปลี่ยนขวด PET เป็นชุดวิบวับสุดเจิดจ้า ช่วยเซฟ พนง.กวาดถนน

สังคม
18 ก.ค. 65
15:25
1,082
Logo Thai PBS
เปลี่ยนขวด PET เป็นชุดวิบวับสุดเจิดจ้า ช่วยเซฟ พนง.กวาดถนน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กทม.ร่วมกับภาคประชาสังคมตั้งจุดรับบริจาคขวดพลาสติกใส เพื่อผลิตชุดเรืองแสง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้พนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะ พร้อมเล็งตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อพนักงานในอนาคต ตั้งเป้า 1,000 ชุด

ปัญหาขยะจำนวนมากในพื้นที่กรุงเทพฯ แนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดปริมาณขยะประเภทขวดใส (PET) ได้ โดย กรุงเทพฯ ร่วมกับ พันธมิตรเครือข่ายสังคมลดขยะ ต่าง ๆ ด้วยการนำรับบริจาคขวดพลาสติกใส (PET) เพื่อนำมารีไซเคิล ด้วยโครงการ “แยกขยะ เพื่อพี่ไม้กวาด” ซึ่งจะนำขยะมารีไซเคิลเป็นชุดวิบวับ ชุดปฏิบัติงานเรืองแสงซึ่งจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะขณะปฏิบัติหน้าที่ได้   

ตั้งเป้าเพิ่มความปลอดภัย-ตั้งกองทุน

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า โครงการมือวิเศษกรุงเทพ “แยกเพื่อให้...พี่ไม้กวาด” โดยกรุงเทพฯจะเป็นจุดรับบริจาคพลาสติกโดยเฉพาะ PET ที่สามารถนำมาแปรรูปได้โดยตั้งจุดเปิดรับบริจาคทั้งพื้นที่ศาลาว่าการกทม.ดินแดง และเสาชิงช้า และสำนักงานเขตรวมทั้งหมด 52 จุด 

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

 

ขวดพลาสติก( PET) จะถูกนำไปแปรรูปแล้วทักถอเป็นเส้นใย เพื่อตัดเย็บเป็นชุดปฏิบัติงานให้กับพนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน

 

นอกจากนี้ ยังรับบริจาค พลาสติกขุ่น และ ฟิล์มยืด โดยรายได้จากการขายจะนำมาสมทบในการผลิตและตัดเย็บชุด โดยตั้งเป้าการผลิตทั้งหมด 1,000 ชุด โดยหลังเปิดรับบริจาคได้ราว 2 สัปดาห์ มียอดบริจาคขวดพลาสติกราว 44,000 ขวด และ ปริมาณน้ำหนักรวม 750 กก.ซึ่งเพียงพอต่อการผลิตเสื้่อวิบวับตามเป้าหมาย 1,000 ชุดแล้ว 

ชุดวิบวับ 100 ชุดแรกถูกส่งมอบให้ กทม.เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะนำไปสวมใส่ เพื่อการปรับรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป

ชุดวิบวับ 100 ชุดแรกถูกส่งมอบให้ กทม.เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะนำไปสวมใส่ เพื่อการปรับรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป

ชุดวิบวับ 100 ชุดแรกถูกส่งมอบให้ กทม.เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะนำไปสวมใส่ เพื่อการปรับรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป

 

นอกจากนี้ กทม.ยังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการในกอนาคต เพื่อการประกันชีวิตและเยียวยากลุ่มพนักงานกวาดถนนเพิ่มเติม 

ขวดใสขนาด 600 มล.จำนวน 42 ขวดจะสามารถนำมาผลิตชุดวิบวับเรืองแสงได้ ประชาชนเมื่อทราบว่า มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือพนักงานกวาดถนนก็ช่วยการนำขวดมาบริจาคกันเป็นจำนวนมากและขณะนี้เพียงพอที่จะผลิตได้ 1,000 ชุดแล้ว

ทั้งนี้ เบื้องต้นสามารถผลิตได้แล้ว 100 ชุด โดยจะเป็นชุดที่จะทดลองนำไปให้พนักงานกวาดถนนและพนักงานเก็บขยะได้ใช้งานจากนั้นจะนำไปปรับปรุงรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป ซึ่งรูปแบบและสีเขียวสะท้อนแสงนี้จะคล้ายคลึงกับพนักงานประเทศเกาหลีใต้ใช้

เสื้อสะท้อนแสงสำหรับพนักงานเก็บขยะ

เสื้อสะท้อนแสงสำหรับพนักงานเก็บขยะ

เสื้อสะท้อนแสงสำหรับพนักงานเก็บขยะ

 

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ชุดดังกล่าวจะสามารถเพิ่มความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานได้ เนื่องจากสามารถมองเห็นได้แม้ในพื้นที่แสงน้อย ทั้งในเวลากลางคืนและช่วงโพล้เพล้ที่พนักงานออกปฏิบัติงาน 

 

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดกับพนักงานกวาดถนนได้ เนื่องจากในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุเกิดกับพนักงานกวาดถนนราว 4-5 คน ซึ่งการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ วินัยจราจรเพื่อให้เกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย ขณะที่ชุดปฏิบัติงานเรืองแสงจะช่วยลดความเสี่ยงเบื้องต้นได้


ประชาชนพร้อมร่วมบริจาค

ด้านนายเมธา เสนทอง เครือข่ายสังคมลดขยะ Less Plastic Thailand กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการ “แยกขวดช่วยหมอ ฝาก กทม.ก็ได้นะ” ซึ่งนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นชุด PPE เพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและดูแลผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งผลตอบรับจากโครงการดังกล่าวจึงนำมาต่อยอดโครงการนี้ และเพิ่มการรับบริจาคในพลาสติกขุ่นและฟิล์มยืด

 

ขณะที่ กฤติกา ชัยวิมล ตัวแทน ตัวแทน บ.แซทเซฟ จำกัด ผู้ผลิตชุดวิบวับ อธิบายถึงคุณสมบัติชุดดังกล่าวว่า ชุบวิบวับดังกล่าว มีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดีในพื้นที่กลางแจ้ง ด้วยมาตรฐานความปลอดภัย EN20471 สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานกลางแจ้ง และสามารถสะท้อนน้ำได้ซึ่งจะทำให้คราบสิ่งสกปรกติดยากขึ้นและทำความสะอาดง่ายขึ้น

 

เชื่อช่วยลดอุบัติเหตุได้ 

ด้านนางละมูล พันธุ์จันดีอายุ 57 ปี พนักงาน กทม.กล่าวว่า ในการปฏิบัติงานมักที่จะพบความเสี่ยงเมื่อต้องไปปฏิบัติงานริมถนนและจุดต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุจากรถที่สัญจรไป-มา ได้ และหากมีชุดที่สะท้อนแสงที่จะช่วยให้รถยนต์สามารถมองเห็นได้ก็จะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

 

โครงการรับริจาคขวดพลาสติก ด้วยความร่วมมือของ กทม.และภาคประชาชน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ประชาชนสามารถนำขวดพลาสติกไปใช่ผลิตชุดเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ขณะที่ในระยะยาวสามารถเปลี่ยนเป็นกองทุนเพื่อเพิ่มสวัสดิการให้กับพนักงานกวาดถนน และ เก็บขยะได้ด้วย จึงถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยยกระดับชีวิตพนักงานกวาดถนนและพนักงานกวาดถนนของ กทม.ที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสะอาดของมหานครแห่งนี้ ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง