เก็บอย่างไรให้ต่อได้? การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วย "อวัยวะขาด"

ไลฟ์สไตล์
30 มิ.ย. 66
13:43
1,791
Logo Thai PBS
เก็บอย่างไรให้ต่อได้? การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วย "อวัยวะขาด"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อุบัติเหตุอวัยวะขาด เช่น นิ้ว แขน ขาขาด ต้องได้รับการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องและนำส่ง รพ.ทันที เพื่อเพิ่มโอกาสนำอวัยวะที่ขาดกลับมาต่อได้ แต่ต้องให้แพทย์ประเมินอาการว่าความเสียหายของอวัยวะที่หากต่อไปแล้ว จะเกิดผลกระทบในอนาคตต่อการใช้ชีวิตผู้ป่วยหรือไม่

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่นิ้ว แขน ขา ขาด (ส่วนผู้อยู่ในเหตุการณ์)

  1. โทร.เรียกรถพยาบาล หรือสายด่วน 1669
  2. ห้ามเลือดให้เร็วที่สุด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดแผลแล้วพันบริเวณเหนือแผลให้แน่นป้องกันเลือดออก ผ้าที่ใช้ควรเป็นผ้าแผ่นกว้างๆ เช่น ผ้ายืด ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัด เพราะจะทำให้รัดเส้นประสาทหลอดเลือดเสียได้
  3. สังเกตอาการผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หากเสียเลือดมากให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
  4. งดอาหารทางปาก จิบน้ำได้เล็กน้อย เพราะอาจจะต้องรับการผ่าตัดด่วน

การเก็บรักษาส่วนที่ขาด (ส่วนผู้อยู่ในเหตุการณ์)

  1. เอาสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่ขาด ล้างน้ำสะอาด ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น ใส่ในกระติกน้ำแข็ง ถุงพลาสติกใหญ่ใส่น้ำแข็ง (อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส)
  2. รีบนำส่งโรงพยาบาล อวัยวะที่มีกล้ามเนื้อมากๆ เช่น แขน ขา ต้องได้รับการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้เร็วที่สุด ภายใน 6 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นกล้ามเนื้อจะตาย ถ้าทิ้งไว้นานเกิน บริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น นิ้ว สามารถเก็บไว้ได้ 12–18 ชั่วโมง ยังสามารถต่อได้
  3. ถ้านำส่งโรงพยาบาลได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง ให้รีบนำส่งได้เลย เพื่อทางโรงพยาบาลจะสามารถเตรียมเก็บส่วนที่ขาด เพื่อทำการต่อได้

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อนิ้ว แขน ขา (ส่วนโรงพยาบาล)

  • เพื่อประโยชน์ของคนไข้ ที่สามารถต่อนิ้วแล้วนำไปใช้ ได้ดีกว่าไม่มีนิ้วหรือใช้นิ้วเทียม 
  • อวัยวะที่ขาด ต้องยังมีเส้นเลือดและเนื้อเยื่อไม่ช้ำมาก
  • การเก็บอวัยวะที่ขาดที่อุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาไม่เกิน 6 ชั่วโมงสำหรับแขน ขา, นิ้วภายใน 12-18 ชั่วโมง, มือ ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
  • ถ้าไม่ได้เก็บให้ถูกต้อง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลภายใน 2-3 ชั่วโมง

ข้อห้ามในการผ่าตัดต่อนิ้ว แขน ขา (ส่วนโรงพยาบาล)

  • ผู้ป่วยไม่สามารถรับการผ่าตัดรักษาได้ เช่น เป็นโรคหัวใจ, โรคปอด
  • ส่วนของเนื้อเยื่อช้ำมาก เช่น ถูกเครื่องบด, ถูกเครื่องปั่น รัด ดึง ขาด ถูกทับขาด, ถูกระเบิดนิ้ว แขน ขา ขาด
  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น ส่วนที่ขาดตกไปในน้ำครำ หรือ ถูกสุนัข, สัตว์กัดขาด
  • ส่วนที่ขาดไม่ได้เก็บให้ถูกต้อง นานเกิน 6 ชั่วโมง
  • หรือส่วนแขน ขา แม้เก็บที่ 4 องศาเซลเซียส แต่นานเกิน 6 ชั่วโมง การต่ออาจสำเร็จแต่เสี่ยงต่อกล้ามเนื้อตาย ซึ่งจะมีสารที่เป็นอันตรายไหลกลับเข้ากระแสโลหิตเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ผู้ที่สูญเสียอวัยวะไปแล้ว ต้องการผ่าตัดแก้ไข ต้องพิจารณาความต้องการของคนไข้และการใช้งานของอวัยวะที่เหลือ

อ่านข่าวเพิ่ม :

พบผู้ป่วย “นิ้วขาด” สพฉ.แนะ ตั้งสติ - โทร 1669 - ปิดบาดแผล - แช่น้ำแข็ง

เช็กจุดอันตรายและแนวทางระงับเหตุฉุกเฉิน ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน

สนามบินดอนเมืองหยุดใช้ "ทางเลื่อน" ทั้งหมด-เร่งสอบสาเหตุอุบัติเหตุ

ที่มา : นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลวิภาวดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง