กรมชลฯ ปล่อยน้ำให้นาข้าว-ชาวนาร้องรัฐจัดหาเมล็ดพันธุ์หวังปลูกรอบใหม่

สังคม
23 ก.ค. 58
02:55
158
Logo Thai PBS
กรมชลฯ ปล่อยน้ำให้นาข้าว-ชาวนาร้องรัฐจัดหาเมล็ดพันธุ์หวังปลูกรอบใหม่

ชาวนาในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและการหยุดจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรกลับมามีความหวังอีกครั้งเมื่อกรมชลประทานเริ่มปล่อยน้ำเข้าคลองชลประทาน ชาวนาหลายคนเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำเข้านา แต่ยังมีบางพื้นที่ที่น้ำยังมาไม่ถึงหรือถูกทหารขอให้ชะลอการสูบน้ำไว้ก่อนเพราะยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้สูบน้ำ

ชาวนาในตำบลมารวิชัย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ต่างเร่งนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งพร้อมเติมน้ำมันให้เต็มเพื่อเร่งสูบน้ำจากคลองสานเข้าไปสู่คลองปิ่นแก้วและคลองอู่ตะเภา เพื่อนำน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังออกรวง กว่า 1,000 ไร่ แม้ว่าภัยแล้งจะทำให้ข้าวบางส่วนเสียหายไปแล้วก็ตาม

ด้านตัวแทนชาวนาภาคกลางเปิดเผยว่าเตรียมเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ให้จัดหาพันธุ์ข้าวและพืชที่ใช้น้ำน้อย รวมทั้งทำแก้มลิงกักเก็บน้ำไว้ในช่วงหน้าแล้งในอนาคต

"อนาคตอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวให้เกษตรกร เพราะช่วงที่ผ่านปลูกข้าวไปแล้วข้าวเสียหายจึงไม่มีเมล็ดพันธุ์" นายพยน พฤกษา ตัวแทนชาวนาภาคกลางกล่าว    

แม้ว่ากรมชลประทานจะเริ่มปล่อยน้ำเข้าพื้นที่เกษตรแล้ว แต่ที่จ.สิงห์บุรีทหารได้เข้าชี้แจงกับกลุ่มชาวนาในตำบลพิกุลทอง ต.ถอนสมอ อ.ท่าช้าง เพื่อขอให้ชะลอการสูบน้ำไว้ก่อน เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้สูบน้ำ

สำนักงานชลประทานโครงการยางมณีรายงานว่าการระบายน้ำท้ายประตูระบายน้ำยางมณีเพิ่มขึ้นจาก 7 เป็น 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งคาดว่าน่าจะทำให้แม่น้ำน้อยมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่ชาวนาบางส่วนก็ยังกังวลว่าน้ำจะไม่เพียงพอ

"ตอนนี้น้ำยังไม่มี เกษตกรกำลังแย่ ตอนนี้เขื่อนเจ้าพระยาเริ่มมีน้ำแล้ว แต่เราไม่มั่นใจว่าน้ำจะส่งมาถึงพื้่นที่ของเราหรือเปล่า" สุพรรณี สุชล ชาวนา ต.พิกุลท   

ขณะที่ชาวนาบ้านหนองนา ต.ไร่รถ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ต่างดีใจที่เห็นน้ำไหลลงคลองส่งน้ำสองขวาที่กรมชลประทานส่งน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและส่งไปผลิตน้ำประปาได้แล้วจึงวางแผนสูบน้ำเข้านา

"พล.ต.อินทรัตน์" ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาลด

เมื่อวานนี้ (22 ก.ค.) พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่สำนักชลประทานที่ 12 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อตรวจสอบน้ำทำนาในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง หลังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเข้าคลองชลประทาน ส่งผลให้นาทั่วประเทศกว่า 3 ล้านไร่เสียหาย

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษากรมชลประทานกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจ่ายน้ำให้พื้นที่นาทางฝั่งตะวันตก 1.4 ล้านไร่ได้ทั้งหมด แต่ช่วยได้เพียง 3.3 แสนไร่เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้เพิ่มการระบายน้ำเข้าแม่น้ำน้อยและแม่น้ำท่าจีนอีก

นครพนมฝนตกต่อเนื่อง  ตลาดปลาแม่น้ำโขงคึกคัก
ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อชาวบ้านที่ทำประมงใน จ.นครพนม ทำให้จับปลาจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตลาดปลาแม่น้ำโขงเริ่มคึกคักอีกครั้ง
ปลาแม่น้ำโขงหลากหลายชนิดทั้งปลาโจก ปลาแข้ และปลาคัง น้ำหนักตัวละเกือบ 10 กิโลกรัม ถูกนำมาวางขายในตลาดปลาเทศบาลตำบลศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม ซึ่งเป็นตลาดค้าปลาแม่น้ำโขงแห่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครพนม

บรรยากาศการขายปลาที่นี่เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มมากขึ้นจากฝนที่ตกลงมาต่อเนื่อง  ชาวประมงบางส่วนเล่าว่าพวกเขามีรายได้วันละหลายร้อยบาทจากการจับปลาขาย ในราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 100 บาท ไปจนถึง 500 บาท และปลาหลายชนิดยังสามารถแปรรูปเป็นปลาแห้ง ทั้งปลากรด ปลาเทโพ ปลาตอง และปลาเนื้ออ่อน ขายได้ถึงราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท

ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อชาวบ้านที่ทำประมงใน จ.นครพนม ทำให้จับปลาจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตลาดปลาแม่น้ำโขงเริ่มคึกคักอีกครั้ง
ปลาแม่น้ำโขงหลากหลายชนิดทั้งปลาโจก ปลาแข้ และปลาคัง น้ำหนักตัวละเกือบ 10 กิโลกรัม ถูกนำมาวางขายในตลาดปลาเทศบาลตำบลศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม ซึ่งเป็นตลาดค้าปลาแม่น้ำโขงแห่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครพนม

บรรยากาศการขายปลาที่นี่เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มมากขึ้นจากฝนที่ตกลงมาต่อเนื่อง  ชาวประมงบางส่วนเล่าว่าพวกเขามีรายได้วันละหลายร้อยบาทจากการจับปลาขาย ในราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 100 บาท ไปจนถึง 500 บาท และปลาหลายชนิดยังสามารถแปรรูปเป็นปลาแห้ง ทั้งปลากรด ปลาเทโพ ปลาตอง และปลาเนื้ออ่อน ขายได้ถึงราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท


ข่าวที่เกี่ยวข้อง