"เพื่อไทย" ยังครองอีสาน - คนรุ่นใหม่ ปัจจัยสำคัญ

การเมือง
19 ก.ย. 65
06:32
163
Logo Thai PBS
"เพื่อไทย" ยังครองอีสาน - คนรุ่นใหม่ ปัจจัยสำคัญ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หัวหน้าศูนย์ข่าวภาคอีสาน ไทยพีบีเอส มองการเลือกตั้งเชื่อ พรรคเพื่อไทยยังกุมความได้เปรียบในพื้นที่ 10 จังหวัด ขณะที่คนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น ส่งผลสำคัญต่อการเลือกตั้ง

วันนี้ (19 ก.ย.2565) นายปราการ แสนอุบล หัวหน้าศูนย์ข่าวภาคอีสาน ไทยพีบีเอส วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในพื้นที่ภาคอีสาน ในรายการ "มุมการเมือง" ในช่วง "ทั่วถิ่นการเมือง" โดยมองว่า ในพื้นที่ 10 จังหวัด โอกาสจะเป็นของพรรคเพื่อไทย ขณะจังหวัดที่อื่นจะเป็นการแข่งขันของหลายพรรคคำถามคือ พรรคเพื่อไทยจะสามารถป้องกันแชมป์ได้หรือไม่

คำถามสำคัญ คือ ขณะที่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2562 พรรคเพื่อไทยได้เพลี่ยงพล้ำให้กับพรรคอื่น ซึ่งในวันนี้จะกลับมาทวงแชมป์คืนได้หรือไม่ และ เก้าอี้ 16 ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น พรรคเพื่อไทยจะได้เพิ่มหรือไม่

ทั้งนี้ การเพิ่ม ส.ส.16 ที่นั่ง ซึ่งจะเป็นการแบ่งเขตใหม่นี้ พรรคใหญ่จะส่ง ส.ส.ลงสนาม ซึ่งพื้นที่ใหม่เหล่านี้จุดสำคัญ คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งที่จะหมายถึงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ซึ่งจะกระทบฐานคะแนนเสียงเดิมของ ส.ส.ในเขตดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลต่อการลงพื้นที่ของ ส.ส.โดยเฉพาะการดูแลประชาชนเขตเลือกตั้ง 

นายปราการ ยังเชื่อว่า ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคอีสาน ยังคงเป็นของพรรคเพื่อไทย แต่กรณีของบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ที่ต่างจากการเลือกตั้งครั้งปี 2562 ที่เป็นบัตรใบเดียว ซึ่งการเลือกผู้สมัครและเลือกพรรคการเมืองอาจจะแตกต่างกันได้ ซึ่งประชาชนมีสิทธิเลือกมากขึ้น แต่ผลกระทบก็อาจจะเกิดขึ้น โดยการเลือกพรรคและเลือก ส.ส.อาจจะต่างพรรคกัน

ขณะที่ จ.หนองคาย เดิมเป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทย แต่ในการเลือกตั้งครั้งหน้าโอกาสจะเป็นการแข่งขันของพรรคภูมิใจไทยหรือพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งการลงสมัครเลือกตั้งครั้งหน้าเป็นของคนกันเอง โดยเฉพาะผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทย ที่เป็นผู้ที่เคยร่วมกับพรรคเพื่อไทยมาก่อน ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งหน้าผู้สมัครรายนี้แม้ว่าจะสอบตกแต่ก็ตกแบบมีลุ้น ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้จะถือว่าค่อนข้างสูสี

ขณะที่กลุ่มฐานเสียงในพื้นที่เช่น คนรุ่นเก่าเลือกแล้วเลือกเลย กลุ่มคนวัยทำงานมีทางเลือกเยอะ หากนโยบายดีโอกาสที่จะเปลี่ยนพรรคการเมืองก็จะมีสูง

ขณะที่คนรุ่นใหม่ หากนับจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2562 เมื่อผ่านมาถึงปี 2566 ก็จะยังคงอยู่ในช่วงเวลา 4 ปี ใกล้กับรุ่นพี่ที่อยู่ในสถานศึกษาเดียวกัน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งหน้าค่อนข้างมาก 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง