ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ "เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน" ทำธุรกิจฝังกลบกากอุตฯที่ไม่ใช้แล้วไม่เป็นอันตรา

สิ่งแวดล้อม
20 มี.ค. 56
08:53
1,411
Logo Thai PBS
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ "เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน" ทำธุรกิจฝังกลบกากอุตฯที่ไม่ใช้แล้วไม่เป็นอันตรา

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น กรณีออกใบอนุญาตให้บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด ทำธุรกิจฝังกลบกากอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วไม่เป็นอันตราย

 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.308-309/2550 คดีหมายเลขแดงที่อ.858-859/2555 ระหว่าง นายยงยศ หริือ พศ  อดิเรกสาร ที่ 1 กับพวกรวม 39 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)ผู้ร้องสอด กับ อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน โดยศาลปกครองสูงสุด พิพากษาืยืนตามศาลปกครองชั้นต้น โดยให้ยกฟ้อง (รายละเอียดคำพิพากษาตามไฟล์ที่แนบมาพร้อมนี้)

 
คดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีออกใบอนุญาตให้บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด ทำธุรกิจฝังกลบกากอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วไม่เป็นอันตรายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากบริษัทฯ กระทำการปลอมเอกสารเพื่อขอใบอนุญาตนอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมิได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแต่ประการใดจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และกระทำการฝังกลบเกินกว่าคำขอจนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ใกล้ด้วยเนื่องจากสารพิษต่าง ๆ ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกให้แก่บริษัทฯ 
 
ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาไปแล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550  โดยศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง  โดยได้วินิจฉัย 3 ประเด็นคือ 
 
(1) ใบอนุญาตที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ออกให้แก่ผู้ร้องสอดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าในการขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาตนั้น ผู้ร้องสอดได้เตรียมการและประสานงานกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 โดยมีการตรวจสอบสถานที่และเตรียมเอกสาร เป็นล่วงหน้าแล้ว จึงมิใช่กรณีที่มีการดำเนินการทุกอย่างในวันเดียวกันกับที่ยื่นคำขออนุญาต อีกทั้งการแก้ไขสถานที่ตั้งโรงงานเป็นแก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญที่จะกระทบต่อความสมบูรณ์ของใบอนุญาต ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ จึงไม่ใช่กรณีการขออนุญาตตั้งโรงงานใหม่ ดังนั้น การออกใบอนุญาตจึงชอบตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว 
 
(2) ใบอนุญาตที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ออกให้กับผู้ร้องสอดตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าคำฟ้องมิได้มีการกล่าวอ้างกรณีดังกล่าว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้ 
 
(3) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยโรงงานกำหนดหรือไม่ เห็นว่า ผลการตรวจสอบพบว่าการประกอบกิจการของผู้ร้องสอดมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายที่ยังไม่ถึงขนาดเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง และผู้ร้องสอดได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำสั่งมาโดยตลอด อีกทั้งผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะสรุปว่ามีการแพร่กระจายของมลพิษ จึงไม่มีเหตุออกคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่แต่อย่างใด 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง