พปชร-รทสช. เมินรวมลงนามจรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้ง 66

การเมือง
29 มี.ค. 66
16:08
394
Logo Thai PBS
พปชร-รทสช. เมินรวมลงนามจรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้ง 66
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
36 พรรคการเมืองร่วมลงนามจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 มุ่งสร้างประชาธิปไตยโปร่งใส-สร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อนโยบายที่หาเสียงไว้ เพื่อร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ไม่มีตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมลงนาม

วันนี้ (29 มี.ค.2566) ตัวแทนจากพรรคการเมือง ร่วมอ่านจรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพุทธศักราช 2566 นำโดยนายธงชาติ รัตนวิชา ผู้แทนพรรคประชาขาติในฐานะผู้มีอาวุโสสูงสุด ในพิธีลงนามจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้ง ก่อนที่ตัวแทนพรรคการเมืองจะลงนามตามลำดับตัวอักษร ตามด้วยสักขีพยาน

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์ และภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ย้ำว่า จรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ผ่านการหารือร่วมกันของตัวแทนพรรคการเมือง และภาคีเครือข่ายประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายตรงกันในการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่โปร่งใส เพราะการเลือกตั้งในปี 2566 ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการสืบทอดระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เปลี่ยนผ่านหลังการรัฐประหาร 2557 และการมีประชาธิปไตยแบบกึ่งสมบูรณ์

ขณะที่การเลือกตั้งในครั้งนี้ก็ยังมีข้อกังวลว่าเสียงของประชาชนอาจจะไม่มีความหมาย เพราะขอบเขตอำนาจของ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งและสัญญาที่พรรคการเมืองลงมาร่วมกัน ถือเป็นการกำหนดข้อปฏิบัติในการหาเสียงและป้องกันการทำลายความชอบธรรมของผลการเลือกตั้ง

นายแสวง บุญมี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระบุว่า การร่วมลงนามในจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้เป็นนิมิตรใหม่อันดีที่แสดงให้เห็นว่าพรรคการเมืองร่วมกันทำให้การเลือกตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของ กกต.ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ตัวแทนเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ระบุว่า รัฐประหารปี 2557 นับเป็นจุดด่างพร้อยครั้งใหญ่ของการเลือกตั้งและประชาธิปไตยไทย และการเลือกตั้งในปี 2562 ยังเป็นการเลือกตั้งที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลทหาร ทำให้ประชาชนเกิดความคลางเคลงใจ โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี และการทำหน้าที่ของ กกต.

พร้อมย้ำว่า เครือข่ายประชาชนสังเกตการเลือกตั้งจะเชิญชวนให้ประชาชนทั้งประเทศร่วมเป็นอาสาสมัครสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อป้องกันการโกงเลือกตั้ง และทำให้การเลือกตั้งเป็นไปตามหลักสากล ทั้งนี้ขอให้รัฐบาล หน่วยงานของรัฐสร้างบรรยากาศให้เป็นประชาธิปไตย เช่น คุัมครองขอให้ประชาชนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกคุกคาม

สำหรับจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกต้้งปี 2566 และสัญญาที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมลงนามเป็นการให้คำมั่นสัญญาว่าจะเคารพการตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้งและเที่ยงธรรม จะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ตามหลักการที่เห็นพ้องกัน 5 ข้อ คือ การเคารพ และปฏิบัติตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญกฎหมายและระเบียบคำสั่งของ กกต.

ไม่กระทำการใด ๆ ที่ทุจริตต่อการเลือกตั้งและการซื้อเสียง ธนาคารตรงและทางอ้อม รวมทั้งไม่ใช้กลไกหรือทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ในการทำเสียงหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง

รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ คำนึงถึงความละเอียดอ่อนและหลากหลายทางเพศภาวะ ไม่ข่มขู่คุกคาม สร้างความหวาดกลัว

ปฏิเสธและไม่สนับสนุนการกระทำใด ๆ ที่ปลุกเร้าความเกลียดชังและความรุนแรงหรือใส่ร้ายด้วยความคิดให้ผู้อื่นฟังเสียงชื่อเสียง การใช้ข่าวปลอม หลอกลวงสร้างความเข้าใจผิดหรือความได้เปรียบทางการเมือง

ธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของพรรคการเมือง ในฐานะสถาบันการหน่วยที่สำคัญโดยนำเสนอนโยบายที่มาจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกและประชาชนรับผิดชอบต่อนโยบายข้อเสนอ

ทั้งนี้ตัวแทนพรรคการเมืองที่มาร่วมลงนามจรรยาบรรณรวม 36 พรรค เช่น พรรคก้าวไกล เพื่อไทยชาติไทยพัฒนา ไทยสร้างไทย และเป็นที่สังเกตว่าไม่มีตัวแทนจาปพรรคพลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมการลงนามในครั้งนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปชป.ยังไม่ลงตัว เส้นใคร? ได้ไปต่อ เซฟโซน (ปาร์ตี้ลิสต์)

ประชาธิปัตย์" เคาะชื่อ "จุรินทร์" ชิงนายกฯ ชื่อเดียว

"อดิศักดิ์" ถอนตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ก้าวไกล ขอพิสูจน์ปมทุจริตสอบ ตร.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง