รมว.ไอซีที เสนอนายกฯทบทวนโครงสร้างอนุกรรมการดิจิทัลฯ เดือนหน้า

Logo Thai PBS
รมว.ไอซีที เสนอนายกฯทบทวนโครงสร้างอนุกรรมการดิจิทัลฯ เดือนหน้า

รมว.ไอซีที มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดทำแผนงานที่เป็นรูปธรรมเสนอภายในเดือนหน้า โดยแต่ละหน่วยงานจะต้องเสนอ 2 โครงการอย่างน้อย พร้อมเตรียมเสนอนายกฯทบทวนโครงสร้างอนุกรรมการดีอีใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแผนที่จะขับเคลื่อนในเดือนหน้า

วันนี้ (26 ส.ค.2558) ภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดทำแผนงานที่เป็นรูปธรรมเสนอภายในเดือนหน้า โดยแต่ละหน่วยงานจะต้องเสนอ 2 โครงการอย่างน้อย   เนื่องจากขณะนี้ กระทรวงไอซีที ถือว่าอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ต้องผลักดันทำให้หน่วยงานต่างๆ ประชาชน ภาคเอกชน ใช้เทคโนโลยีสนสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดทำแผนงานที่เป็นรูปธรรมเสนอภายในเดือนหน้า โดยแต่ละหน่วยงานจะต้องเสนอ 2 โครงการอย่างน้อย   เนื่องจากขณะนี้กระทรวงไอซีทีถือว่าอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องผลักดันทำให้หน่วยงานต่างๆ ประชาชน ภาคเอกชน ใช้เทคโนโลยีสนสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ จะยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลที่อยู่ระหว่างเดินหน้าขณะนี้ โดยบทบาทของกระทรวง ยืนยัน จะขับเคลื่อนต่อไปแม้จะไม่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ก็ตาม แต่เดือนหน้าเพื่อให้มีความชัดเจนในสิ่งที่จะต้องทำ ทางกระทรวงจะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ทบทวนโคงสร้างอนุกรรมการดีอีใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแผนที่จะขับเคลื่อน ซึ่งการปรับโครงสร้างจะทำให้แผนงานต่าง ๆ ล่าช้าออกไปหรือไม่นั้น จะอยู่ที่การตัดสินใจของคณะกรรมการดีอีชุดใหญ่

รมว.ไอซีทีกล่าวว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาสำหรับการวางรากฐานและแก้ไขร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 8 ฉบับ  แต่ปีนี้การเดินหน้าไปสู่การขับเคลื่อนความคิดใหม่ ๆ ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น หากแผนงานต่าง ๆ เป็นรูปธรรมทำให้สังคมรับทราบได้จะทำให้ประชาชนได้ใช้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สะดวกสบายและรวดเร็วขึ้น ก็จะช่วยขับเคลื่อนความเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้จริงและส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ เห็นทิศทางของรัฐบาล สามารถวางแผนการลงทุน ขยายงาน และจ้างงานในภาคเอกชนได้ชัดเจนตามไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และผู้ประกอบการรายใหม่ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งส่งเสริมให้ใช้ระบบเทคโนโลยีเข้าไปบริหารจัดการมากขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง