ค่าบาทแข็ง ช่วยไทยซื้อน้ำมันถูก ลดงบฯเกือบ 6 หมื่นล้านบาท

เศรษฐกิจ
4 มิ.ย. 56
09:31
69
Logo Thai PBS
ค่าบาทแข็ง ช่วยไทยซื้อน้ำมันถูก ลดงบฯเกือบ 6 หมื่นล้านบาท

ด้านกระทรวงพลังงาน เชื่อสัดส่วนใช้แอลพีจีครัวเรือน-ขนส่งนิ่ง หลังรัฐกวดขันลอบใช้ข้ามกลุ่ม

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เปิดเผยว่า ปริมาณนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนเมษายน 2556 อยู่ที่ 980,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 2% จากเดือนมีนาคม 2556 และลดลง 0.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 95,582 ล้านบาท ลดลง 7.7% จากเดือนมีนาคม และลดลง 15.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งคิดเป็นมูลค่าที่ลดลงถึง 17,682 ล้านบาท ขณะที่ปริมาณนำเข้าช่วง 4 เดือน(มกราคม-เมษายน2556)อยู่ที่ 977,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง2.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลรวม 390,433 ล้านบาท ลดลง 13.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าที่ลดลง 59,558 ล้านบาท โดยมูลค่าที่ลดลงสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงและผลจากเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปีแต่ปัจจุบันเริ่มอ่อนค่าลงบ้างแล้ว 
 
ขณะที่ปริมาณส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนเมษายน อยู่ที่ 183,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 11.7% และลดลง 27.5% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 21,015 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 4.8% และลดลง 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าส่งออกรวม 4 เดือนอยู่ที่ 78,106 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.6% 
 
นายวีระพลกล่าวว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยเดือนเมษายนปริมาณการใช้อยู่ที่ 628,065 ตันต่อเดือน ลดลง2%จากเดือนมีนาคม แต่เพิ่มขึ้น 5.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นภาคครัวเรือนที่ปริมาณการใช้ลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 187,352 ล้านบาท ลดลง 4.3% จากเดือนมีนาคม และลดลง 23.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคขนส่งอยู่ที่ 151,894 ตัน/เดือน ลดลง2.2%จากเดือนมีนาคม แต่เพิ่มขึ้น78.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 45,285 ตัน/เดือน ลดลง17.3%จากเดือนมีนาคม และลดลง0.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาคปิโตรเคมีอยู่ที่ 243,534 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้น 3.7% จากเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้น 10.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 
 
ขณะที่ปริมาณการใช้แอลพีจีรวม 4 เดือน อยู่ที่ 622,724 ตันต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.8% แบ่งเป็นภาคครัวเรือน 207,457 ตันต่อเดือน ลดลง14.1% ภาคขนส่ง 135,219 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้น 52% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม 49,644 ตัน/เดือน ลดลง 2.2% และภาคปิโตรเคมี 230,405 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้น 14.2% 
 
"หลังจากกระทรวงพลังงานร่วมกับตำรวจเข้มงวดการจำหน่ายผิดประเภท ทำให้การใช้กลับมาเป็นตามความเป็นจริง คือ ภาคครัวเรือนโตเท่ากับจีดีพี เหลือประมาณ190,000 ตันต่อเดือน จากเดือนธันวาคมปีที่แล้วมียอดขาย271,000 ตันต่อเดือน ส่วนภาคขนส่งเพิ่มจากเดือนธันวาคม 91,000 ตันต่อเดือน เป็นเฉลี่ย150,000 ตันต่อเดือน ซึ่งประเมินแล้วเป็นยอดที่เหมาะสมกับรถยนต์ที่ติดตั้งแอลพีจี1.04 ล้านคัน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายภาคขนส่ง3 บาทต่อกิโลกรัม แต่ละเดือนประมาณเกือบ 200 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีรายได้กองทุนฯเพิ่มขึ้นอีก2 พันล้านบาทต่อปี"
 
นายวีระพลกล่าวว่า สำหรับการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน อยู่ที่ 22.91 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.9% จากเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้น 11.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็น น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 จำนวน 1.89 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือนมีนาคม และลดลง 78.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากการยกเลิกใช้น้ำมันเบนซิน91 น้ำมันแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 21.02 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.9% จากเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้น 81% จากช่วงเดียวกันปีก่อน น้ำมันดีเซลปริมาณการใช้ 59.37 ล้านลิตรต่อวัน ลดลง 3.4% จากเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้น 3.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน 
ขณะที่การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 4 เดือนแรกปีนี้ กลุ่มเบนซิน เพิ่มขึ้น9% เฉลี่ยอยู่ที่ 22.4 ล้านลิตรต่อวัน กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้น 5% เฉลี่ยอยู่ที่ 60.2 ล้าน 
ลิตรต่อวัน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง