“พลายศักดิ์สุรินทร์” ภารกิจข้ามแดน “แห่พระเขี้ยวแก้ว”

สิ่งแวดล้อม
29 มิ.ย. 66
15:05
2,536
Logo Thai PBS
“พลายศักดิ์สุรินทร์” ภารกิจข้ามแดน “แห่พระเขี้ยวแก้ว”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อดีตทูตไทยในกรุงโคลอมโบ เล่าภารกิจ “พลายศักดิ์สุรินทร์” ช้างนำในขบวนแห่พระเขี้ยวแก้ว ของศรีลังกา ปีละ 30 ครั้งในฐานะทูตจากไทย รับใช้พุทธศาสนามานาน 20 ปี
10 ปีก่อนผมเคยไปดูพลายศักดิ์สุรินทร์ เห็นเขากินแต่ทางมะพร้าว ถ้ามีคนมาบริจาคช้างถึงจะได้กินผลไม้ วัดที่ดูแลอาจไม่มีเงินมากพอ ควาญช้างลาออก เอาคนขับรถ มาดูแลช้างกับพระ

พลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ บอกเล่าถึงภาพจำ พลายศักดิ์สุรินทร์ 1 ใน 3 ช้างไทยที่ถูกส่งไปในนามทูตสันถวไมตรีเมื่อ 22 ปีก่อน

แม้วันนี้จะมีข่าวดีว่า 2 ก.ค.นี้ ช้างไทยเชือกนี้ กำลังกลับสู่แผ่นดินแม่ หลังจากรัฐบาลไทย เจรจาของพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมารักษาอาการบาดเจ็บ

พลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เล่าถึงภารกิจของช้างไทยในชบวนแห่พระเขี้ยวแก้ว

พลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เล่าถึงภารกิจของช้างไทยในชบวนแห่พระเขี้ยวแก้ว

พลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เล่าถึงภารกิจของช้างไทยในชบวนแห่พระเขี้ยวแก้ว

อดีตทูตไทยในกรุงโคลอมโบ บอกว่า ช้างมีความโดดเด่นในพิธีอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ส่งมาจากอินเดีย มานานตั้งแต่โบราณกาลถึง 270 ปี โดยศรีลังกามีการแห่พระเขี้ยวแก้วทุกปี เพื่อขอความร่มเย็นความสุขมาสู่บ้านเมือง ซึ่งพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้จะทำในช่วงเดือนก.ค.นี้ ในขบวนแพอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว

อ่านข่าวเพิ่ม ดรีมทีมดูแล “พลายศักดิ์สุรินทร์” บนเที่ยวบิน IL-76 ศรีลังกา-ไทย

ช้างไทยในพิธีศักดิ์สิทธิ์แห่พระเขี้ยวแก้ว

อดีตทูต บอกว่า การแห่พระเขี้ยวแก้วมีมา 270 ปี การใช้ช้างกับการแห่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศรีลังกา ต้องใช้ช้างที่มีงาสวย งาลักษณะของงาอุ้มบาตร ซึ่งศรีลังกาไม่มีช้างสวยแบบนี้ ศรีลังกาจะขอช้างจากไทย เมียนมา และเป็นช้างพลาย ช้างไทยเป็นที่ต้องการ ความสำคัญของไทยกับศรีลังกาในเรื่องพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องลึกซึ้ง เคยช่วยกันทั้งลังกาวงศ์ สุโขทัย และสยามวงศ์ ไปศรีลังกา ทำให้ 2 ประเทศเป็นพุทธศาสนามาจนถึงตอนนี้

ทำให้ช้างไทย 3 เชือกถูกไปในนามเป็นไปทูตสันถวไมตรี ที่ศรีลังกา เชือกแรกเมื่อปี 2522 เชือกแรกคือพลายประตูผา ไปอยู่ที่วัดแคนดี้ ไปแห่พระเขี้ยวแก้ว และปี 2544 อีก 2 เชือกคือพลายศักดิ์สุรินทร์ และพลายศรีณรงค์ ซึ่งวัดใหญ่ๆ ในศรีลังกาต้องแห่พระเขี้ยวแก้วในช่วงเดือนก.ค.ของทุกปี

อ่านข่าวเพิ่ม ไทยส่ง "ช้างไทย" ทูตสันถวไมตรี 20 เชือก

ช้างในพิธีแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งวัดต่างๆจะมีขบวนช้างนับ100 เชือก ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์

ช้างในพิธีแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งวัดต่างๆจะมีขบวนช้างนับ100 เชือก ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์

ช้างในพิธีแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งวัดต่างๆจะมีขบวนช้างนับ100 เชือก ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์

“พลายศักดิ์สุรินทร์” กับภารกิจแห่พระเขี้ยวแก้วในศรีลังกา

พลเดช บอกว่า วัดตามเมืองต่าง ๆ ที่แห่พระบรมสารีริกธาตุจะแห่ 7 วัน ตั้งแต่เวลา 20.00น.-ตี 2 ของอีกวันรุ่งขึ้น โดยช้างที่จะอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วต้องสางาม สูงใหญ่ และเป็นช้างหลัก และมีงางามที่สุดจากบรรดาช้างทั้ง 150 เชือก และคนนับหมื่นที่จะอยู่ในขบวน

พลายศักดิ์สุรินทร์ ต้องแห่พระเขี้ยวแก้วปีละ 30 ครั้ง เป็นช้างหลัก เพราะใน 7 วันจะมีช้าง 150 ตัว และคนนับหมื่น แต่ช้างทีจะแห่พระเขี้ยวแก้วจะเป็นช้างจากไทย ซึ่งมีช้างทั้ง 3 เชือกจากไทยอยู่ในขบวนนี้

อ่านข่าวเพิ่ม  ไทม์ไลน์ 1 ปีภารกิจพา “พลายศักดิ์สุรินทร์” กลับบ้าน

อดีตทูต บอกอีกว่า การที่ช้างต้องการแห่ปีละ 30 ครั้ง นั่นหมายความว่าช้างต้องทำงานหนักจาก 2 ทุ่มถึงตี 1 ตี 2 ต้องแห่รอบเมืองและต้องแบกเครื่องประดับ ในแง่ของคนรักสัตว์ จึงถูกมองว่าเป็นการทรมานสัตว์ แต่อีกมุมคือช้างไทย เป็นตัวเชื่อมสัมพันธไมตรี ดังนั้นพลายศักดิ์สุรินทร์ จึงเป็นบทเรียนว่าอาจต้องทบทวนมาตรฐาน เช่น จีนที่แพนด้า เป็นทูตสันถวไมตรี แต่ต้องมีข้อตกลงต้องมีความพร้อมและดูแลทูตต่างแดนให้ดี

พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นประวัติศาสตร์ของโลก ที่ส่งช้างข้ามประเทศในนาม ทูตสันถวไมตรีแล้วแล้วส่งกลับมา ส่วนช้างที่เหลือ 2 เชือก ยังต้องถูกใช้งานแบบพลายศักดิ์สุรินทร์ แต่ตราบใดที่ดูแลดี สุขภาพดีไม่มีปัญหา ก็คงไม่ต้องกลับมา
ช้างในพิธีแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งวัดต่างๆจะมีขบวนช้างนับ100 เชือก ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์

ช้างในพิธีแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งวัดต่างๆจะมีขบวนช้างนับ100 เชือก ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์

ช้างในพิธีแห่พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งวัดต่างๆจะมีขบวนช้างนับ100 เชือก ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์

 

สำหรับประเทศไทย เคยส่งออกช้างในนามทูตสันถวไมตรี แล้ว 20 เชือก นับตั้งแต่ก่อนปี 2544-2559 โดยไปอยู่ใน 5 ประเทศ คือ ศรีลังกา เดนมาร์ก ญี่ปุ่น สวีเดน ออสเตรเลีย โดยเชือกแรกคือ พลายประตูผา ที่ส่งไปศรีลังกา
ต่อมาปี 2544 คือ พลายศักดิ์สุรินทร์ และ พลายศรีณรงค์ ไปที่ศรีลังกา

พลายศักดิ์สุรินทร์ ฝึกซ้อมเข้าออกกรง และยกเครน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนกลับไทย 2 ก.ค.นี้

พลายศักดิ์สุรินทร์ ฝึกซ้อมเข้าออกกรง และยกเครน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนกลับไทย 2 ก.ค.นี้

พลายศักดิ์สุรินทร์ ฝึกซ้อมเข้าออกกรง และยกเครน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนกลับไทย 2 ก.ค.นี้

นอกจากนั้น 3 เชือกไปประเทศเดนมาร์กส่งออกช้าง 2 เชือกไปยังประเทศญี่ปุ่น รวมทั้ง 2 เชือกไปประเทศสวีเดน และมากสุดในปี 2559 องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งออกช้าง 8 เชือกไปประเทศออสเตรเลีย (พลายกุ้ง, พังทองดี, พังน้ำอ้อย, พังดอกคูณ, พังพรทิพย์, พังผักบุ้ง, พังแตงโม ส่วนอีกเชือก ไม่ระบุชื่อ)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซ้อมจริง! 3 ชม.ย้าย "พลายศักดิ์สุรินทร์" ถึงสนามบินโคลัมโบ

ส่งสัตวแพทย์เช็กสุขภาพ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ยันกลับไทย 2 ก.ค.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง