"โอมิครอน" กลายพันธุ์ BA.4-BA.5 พบในไทย 181 คน

สังคม
24 มิ.ย. 65
12:03
3,519
Logo Thai PBS
"โอมิครอน" กลายพันธุ์ BA.4-BA.5 พบในไทย 181 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยพบโอมิครอนกลายพันธุ์ BA.4-BA.5 จากการถอดรหัสพันธุกรรม 181 ตัวอย่างช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย.นี้ ทั่วโลกพบ 46,232 ตัวอย่าง โดยเฉพาะ BA.5 เบียดแซง 25% ใน 62 ประเทศ ชี้น่าห่วงพบการกลายพันธุ์ในตำแหน่งเดียวกับเดลต้า พบหลบภูมิเก่งเชื้อลงปอด ฉีดวัคซีนติดซ้ำได้

วันนี้ (24 มิ.ย.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์เฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 และการกลายพันธุ์ว่า หลังจากมีการระบาดของโควิด-19  ตอนนี้พบเหลือสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดทั่วโลก แต่ยังไม่พบเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แม้จะเริ่มมีการกลายพันธุ์ย่อยหลายตัวคือ BA.1, BA.2, BA.4 ,BA.5 , BA.2.12.1, BA2.11, BA.2.13

โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อยที่กำลังถูกจับตาในระดับโลก และพบมีการระบาดหนักใน 8 ประเทศคือ สายพันธุ์ BA.4 ,BA.5 พบมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นที่ตำแหน่ง L452R เช่นเดียวกับ B.1.617.2 ทำให้ต้องถูกจับตา เพราะมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งเดียวกับที่เกิดกับเดลตา ที่ทำให้เกิดปอดอักเสบได้มากขึ้น ตรงนี้เป็นที่วิตกกังวลว่าถ้าโอมิครอนกลายพันธุ์แล้วจะระบาดเร็วและรุนแรง

 

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า จากการถอดรหัสพันธุกรรม BA.5 เป็นตัวที่น่าจับตาใกล้ชิด เพราะพบในสัดส่วนที่สูงจาก 16% เป็น 25% ใน 62 ประเทศ ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิ.ย.นี้ ส่วน BA.4 พบการระบาดใน 58 ประเทศ แต่ลดลงจากสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิ.ย.ที่มี 16% เหลือแค่ 9% ขณะที่ BA.2.12.1 พบระบาด 69 ประเทศ จาก 31% เหลือ 17%

กลุ่มนี้เข้าข่ายอาจจะแพร่ในบางส่วนเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ และคนที่เคยติดเชื้อได้แม้จะมีการฉีดวัคซีนโควิดแล้วยังติดเชื้อได้ สรุปว่าระดับโลก BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่กำลังมาแรง รวมทั้งในไทยด้วย

ชี้ฉีดวัคซีนติดซ้ำได้-หลบภูมิเก่ง 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า คำถามคือ BA.4 ,BA.5 จะหลบภูมิทำให้คนไข้มีอาการรุนแรง และวัคซีนป้องกันได้หรือไม่นั้น จากการศึกษาพบสัญญาณการแพร่เร็วจากในห้องแลบ ที่สำคัญแอนตีบอดี ที่จะทำลายเชื้อลดน้องลง หรือทำลายเชื้อได้น้อยลง รวมทั้งยาที่รักษาหรือสู้กับเชื้อน้อยลง แต่ต้องรอข้อมูลเพิ่มเติม

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว สามารถติดเชื้อซ้ำได้จาก BA.4 และ BA.5 ส่วนกลุ่มไม่ฉีดวัคซีนเมื่อเจอ BA.5 ภูมิที่จะต่อสู้ลดลง6-7 เท่า และในกลุ่มรับวัคซีนแล้วลดลง 3 เท่า ดังนั้นบอกได้ว่าคนที่เคยติดเชื้อสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 ยังติดเชื้อซ้ำได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงมีความจำเป็น

ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบการระบาดในช่วงต้นเดือนพ.ค.โดยเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5 คิดเป็น 2.2% ขณะที่พบว่าทั่วโลก BA.5 สะสม 31,577 ตัวอย่าง BA.4 สะสม 14,655 ตัวอย่าง แนวโน้มกราฟเพิ่มขึ้นชัดเจน การกระจายของเชื้อในอเมริกา ยุโรป โดยเฉพาะ 8 ประเทศ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แอฟริกาใต้ เดนมาร์ก โปรตุเกส  

5 วันไทยพบ BA.4-BA5 181 ตัวอย่าง 

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า  ส่วนการเฝ้าระวังรายสัปดาห์ BA.4-BA5 ระหว่างวันที่ 18-22 มิ.ย.นี้ รวม 181 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มผู้เดินทางเข้าไทย จำนวน 48 คน และกลุ่มอื่นๆ ภายในประเทศ 133 คนจากการสุมตรวจถอดรหัสพันธุกรรม 396 ตัวอย่าง

สัดส่วนที่เข้ามาจากกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศด้วยกันถึง 72% ในประเทศ 40% การที่เปิดประเทศ ไม่ได้บังคับตรวจ PCR จะขอความร่วมมือให้โรงพยาบาล ส่งตัวอย่างมาตรวจสายพันธุ์โควิดดังนั้น ต้องจับตาอีก 2-3 สัปดาห์จากนี้ว่าแนวโน้มการระบาดของสายพันธุ์ย่อยดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการหนักจะตอบโจทย์ว่าสายพันธุ์นี้มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

จากที่เจอรายแรกเม.ย. และค่อยๆเข้ามาจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวของ BA.4-BA.5 เป็นการเฝ้าระวังมาต่อเนื่อง และพบแล้ว 181 คน 

โอมิครอนสายพันธุ์หลักของทั่วโลกและไทย ซึ่งองค์การอนามัยโลกจับตา BA.4-BA.5 เพราะในหลายประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่วน BA.2.12.1 มีแนวโน้มลดลง

 

 

พบว่าผู้ที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศมากกว่า พบการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง L452R คล้าย กับเดลตา จากข้อมูลจนถึงปัจจุบัน พบมีความสามารถแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น หลบภูมิได้มากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับความรุนแรง ดังนั้นการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความเป็น

ทั้งนี้ยังให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งยังมีความพร้อม รวมทั้งการถอดรหัสพันพันธุกรรมจีโนมของสายพันธุ์ย่อยได้ และยังยืนยันว่าตรวจเจอได้ทั้งหมด สำหรับข้อมูลที่รายงานไปยัง GISAID มีรายงานผลถอดรหัสพันธุกรรม 25,641 ตัวอย่าง และตรวจ RT-PCR มากถึง 25 ล้านตัวอย่างแล้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง