เผยปัญหาอสังหาฯ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตกต่ำ แนะตั้ง "กองทุนจำนองที่ดิน" รวมถึงพื้นที่การเกษตรสวนยาง สวนผลไม้

เศรษฐกิจ
5 ก.ค. 54
18:34
12
Logo Thai PBS
เผยปัญหาอสังหาฯ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตกต่ำ แนะตั้ง "กองทุนจำนองที่ดิน" รวมถึงพื้นที่การเกษตรสวนยาง สวนผลไม้

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมว่า  ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ในแง่หนึ่งทำให้อสังหาริมทรัพย์ตกต่ำหนักแนะตั้งกองทุนจำนองที่ดิน แต่ในอีกแง่หนึ่งความไม่สงบก็สร้างความเจริญเติบโตในอีกที่หนึ่งอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ความสงบย่อมดีกว่าสงคราม ทั้งนี้ดูได้จากกรณีศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ

จากการศึกษาของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาฯ ที่ดำเนินการให้กับมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาพบว่าราคาที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตกต่ำลงประมาณ52,178 ล้านบาทในช่วงปี 2548 – 2550 จากการคาดการณ์ของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยบจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เชื่อว่าราคาในขณะนี้คงตกไปถึงราว 2 แสนล้านบาทแล้วจากมูลค่าแต่เพิมที่497,777 ล้านบาท ณ ปี2548

ที่สวนลองกองหรือสวนยางส่วนหนึ่งคงถูกขายให้กับผู้อื่นในราคาถูกแล้วผู้อยู่อาศัยเดิมทั้งชาวไทยส่วนหนึ่งและชาวมุสลิมส่วนหนี่งคงอพยพหนีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปอยู่ในท้องถิ่นอื่น ภาวะเช่นหากมีผู้สนใจไปซื้อเพื่อการลงทุน อาจเป็นหนทางการเก็งกำไรได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะคนนอกพื้นที่คงไม่กล้าเสี่ยง

ดังนั้นหากมีการตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อรับจำนองจากเจ้าของที่ดินและเมื่อเหตุการณ์สงบในภายหน้าราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอย่างเป็นเท่าทวี และสามารถได้ผลตอบแทนดีโดยเจ้าของที่ดินไม่สูญเสียที่ดินไป และเมื่อเหตุการณ์สงบ ก็จะย้ายกลับเข้าอยู่อาศัยได้ อย่างไรก็ตามความไม่สงบนี้อาจกินเวลาระยะหนึ่ง เช่นในกรณีอาเจห์ในอินโดนีเซียอาจกินเวลา 15 ปี สงครามเชื้อชาติในศรีลังกา ก็กินเวลา25 ปี และสงครามอินโดจีน ก็กินเวลาประมาณ 35 ปี เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในกรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังมีพื้นที่บางส่วนที่ยังมีความคึกคัก เช่นอำเภอเบตง อำเภอสุไหงโกลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีการค้าขายชายแดนเป็นสำคัญ  โดยอำเภอสุไหงโกลกมีการก่อสร้างสะพานข้ามฝั่งมาเลเซียเพิ่มเติม อำเภอเบตงยังมีผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราที่ดีประชาชนโดยทั่วไปมีรายได้สูง มีคนมาเลเซียข้ามแดนมาจับจ่ายใช้สอยในฝั่งไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละวันจึงทำให้อำเภอเบตงและพื้นที่อื่นบางแห่งที่เป็นเมืองชายแดน ยังมีความคึกคักสวนกระแสกับภาวะโดยรวมของสามจังหวัดชายแดนใต้

ในทางตรงกันข้าม ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบในแง่บวกต่อจังหวัดอื่นโดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งถือเป็น‘เมืองหลวง’ทางเศรษฐกิจของภาคใต้ มีบ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย โดยผู้ซื้อบ้านกลุ่มหนึ่งก็คือผู้ที่ย้ายหนีความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากข้อมูลของนักวิจยัยและผู้ประเมินค่าทรัพย์สินของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยบจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์สพบว่าแม้แต่ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีก็มีบ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมายอย่างผิดหูผิดตาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการอพยพของประชาชในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในกรณีของประเทศเนปาล ดร.โสภณพรโชคชัย ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยบจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์สซึ่งได้ไปทำสำรวจวิจัยตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงกาฏมัณฑุได้พบว่า ในช่วงปี 2545-2550 ซึ่งมีการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฎลัทธิเหมาในสมัยนั้นประชาชนก็ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในกรุงกาฏมันฑุเป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเฟื่องฟู ในขณะที่ในชนบทกลับตกอยู่ในสภาพฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง