ผลกระทบจากใบสด.43ต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ

27 พ.ย. 53
19:00
1,039
Logo Thai PBS
ผลกระทบจากใบสด.43ต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ

แม้ว่าตั้งแต่ปี 2549 กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จะฟ้องศาลปกครองและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าได้รับผลกระทบจากคำระบุโรคในใบสด.43 หรือบันทึกการตรวจเลือกทหารกองเกินว่าเป็นโรคจิตถาวร

ซึ่งต้องใช้ในการสมัครงาน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพราะเป็นคำที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้อย่างมากสามารถ มีเจริญ พยายามอยู่แต่ในห้องมากว่า 1 เดือนแล้ว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเธอเพิ่งถูกปลดออกจากงาน จากทัศนคติที่นายจ้างมีต่อร่างกายที่ไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดของเธอ

แม้จะเดินทางไปสมัครงานหลายที่ แต่ก็ได้รับคำตอบจากหลายบริษัทว่า ไม่มีนโยบายรับสาวประเภท 2 คำระบุโรคว่าเป็นโรคจิตถาวรในใบ สด.43 หรือบันทึกการตรวจเลือกทหารกองเกิน เป็นเอกสารสำคัญ ที่ต้องใช้

ประกอบการสมัครงาน คืออีกสาเหตุที่หลายบริษัทปฏิเสธที่จะรับเธอเข้าทำงาน นอกจากสภาพร่างกายภายนอก

แม้ปี 2549 สามารถจะตัดสินใจไปฟ้องศาลปกครอง เพื่อขอให้เปลี่ยนคำระบุโรคในใบสด.43 จนทำให้กองการสัสดี กระทรวงกลาโหม แก้ไขคำระบุโรคใหม่ แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ เธอจึงไปร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้อง

สิทธิกับสมาคมฟ้าสีรุ้ง

ส่วนกองสัสดี กระทรวงกลาโหม ให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่า ได้พยายามแก้ไขปัญหานี้มาตั้งแต่ปี 2549 โดยได้พยายามหาคำใหม่จากการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม แพทย์ และคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ

จนขณะนี้ถึงขั้นตอนเสนอคำว่า "มีร่างกายที่ผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติในการรับรู้หรือยอมรับเพศของตน" ให้กับคณะกรรมการกฤษฏีกาเพื่อพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง

แต่เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ไม่เห็นด้วยเพราะยังมีคำว่า "ผิดปกติ" อยู่ จึงเสนอให้ใช้คำว่า "ผู้มีร่างกายไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดชาย" แทน ซึ่งอาจทำให้ต้องขอความเห็นชอบจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จนต้องเริ่มกระบวนการแก้ไขกฎกระทรวงใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง

กว่า 5 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร ได้รับการร้องเรียนเรื่องผลกระทบจากคำระบุโรคในใบ สด.43 จากผู้มีความหลากหลายทางเพศกว่า 100 คน และยังมีคนที่ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลอีกเป็นจำนวนมาก เพราะส่วน

ใหญ่ครอบครัวไม่ยอมรับ จนทำให้ต้องออกมาร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิต่อไป


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง