หงุดหงิดง่าย! เตือน 6 กลุ่มเสี่ยง "อากาศร้อน" ก่อปัญหาสุขภาพจิต

สังคม
19 เม.ย. 67
17:37
575
Logo Thai PBS
 หงุดหงิดง่าย! เตือน 6 กลุ่มเสี่ยง "อากาศร้อน" ก่อปัญหาสุขภาพจิต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมสุขภาพจิตเตือน อากาศร้อนส่งผลทั้งทางกาย-ใจ โดยเฉพาะ 6 กลุ่มเฝ้าระวัง ทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังอาจทำอาการแย่ลง ผู้ป่วยสมองเสื่อม กลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ ขาดอุปกรณ์บรรเทาความร้อน ผู้ป่วยจิตเวช อากาศร้อนอาการอาจกำเริบจากการแปรปรวนของสารสื่อประสาท ฯลฯ

นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า อากาศร้อนมีผลโดยตรงกับสุขภาพจิต เช่น อากาศร้อนทำให้คนมีความเครียด เนื่องจากร่างกายใช้พลังการในการปรับตัว ในช่วงอากาศร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน ทำให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนินได้ช้าลง ทำให้ไม่รู้สึกง่วง นอกจากนี้ อากาศร้อนทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดอาการหงุดหงิด อ่อนล้าได้ง่าย และยังส่งผลให้เกิดความเครียด หงุดหงิด ควบคุมอารมณ์ได้น้อยลง จนเกิดความหุนหันพลันแล่นทำอะไรที่ไม่หยั่งคิดได้

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อากาศร้อนมีผลต่อจิตใจ 6 กลุ่มเสี่ยง

  1. คนที่มีโรคเรื้อรัง โรคประจำตัว อากาศที่ร้อนอาจทำให้อาการเจ็บป่วยแย่ลงส่งผล ให้เกิดความเครียดได้
  2. กลุ่มผู้ป่วยสมองเสื่อม อาจทำให้อาการแย่ลงจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้
  3. ผู้ที่มีความเปราะบางทางด้านเศรษฐกิจ อาจมีปัญหาที่อยู่อาศัยที่ร้อนอบอ้าวมากเกิน ขาดอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาอากาศร้อน และขาดโอกาสเข้าถึงการบริการทางการแพทย์
  4. ผู้ป่วยจิตเวช ยาทางจิตเวชที่รับประทานอยู่ อาจส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ อากาศที่ร้อนอาจทำให้อาการจิตเวชกำเริบได้ จากการแปรปรวนของสารสื่อประสาท
  5. ผู้ป่วยตั้งครรภ์ อาจมีปัญหาแทรกซ้อนทางด้านการตั้งครรภ์ได้
  6. ผู้ที่ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์และสารเสพติด อาจมีปัญหาการปรับตัวในช่วงอากาศร้อน มีการเสียเหงื่อและเกลือแร่ได้เนื่องจากเส้นเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัวมากเกินไป
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

แนะ 5 วิธีดูแลสุขภาพกายใจ สู้อากาศร้อน

นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สำหรับวิธีรับมือปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจที่เกิดจากสภาพอากาศร้อนสามารถทำได้ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดหรืออยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนสูง โดยเฉพาะเวลา 11.00-15.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่แดดร้อนสุดของวัน สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก สวมหมวก กางร่ม ใช้ครีมกันแดด เมื่อออกสู่ที่แจ้ง
  2. ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำเป็นเวลานาน ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอต่อวัน
  3. รู้วิธีจัดการอารมณ์และความเครียด
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ปรับสภาพห้องนอน ที่นอนให้มีอากาศเย็นหรือโล่งโปร่งสบาย
  5. ทานอาหารที่ทำสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดร้อน หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะยิ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำ หากมีโอกาส ให้ออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือ เดินพักผ่อนตามห้าง ร้านค้าที่ติดแอร์ ถือเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัว
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะดูดซึมผ่านสู่กระแสเลือดได้เร็ว และทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าช่วงที่มีอากาศปกติ อีกทั้งแอลกอฮอล์ยังทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้ช็อกหมดสติและมีโอกาสเสียชีวิตได้

อ่านข่าวอื่น :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง