ทช.ชี้กิจกรรมปล่อยปลา CSR เป็นปลาการ์ตูนพันธุ์ต่างถิ่น กระทบนิเวศน์ทางทะเล

สิ่งแวดล้อม
18 ส.ค. 65
14:25
608
Logo Thai PBS
ทช.ชี้กิจกรรมปล่อยปลา CSR เป็นปลาการ์ตูนพันธุ์ต่างถิ่น กระทบนิเวศน์ทางทะเล
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทช.ชี้แจงข้อมูลวิชาการ กรณี ทร.จัดกิจกรรมปล่อยปลา CSR ระบุ ฉลามกบไม่ใช่ alien species ขณะที่ ปลาการ์ตูนที่ปล่อยลงสู่ทะเลบางสายพันธุ์ไม่ใช่ปลาประจำถิ่น อาจส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์ประจำถิ่นได้

วันนี้ (18 ส.ค.65) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์ เฟซบุ๊ก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ข้อมูลวิชาการ กรณีการปล่อยปลา CSR โดยมี เนื้อหา ดังนี้

"กรมทะเล ชี้แจงข้อมูลวิชาการกรณีปล่อยปลา CSR สัตหีบ"

จากกรณี…ดราม่าที่มีอินฟลูเอนเซอร์ ไปร่วมกิจกรรมปล่อยปลาฉลาม กับหน่วยนาวิกโยธิน ในเขต ทร. สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมีการปล่อยปลาการ์ตูน ที่คนมองว่า จะเป็น alien species และมี นักอนุรักษ์สายสิ่งแวดล้อม #มาที่กรม ทช. ขอให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงทางวิชาการ นั้น

กรม ทช.ขอชี้แจงว่าการจัดกิจกรรม CSR ในพื้นที่ของ กองทัพเรือดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้

(1) ได้มีการปล่อยปลาฉลามกบ ที่สามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จึงมิใช่ alien species แต่อย่างใด

(2) ได้มีการปล่อยปลาการ์ตูน ซึ่งในประเทศไทยพบ 7 ชนิด ในอ่าวไทยพบเพียง 3 ชนิดได้แก่ ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง และปลาการ์ตูนอานม้า 

ในภาพมีพันธุ์ปลาที่ไม่ใช่ปลาประจำถิ่นของอ่าวไทย เช่น ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียน นอกจากนี้ยังมี ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ที่เป็นสายพันธุ์นำเข้าและไม่พบในประเทศไทย การปล่อยเช่นนี้ นอกจากจะไม่ช่วยในการอนุรักษ์แล้ว ยังจะทำให้ระบบนิเวศน์ทางทะเลเสียหายได้

ปลาการ์ตูนในธรรมชาติจำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกับซีแอนนีโมน ในบริเวณที่เป็นแนวปะการัง การปล่อยปลาการ์ตูนจากชายฝั่ง ทำให้โอกาสที่จะรอดชีวิตมีน้อยมาก

รวมถึงการปล่อยชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมีโอกาสที่จะไปรุกรานแก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำประจำถิ่น ทำให้เกิดการสูญพันธ์ุหรือแทนที่ด้วยสายพันธุ์ใหม่ได้

นอกจากนี้ปลาการ์ตูนมีการปรับตัวตามถิ่นที่อยู่อาศัย การนำสายพันธุ์ภายนอกอาจเป็นการทำให้เกิดลูกผสมที่อ่อนแอทำให้ประชากรเดิมลดลงได้

แนวทางการอนุรักษ์ จึงไม่ควรปล่อยสัตว์น้ำต่างถิ่น ในกรณีของการเพาะพันธุ์เพื่อปล่อย ควรทำเฉพาะสายพันธุ์ที่มีอยู่เดิมในแหล่งธรรมชาติ อนึ่ง ปลาการ์ตูนไม่จัดเป็นสัตว์คุ้มครองการเพาะพันธุ์เพื่อเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามสามารถทำได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

กองทัพเรือ ยอมรับ จนท.บกพร่องจัดกิจกรรม "ปล่อยฉลาม"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง