ตั้งวิปรัฐบาล (เดิม) ส่งสัญญาณสู้

การเมือง
6 ก.ค. 66
15:02
283
Logo Thai PBS
ตั้งวิปรัฐบาล (เดิม) ส่งสัญญาณสู้
การเมืองอีกฝั่งเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวคึกคักอีกครั้ง หลังกลับมาเกือบพร้อมหน้าพร้อมตากันครั้งแรกนับจากประชุมสภาผู้แทนฯ เลือกประธานและรองประธานฯ ในการประชุมครม.ล่าสุด 6 ก.ค.66

ตั้งแต่เรื่องมีดำริจะตั้งวิปรัฐบาลรักษาการ หรือผู้ประสานงานระหว่าง ส.ส. 188 เสียง ในขั้วรัฐบาลเดิม หลังพรรคภูมิใจไทยปล่อยฟรีโหวต ในการเลือกรองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำให้เกิดสภาพ “เสียงแตก” มีงดออกเสียงในการโหวตถึง 77 เสียง

ส่วนใหญ่เชื่อว่ามาจากพรรคภูมิใจไทย และยังมีอีกอย่างน้อย 3 เสียงไปเต็มให้กับขั้ว 8 พรรคการเมืองปัจจุบัน เหตุจากไม่มีวิปประสานงาน

เรื่องที่ 2 หลังการประชุมครม. แกนนำรัฐบาล 3 พรรค ทั้งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีดีอีเอส จากพรรคพลังประชารัฐ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีแรงงาน

บรรยากาศการประชุมเลือกประธานสภาฯ และเตรียมการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.2566

บรรยากาศการประชุมเลือกประธานสภาฯ และเตรียมการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.2566

บรรยากาศการประชุมเลือกประธานสภาฯ และเตรียมการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.2566

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีวัฒนธรรม นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีสำนักนายกฯ เดินตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปหารือกันต่อที่ตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อประเมินสถานการณ์การเมือง รวมทั้งเรื่องเปิดประชุมสภาเลือกประธานฯ และรองประธานฯ กรณีเสียงแตกในพรรคภูมิใจไทย เบื้องต้น

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า ไม่มีใครซีเรียสเรื่องนี้ เพราะไม่ได้มีการประสานงานก่อนจะมีการโหวตเสียง เท่ากับเป็นปัญหาในด้านประสานงานยังไม่ดี จึงต้องตั้งวิปรัฐบาล (เดิม) ขณะที่นายอนุทิน ยังไม่ได้ชี้แจงกับสื่อ

พรรคภูมิใจไทยยังมีปมปริศนา ที่รอการถอดรหัสเพิ่มเติมว่า การปล่อยฟรีโหวตมีจุดประสงค์อย่างไร เป็นการส่งสัญญาณอะไรหรือไม่ และถ้าส่ง จะส่งไปถึงใคร ซึ่งไม่น่าใช่พรรคก้าวไกล
บรรยากาศการประชุมเลือกประธานสภาฯ และเตรียมการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.2566

บรรยากาศการประชุมเลือกประธานสภาฯ และเตรียมการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.2566

บรรยากาศการประชุมเลือกประธานสภาฯ และเตรียมการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.2566

เพราะภูมิใจไทยประกาศจุดยืนก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ร่วมกับพรรคที่มีนโยบายแก้ไขมาตรา 112 จึงเป็นไปได้ที่ส่งสัญญาณไปยังพรรคเพื่อไทย ในลักษณะการทอดไมตรี เนื่องจากประเมินแล้วเชื่อว่า ถึงอย่างไร พรรคก้าวไกลก็ตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ

เรื่องที่ 3 ประเด็นสำคัญคือรัฐบาลรักษาการจะส่งคนชิงตำแหน่งนายกฯ แข่งกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือไม่ โดยนายชัยวุฒิแจงสื่อว่า ยังไม่มีข้อสรุป ว่าจะเสนอชื่อแข่งหรือไม่ ต้องรอดูสถานการณ์และต้องพูดคุยกันอีกที

แต่ก่อนหน้านั้น 1 วัน นายธนกร วังบุญคงชนะ คนใกล้ชิด พล.อ.ประยุทธ์อีกคน ให้สัมภาษณ์สื่อว่า หากย้อนหลังกลับไป จะมีการเสนอชื่อแข่งชิงนายกฯทั้งสิ้น เพียงแต่ครั้งนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ ต้องรอหารือในที่ประชุมพรรควันที่ 11 ก.ค.ก่อน

นอกจากนี้ ยังอาจต้องมีการหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิมด้วย เท่ากับยังไม่ได้ปิดประตูลงกลอนว่าจะไม่ส่งคนลงแข่งขัน

แต่หากมีส่งคนชิงตำแหน่งด้วย จะต้องมีการโหวตเสียง เท่ากับแนวทางที่จะเสนอชื่อนายพิธาหลายรอบหากเสียงไม่ผ่านเกณฑ์ 376 เสียง อาจเป็นหมัน ยกเว้นแต่ละขั้วที่เสนอแคนดิเดทนายกฯ แต่ได้เสียงไม่ถึง 376 เสียงทั้ง 2 ฝ่าย จึงอาจมีนัดประชุมเสนอชื่อนายกฯ รอบใหม่ แต่เสียงข้างน้อยก็ยังสามารถเสนอคู่แข่งประกบได้อยู่ดี

แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าจะส่งชิงหรือไม่ แต่หากลองจับสัญญาณจากคำให้สัมภาษณ์ของนายธนกรเมื่อวันก่อน จะพบว่า มีนัยในที เมื่อเขาบอกว่า ตอนส่งนายวิทยา แก้วภราดัย ลงชิงรองประธานคนที่ 1 ทราบอยู่แล้วว่า เสียงสู้ไม่ได้ แต่พรรคต้องยืนหยัดจุดยืนของพรรคว่า ไม่เห็นด้วยกับพรรคที่สนับสนุนแก้มาตรา 112 เพื่อให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับจุดยืนนี้ ได้ทราบในเจตจำนงที่แท้จริงของพรรค จึงน่าเป็นจุดยืนเดียวกับการโหวตเลือกนายกฯ

สอดคล้องกับท่าทีของมวลชนส่วนหนึ่ง ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้มาตรา 112 เท่ากับเป็นแรงผลักสำคัญ ที่ต้องมีพรรคการเมืองหรือขั้วการเมืองหนึ่งที่ต้องขานรับ และทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด ทำให้แนวโน้มการเสนอชื่อแข่งมีความเป็นไปได้มากขึ้น มีความจำเป็นและสำคัญมากมากกว่าปกติ

ประกอบกับมีข่าววงใน อาจมีแผนลับ ลวง พราง หลายอย่าง เพื่อสกัดนายพิธาไม่ให้ไปถึงตำแหน่งนายกฯ รวมทั้งแผนส่งคนแข่งขัน ซึ่งจะมีทั้งตัวหลอกในครั้งแรก และตัวจริงในครั้งที่ 2 หรืออาจไม่ส่งประกบในครั้งแรก

เพื่อเปิดทางให้ขั้ว 8 พรรคการเมืองได้มีโอกาสก่อน แต่จะฝ่าด่าน ส.ว.ไม่ได้ เท่ากับเป็นการให้”บทเรียน”ที่เจ็บปวดต่อทั้งนายพิธาและ 8 พรรคการเมือง

ท่าทีของขั้วรัฐบาลเดิมจึงน่าจับตาอย่างยิ่ง เพราะอาจได้เห็นการ”สั่งสอน”เป็นของแถมก็เป็นได้

วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง