หวั่นรัฐใช้กฎหมายปปง.ยึดทรัพย์"ร.ร.ปอเนาะ"สร้างรอยร้าว"รัฐ-ปชช."รอบใหม่

2 ก.ย. 55
13:27
92
Logo Thai PBS
หวั่นรัฐใช้กฎหมายปปง.ยึดทรัพย์"ร.ร.ปอเนาะ"สร้างรอยร้าว"รัฐ-ปชช."รอบใหม่

หลังจาก ปปง.เตรียมนำกฎหมายฟอกเงิน มาใช้ยึดทรัพย์ผู้ก่อการร้าย และสถาบันการศึกษา ที่เชื่อว่า ให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ทำให้มีการแสดงความเป็นห่วง ซึ่งประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมปัตตานี เห็นว่า ยังต้องระมัดระวังการใช้กฎหมาย เพราะว่าการทำบัญชีรายชื่อของผู้ก่อเหตุในปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจน

<"">
<"">

ฝ้าเพดานในห้องเรียนที่เริ่มพัง โต๊ะและเก้าอี้ที่มีฝุ่นเกาะ เป็นสภาพความเสียหายจากการถูกทิ้งร้างมานานเกือบ 2 ปีหลังโรงเรียนอิสลามบูรพา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ถูกสั่งปิดเมื่อเจ้าหน้าที่ได้เข้าปิดล้อมและจับกุมแนวร่วม 5 คนเมื่อวันที่ 2 ก.ค.ปี 2550 ก่อนศาลจังหวัดนราธิวาส จะพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลย พร้อมพวกรวม 7 คนในข้อหาการก่อการร้าย อังยี่ ซ่องโจร และความผิดต่อพรบ อาวุธปืน

การกลับมาเปิดเรียนอีกครั้งของโรงเรียนอิสลามบูรพาเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เปิดเรียนได้แค่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 เนื่องมีนักเรียนเพียง 100 คน จากเดิมที่จะมากว่าเกือบ 900 คนการเรียกความเชื่อมั่นจึงกลายเป็นสิ่งท้าทายสำหรับครูกว่า 30 ชีวิตที่นี่เช่นเดียวกับการต่อสู้กับข้อกล่าวหาของสังคม หรือเจ้าหน้าที่บางนายที่มองว่า โรงเรียนแห่งนี้ เป็นที่บ่มเพาะแนวร่วม ยิ่งเมื่อมีรายงานว่าสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือปปง. จะเข้ายึดทรัพย์ที่ดินของโรงเรียน 18 ไร่ ในฐานความผิดร่วมก่อการร้าย แม้ว่าที่ดินแห่งนี้จะมาจากเงินบริจาคจึงอาจกลายเป็นรอยร้าวใหม่

ซุไบดะห์ ดอเลาะ ครูใหญ่ ร.ร.อิสลามบูรพา จ.นราธิวาส จึงกังวลว่า การมีรายงานเรื่องการเตรียมยึดทรัพย์ นั้นอาจจะทำให้เกิดรอยร้าวระหว่างรัฐ และชาวบ้าน

ทั้งนี้ การก่อการร้ายเป็นหนึ่งความผิดมูลฐาน ที่ปปง.เตรียมนำมาใช้ยึดทรัพย์ตามพระราชบัญญัติการฟอกเงินแต่สำหรับนายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมปัตตานี กลับมอบว่า สิ่งนี้จะกลายจุดอ่อนของรัฐเพราะกฎหมายยังไม่มีความชัดเจนในการตีความคำว่าก่อการร้ายและในเนื้อหาของกฎหมายระบุว่า ผู้ที่ถูกยึดทรัพย์จะต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีของผู้ก่อการร้าย หรือ ผู้ให้การสนับสนุนแต่การทำบัญชีรายชื่อแนวร่วม รวมถึงสถานบันการศึกษาที่ให้การสนับสนุนแนวร่วมของเจ้าหน้าที่ในปัจจุบันได้มาจากผลการซักถาม หรือการเชิญตัวตามพรก ฉุกเฉินและไม่มีหลักฐานชี้ชัดอย่างอื่น ที่ตรวจพบว่ามีการเคลื่อนไหวของเงินสนุนการก่อการร้ายการใช้กฎหมายฉบับนี้จึงควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมปัตตานี ยังกล่าวด้วยว่า กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นตามตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่ไทยได้เป็นภาคี แต่การร่างกฎหมายภายในประเทศ เพื่อรองรับข้อตกลงระหว่างประเทศจะต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความอ่อนไหวอย่างมากในการตีความ และบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง