คพ.อ้างไม่วิกฤตถึงขั้นงัด "กฎหมาย" คุมฝุ่นพิษ

สิ่งแวดล้อม
21 ม.ค. 62
19:07
8,207
Logo Thai PBS
คพ.อ้างไม่วิกฤตถึงขั้นงัด "กฎหมาย" คุมฝุ่นพิษ
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่วิกฤต ถึงขั้นต้องใช้มาตรา 9 กฎหมายสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้เพื่อแก้ปัญ หาฝุ่นคลุมเมือง ล่าสุดตัวเลขตรวจวัดเกิน 42 พื้นที่ ค่าระหว่าง 57-87 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

วันนี้ (21 ม.ค.2562) นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เผยภายหลังการประ ชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งพบว่ามีค่าเกินมาตรฐานต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยผลการตรวจวัดล่าสุด เมื่อเวลา 18.00 น.ค่าฝุ่นละอองสูงขึ้นจากเวลา 12.00 น.แต่สูงไม่มากนักในทุกจุดตรวจพบค่าระหว่าง 57-87 ไมโคร กรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งพื้นที่ริมถนน และพื้นที่ทั่วไปรวม 42 จุด  

นายประลอง กล่าวว่า ขณะนี้จะยังไม่ใช้มาตรา 9 ของพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพราะขณะนี้ยังมีมาตรการที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ การใช้มาตรา 9 จะเป็นลำดับสุดท้ายที่จะพิจารณา เพราะแผนและมาตรการต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกับกรุง เทพมหานคร ตำรวจจราจร และอีกหลายหน่วยงานที่ทำไปแล้ว เพื่อลดฝุ่นทั้งมาตรการเฉพาะหน้าทั้งการตรวจจับรถควันดำที่มีการตรวจ 20 จุดรอบ แต่จะพิจารณาตั้งจุดตรวจในเขตเมืองชั้นในเพิ่มเติมรวมอีก 5 จุดทั้งการทำฝนหลวงเพิ่มในพื้นที่จ.นครสวรรค์

ยังไม่ประกาศ ม.9 แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพราะต้องการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอนก่อน ต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ประเทศไทย ซึ่งทำมาตรการแรกๆ ถ้าฝุ่นยังสูงถึง 90 มคก.ต่อลบ.ม.ติดต่อกัน 3 วัน ก็จะใช้มาตรการขั้น 2 คือที่ยกระดับความเข้มข้นขึ้น และม.9 เป็นทางออกสุดท้าย

นอกจากนี้ยังพูดถึงการใช้มาตรา 8 พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ที่ให้อำนาจท้องถิ่นในการใช้มาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหา

 

 

ชี้ฉีดน้ำไล่ฝุ่นไม่ได้ผล

ขณะที่มาตรการฉีดน้ำไล่ฝุ่นละอองนั้น นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อธิบายว่า เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ว่าการใช้การพ้นน้ำที่กำลังทำอยู่แทบจะไม่ได้ผล ในงานวิจัยต่างประเทศเช่นที่ประเทศอิน เดีย จะใช้การพ้นน้ำด้วยความสูง 100 เมตร และให้มีละอองน้ำขนาดเล็กได้ 1 ไมครอน โดยเฉลี่ย 10 ลิตร ต่อนาที จะลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้ 15- 20 เปอร์เซนต์เท่านั้น

แต่ถ้าของไทยที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้พ้นน้ำด้วยความสูงเพียง 30 เมตร และให้มีละอองน้ำขนาดเล็กเท่าการดับเพลิง ซึ่งยังเป็นอนุภาคค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้อาจไม่มีผลต่อการลดลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้เลย

ทั้งนี้ตั้งแต่ ปี 2554 ถึงปี 2561 ความเข้มข้นของฝุ่นละออก PM2.5 จะสูงมาตั้งแต่เดือนม.ค. ถึงมี.ค.บางครั้งสูงถึง 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าองค์การอนามัยโลกถึง 3 เท่าดังนั้นหมายความว่า ในทุกๆปี กรุงเทพมหานคร ก็ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นละลองขนาดเล็กต่อเนื่อง ถ้ารัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหา

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่นพิษอันตราย 39 จุด ถกใช้ ม.9 ประกาศภาวะฉุกเฉิน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง