นักวิชาการชี้“รถไฟรางคู่”ธุรกิจลงทุนไทย-จีน ปมส่ง"อุยกูร์”คืนจีน-ตุรกีฉุนบุกสถานกงสุล

ต่างประเทศ
9 ก.ค. 58
09:35
661
Logo Thai PBS
นักวิชาการชี้“รถไฟรางคู่”ธุรกิจลงทุนไทย-จีน ปมส่ง"อุยกูร์”คืนจีน-ตุรกีฉุนบุกสถานกงสุล

นักวิชาการชี้ปมไทยส่ง "อุยกูร์" กลับจีน เพราะต้องการสานสัมพันธ์การลงทุนการค้าให้แนบแน่นขึ้น โดยเฉพาะในยุครัฐบาลคสช. ทำให้เป็นต้นเหตุถูกชาวตุรกีบุกทำลายสถานกงสุลไทยในอีสตันบูล

วันนี้ (9 ก.ค.2558) ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขียนบันทึกลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Chainarong Sretthachau ระบุว่า “อุยกูร์ (Uyghur)”

เนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงหน้าสถานกงศุลไทยในอิสตันบูลเมื่อคืนที่ผ่านมา ในประเด็นที่รัฐบาลไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ไปให้ทางการจีน ผมจึงขอนำข้อความที่ผมเคยเขียนถึงชาวอุยกูร์ ในซินเจียงอุยกูร์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2557 มาปรับและเพิ่มเติมสถานการณ์ล่าสุด และนำมาโพสต์อีกครั้ง เพื่อให้เราได้เข้าใจสถานการณ์ที่รอบด้านมากขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจประเด็นชาติพันธุ์ หลายท่านที่ติดตามความขัดแย้งในซินเจียงคงรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์มาบ้าง แต่หลายท่านอาจจะเพิ่งรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ของไทย ได้เข้าไปช่วยเหลือพวกเขาที่สงขลา ผมจึงนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชาติพันธุ์อุยกูร์ ปัญหาที่พวกเขาเผชิญ และแนวทางที่รัฐไทยควรปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ที่สงขลาดังนี้

อุยกูร์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ติดกับประเทศคาซัคสถาน มองโกเลีย ธิเบต อินเดีย คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน และปากีสถาน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์มีประชากรประมาณ 21 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดเป็นชาวอุยกูร์และนับถือศาสนาอิสลาม

การที่ซินเจียงตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ซินเจียงอุยกูร์จึงมีสถานนะเหมือนอาณานิคมภายในของจีน และจีนได้ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวฮั่นซึ่งที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศจากมณฑลอื่น ๆ เข้าไปตั้งรกรากในซินเจียงมากขึ้นได้ทำให้ความตึงเครียดระหว่างชาวอุยกูร์กับชรัฐบาลจีนและชาวจีนเชื้อสายฮั่นฮั่น ความขัดแย้งได้ปะทุขึ้นมาจนถึงขั้นจลาจลนับแต่ปี 2552 เป็นต้นมา โดยได้เกิดจลาจลระหว่างชาวอูยกูร์กับชาวจีนเชื้อสายฮั่น ขณะที่รัฐบาลกลางปักกิ่งกล่าวโทษขบวนการแบ่งแยกดินแดนซินเจียงว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง

ขณะที่ความขัดแย้งถึงขั้นจลาจลนั้น มาจากเจ้าหน้าที่ของจีนได้ใช้มาตรการควบคุมชาวอุยกูร์ในซินเจียงอย่างเข้มงวดกวดขัน โดยมีการจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพวกเขา รวมไปถึงการจับกุมคุมขังผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่รัฐกำหนด เช่น การจับกุมชาวอุยกูร์ที่ไม่ยอมเคารพธงชาติจีน

การละเมิดสิทธิมนุษยชนล่าสุดที่ชาวอุยกูร์ต้องเผชิญก็คือ ในกลางเดือนมีนาคมนี้ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของเดือนรอมฎอน รัฐบาลจีนได้กีดกันทางศาสนา โดยห้ามชาวอุยกูร์ถือศีลอดในเดือมรอมฎอน ซึ่งชาวอุยกูร์มองว่า เป็นมาตรการบังคับให้ชาวอุยกูร์ละทิ้งวัฒนธรรมมุสลิม และทำให้ความเชื่อศรัทธาของชาวอุยกูร์เป็นเรื่องการเมือง คือการยั่วยุ ที่มีแต่จะนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพ การต่อต้านและความขัดแย้ง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซินเจียงอุยกูร์ก็ไม่แตกต่างกับเหตุการณ์ความขัดแย้งในทิเบตภายหลังรัฐบาลปักกิ่งเร่งพัฒนาเศรษฐกิจแนวเสรีนิยมใหม่และขยายอำนาจไปยังเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น นโยบายดังกล่าวยังทำให้ชาวฮั่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในจีนได้หลั่งไหลเข้าไปตั้งรกรากในเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นด้วย

เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น ชาวอูกุยร์ส่วนหนึ่งจึงหลบหนีออกนอกประเทศในฐานะของ "ผู้แสวงหาแหล่งพักพิง" โดยเป้าหมายของพวกเขาคือการอพยพข้ามชาติไปยังประเทศปากีสถาน และชุมชนมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย และกัมพูชา ในกรณีของไทยนั้น ถือได้ว่าอุยกูร์ใช้เป็นเพียงทางผ่าน

สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ บางประเทศได้ส่งผู้แสวงหาที่พักพิงชาวอุยกูร์เหล่านี้กลับจีน แม้ว่าพวกเขาขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัย เช่น กัมพูชาตัดสินใจส่งผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ 20 คนกลับจีน เพราะจีนและกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมานาน และจีนเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือรายใหญ่ต่อกัมพูชา การส่งกลับนี้เกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านและประท้วงจากสหรัฐ สหประชาชาติ และกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ และถือว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะคนเหล่านี้จะถูกทำร้ายและกระทำทารุณกรรมตามมา

ในกรณีของไทย ยังมีเรื่องเศร้ากว่านั้นก็คือ สำนักข่าวบางสำนักเสนอข่าวอุยกูร์ในไทยที่เชื่อมโยงกับการหายไปของเครื่องบินสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าเข้าทางรัฐบาลปักกิ่ง

ข้อเสนอขององค์กรสิทธิมนุษยชนต่อกรณีของไทย ก็คือต้องอนุญาตให้คนกลุ่มนี้มีสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการขอลี้ภัยตามเจตนารมณ์อย่างเป็นธรรม และไม่ทำตามข้อเรียกร้องของจีน

สำหรับกรณีที่มีการประท้วงที่สถานกงสุลไทยในอิสตันบูน เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วได้มีชาวอุยกูร์จำนวนหนึ่งหลบหนีเข้าเมืองเพื่อเดินทางไปต่อไปยังประเทศปลายทาง แต่ถูกจับกุมที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และเมื่อคืนนี้ชาวอุยกูร์ในตุรกีประท้วงทางการไทยที่ส่งผู้ชายอุยกูรณ์กลุ่มนี้่ไปให้ทางการจีนทั้งที่ตุรกีก็พร้อมที่จะรับคนเหล่านี้

ขณะที่เฟสบุ๊กของฐปนีย์ เอียดศรีไชย ระบุว่า และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไทยได้ส่งตัวชาวอุยกูร์ผู้หญิงและเด็ก 172 คนไปตุรกี แต่มีข่าวว่าส่งผู้ชายกว่า 100 คน กลับจีนเมื่อคืนนี้ ชาวอุยกูร์ในตุรกีจึงรวมตัวประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยในตุรกี ไม่เห็นด้วยให้ส่งกลับจีน จึงมีการประท้วงและบุกเข้าไปในสถานกงสุลไทย

ในส่วนของบีบีซี ไทย ระบุว่ากลุ่มฮิวแมนไรซ์วอชได้แจ้งเตือนในช่วงเช้าวันนี้ ให้นักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนช่วยจับตา โดยระบุว่า กลุ่มกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า มีการส่งตัวอุยกูร์จำนวนหนึ่งให้กับจีนจริงหรือไม่พร้อมขอให้สื่อมวลชนช่วยตรวจสอบข้อมูลด้วย และระบุว่ามีรายงานข่าวว่าผู้สื่อข่าวที่ติดตามนายกรัฐมนตรีได้พยายามสอบถามข้อเท็จจริงเรื่องการส่งตัวผู้หนีภัยอุยกูร์กลับประเทศ แต่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบคำถาม วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าว นสพ.บางกอกโพสต์ ทวีตอ้างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบนักข่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคง

ล่าสุด สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา Human Rights Watch เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยส่งชาวอุยกูร์ 115 คน กลับจีนโดยไม่เต็มใจ และอย่างลับๆ ทั้งที่พวกเขาอาจกลับไปเผชิญการทรมาน

เป็นที่สังเกตว่าปัญหากรณีอุยกูร์และการประท้วงหน้าสถานทูตไทยจนเกิดเหตุการณ์บานปลายเกิดขึ้นท่ามกลางนโยบายของรัฐไทยที่แนบแน่นกับจีนมากขึ้นในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน โดยเฉพาะการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ ซึ่งจีนได้รับคำเชื้อเชิญให้เข้ามาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทย ล่าสุดคือรถไฟรางคู่
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง