เวทีเสวนาปม 8 ปี "พล.อ.ประยุทธ์" แนะพัก-หยุดปฏิบัติหน้าที่

การเมือง
14 ส.ค. 65
16:00
438
Logo Thai PBS
เวทีเสวนาปม 8 ปี "พล.อ.ประยุทธ์" แนะพัก-หยุดปฏิบัติหน้าที่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เวทีเสวนาวาระ 8 ปี การดำรงตำแหน่งนายกฯ ชี้เริ่มนับตั้งแต่ 2557 แนะทางลงให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสียสละ พัก-หยุดปฏิบัติหน้าที่-ลาออก หากอยู่ต่อกระทบเบิกจ่ายงบฯ-แต่งตั้งข้าราชการ

วันนี้ (14 ส.ค.2565) คณะกรรมการญาติพฤษภา 35 และสภาที่ 3 จัดเสวนาหัวข้อ “วาระ 8 ปี การดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ” โดยต่างหยิบยกข้อฎหมายมาเทียบเคียง และเชื่อว่าน่าจะเริ่มนับ ตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2557

นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ระบุว่า ได้รับการประสานจาก ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า 8 สถาบัน และ 8 สถานีโทรทัศน์ ที่จะร่วมกันโหวตกรณีการดำรงตำอหน่ง 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เหมือนกรณีอภิปรายไม่ไว้วางใจ11 รัฐมนตรีหรือไม่

นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แสดงความเป็นห่วง ว่า หลังวันที่ 24 ส.ค.2565 พล.อ.ประยุทธ์ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะหากเบิกจ่ายเงินเดือน หรือเงินอื่นใดของแผ่นดินจะมีปัญหาได้หากยื้อให้พ้น 8 ปีหลังวันที่ 24 ส.ค.นี้ เพราะไม่ได้อยู่ในฐานะดูแลการเงินการคลังของประเทศ ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับประชาชน ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสียสละ ไม่ต้องรอตีความ เพราะยึดติดอำนาจ ยืนยันส่วนตัวไม่ได้มาไล่

 

ขณะที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กังวลว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะทำให้เกิดวิกฤตทางการเมือง พร้อมระบุว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการวางกรอบกติกาในรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้จะช่วยสร้างและส่งต่อไปให้กับคนรุ่นหลัง ดังนั้นส่วนตัวคิดว่าศาลจะสร้างระบบการเมืองและขจัดความขัดแย้ง

ด้าน ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เน้นย้ำจุดยืนที่ร่วมลงชื่อไล่นายกฯ ซึ่งที่ผ่านมาให้โอกาสในการบริหารบ้านเมืองหลายอย่าง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และอยากให้เป็นบรรทัดฐานเป็นตัวอย่างที่ดี โดยหยิบยกอดีตนายทหารรุนพี่ รุ่นพ่อ ขึ้นมาเปรียบเทียบว่า ทุกคนมีสปิริต และยางอายรับผิดชอบทางการเมือง เช่น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไม่ไปต่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่เป็นนายกฯ 10 เดือน เจอวิกฤตต่าง ๆ ก็รับผิดชอบและเริ่มรู้ว่าพอ หรือแม้แต่นายเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จึงทำให้ถูกตั้งคำถามถึง พล.อ.ประยุทธ์ ว่ามีสปิริตหรือไม่ ถามถุงจริยธรรมผู้นำทางการเมือง

นายวันวิชิต ยังเชื่อว่าทุกภาคส่วนที่เคยสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เหลือพื้นที่ไว้วางใจ และส่วนตัวเชื่อว่าประเทศอยู่ได้ถ้าไม่มี พล.อ.ประยุทธ์ หรือ 3 ป. เชื่อยังมีคนเก่งมาทำหน้าที่ได้ หลังมีคำถามจากสังคมว่าใครจะมาเป็นต่อ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องอันตรายที่คิดเช่นนี้

นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย เห็นว่า ปม 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์ อาจทำให้เกิดความเสียหาย ศาลรัฐธรรมนูญควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 23 ส.ค. หรือควรสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญควรเป็นหัวให้บ้านเมืองในยามหัวเลี้ยวหัวต่อ หาก พล.อ.ประยุทธ์ ขอพัก ลาออก หรือยุบสภา ให้มีนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ หากผ่าน 23 ส.ค.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินพ้นไป ต้องเข้าสู่ระบบของปลัดกระทรวง ฝ่ายการเมืองควรแก้ปัญหา และศาลรัฐธรรมนูญต้องดูทั้งด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และสังคมวิทยาทางการเมือง รวมถึงอารมณ์ของสังคม

 

รศ.ดร.เจษฎ์ โทณวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย เชื่อว่า จุดเริ่มต้น8 ปีของพลเอกประยุทธ์คือปี 2557 พร้อมแสดงความเป็นห่วง ว่าระหว่างรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หลัง 25 ส.ค. เกรงจะมีปัญหาเรื่องการดำรงตำแหน่งเพราะทางนิตินัยทำได้ แต่ทางพฤตินัย จะทำอย่างไร โดยเฉพาะการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นประธานการประชุมกำหนดตัวผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่จะมีผลผูกพันในอนาคต จึงเสนอทางออกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ควรพักร้อน พักการทำงานด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากฝ่ายค้านยื่นตรวจสอบเรื่องปม 8 ปี ผ่านนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ นายชวนจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญทันที ไม่รอช้า เพราะหวั่นเรื่องตำบลกระสุนจะตกอยู่ที่ นายกฯ ครม. และสภาฯ เพราะหากไม่มีการทำอะไรเลย อาจเท่ากับขัดจริยธรรมร้ายแรง ซึ่งยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบได้ และหากศาลรัฐธรรมนูญไม่ดำเนินการอะไรก็จะมีผลกระทบ ดังนั้นเงื่อนงำนี้ควรให้จบไปก่อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง