7 ปี เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนไทยยังไม่เกิด

ภูมิภาค
18 ก.ย. 65
11:51
230
Logo Thai PBS
7 ปี เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนไทยยังไม่เกิด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กว่า 7 ปี ที่รัฐบาลไทยได้ประกาศให้จังหวัดพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่ยังไม่มีนักลงทุนแม้แต่รายเดียวเข้าร่วมประมูล ขณะที่ลาวที่เปิดประเทศให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ใจกลางนครหลวงเวียงจันทน์

อาคารชุดขนาดใหญ่ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษบึงทาดหลวง เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ใจกลางนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งนักลงทุนจีนได้สัญญาสัมปทานจากรัฐบาลลาวเป็นเวลา 99 ปี เพื่อรองรับนักลงทุนจากจีนที่จะเข้ามา

 

การปิดประเทศระหว่างไทย-ลาว จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ได้เห็นภาพการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในนครหลวงเวียงจันทน์ ที่เปลี่ยนจาก "แลนด์ล็อก" เป็น "แลนด์ลิ้งก์" จากเมืองที่ไม่มีทางออกทางทะเลเปลี่ยนมาเป็นศูนย์การเชื่อมต่อด้านโลจิสติกส์ทางระบบรางและทางรถยนต์ ส่งสินค้าไปยังจีนและยุโรป ซึ่งร่นระยะทางและระยะเวลาในการขนส่งเกือบ 3 เท่า

 

แต่เมื่อกลับมาดูฝั่งไทย 7 ปี กับการประกาศให้จังหวัดที่ติดชายแดนเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง จ.มุกดาหาร นครพนม และบึงกาฬ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีเอกชนสนใจเข้าร่วมประมูล

ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์ กำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินอย่างเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอำเภอสระใคร จ.หนองคาย ในราคาไร่ละ 24,000 บาทต่อไร่ต่อปี ก็ยังไม่มีผู้สนใจ ต่อมาการเปิดประมูลครั้งที่ 3 และ 4 ได้ปรับลดค่าเช่าที่ดินเพียงไร่ละ 2,100 บาท ก็ยังไร้ผู้มาประมูล และเดือนหน้า พ.ย. คาดว่าจะเปิดประมูลเป็นรอบที่ 5

 

ภาคเอกชนและภาคราชการบางส่วน สะท้อนว่า ทำเลที่ตั้งรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน ไฟฟ้า ประปา อาจจะยังไม่เอื้ออำนวย อีกทั้งพื้นที่ที่รัฐเข้าไปพัฒนาค่อนข้างอยู่ห่างไกลจากตัวสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ ประมาณ 30 กิโลเมตร จึงยังทำให้ไม่มีเอกชนสนใจเข้ามาลงทุน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง