เส้นทาง 20 ปีก่อนเตรียมขึ้นทะเบียน "หอยขมแม่เมาะ”

สิ่งแวดล้อม
14 ก.ค. 66
13:13
466
Logo Thai PBS
เส้นทาง 20 ปีก่อนเตรียมขึ้นทะเบียน "หอยขมแม่เมาะ”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เส้นทาง 20 ปี ก่อนกรมทรัพยากรธรณี เตรียมขึ้นทะเบียนหอยน้ำจืดโบราณอายุ 13 ล้านปี สู่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ “หอยขมแม่เมาะ” แห่งที่ 24 ของไทย

กรณีกรมทรัพยากรธรณี เตรียมประกาศขึ้นทะเบียน "แหล่งหอยขมแม่เมาะ" 13 ล้านปี จ.ลำปาง เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์แห่งที่ 24 เนื่องจากมีคุณสมบัติโดดเด่น พบเป็นหอยน้ำจืดสกุล Bellamya ในชั้นหนา 12 เมตร กว้าง 90 เมตร กินพื้นที่ 22 ไร่โดดเด่นระดับโลก

ลำดับความเป็นมาของแหล่งหอยขมแม่เมาะ

  • 25 มิ.ย.2546 กฟผ. พบหอยดึกดำบรรพ์
  • 13 ส.ค.2546 เรื่องเข้า ครม.
  • 21 ส.ค.2546 กรมทรัพยากรธรณี และ กฟผ. ร่วมสำรวจพบชั้นหอย ครอบคลุม พื้นที่ 43 ไร่ หนา 12 เมตร
  • 21 ส.ค.2546 ทธ.นำผลการศึกษาเข้า คณะกรรมการกลั่นกรอง
  • 15 ม.ค.2547 คณะกรรมการกลั่นกรอง มีมติกันพื้นที่ 43 ไร่ ประกาศเขตศึกษาตาม ม.6 ทวิ พ.ร.บ.แร่ 2510
  • 29 มิ.ย.2547 กระทรวงพลังงาน เสนอ ครม.ทบทวนมติ กันพื้นที่ 43 ไร่ โดยขอเพียง 18 ไร่
  • 9-10 ก.ค.2547 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตรวจสอบพื้นที่ พร้อมบอร์ด สวล.
  • 21 ก.ค.2547 สผ. แจ้ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นควรกันพื้นที่ 18 ไร่
  • 17 ธ.ค.2547 ประชุม ทธ.กับ กฟผ. สผ เห็นควรตาม กฟผ. และ สผ. กันพื้นที่ 18 ไร่ และเพิ่มเติมพื้นที่ข้างเคียง เป็นพื้นที่พัฒนา
  • 21 ธ.ค.2547 ครม.รับทราบกันพื้นที่ครั้งใหม่ 52 ไร่ เสนอโดย รมว.ทส.
  • 24 ธ.ค.2547 มอบ กระทรวงพลังงาน พิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขัดทำความคิดเห็น เสนอ ครม.พิจารณา
  • 17 ก.พ.2548 ทส.มีหนังสือถึง กระทรวงอุตสาหกรรมให้กันพื้นที่ ตามมติ ครม.ครั้งใหม่
  • มี.ค.2548 กฟผ.เริ่มขุดชั้นหอย นอกพื้นที่ 52 ไร่ ตามมติ ครม.
  • มี.ค.2548 ฟ้องร้องคดี

อ่านข่าวเพิ่ม ย้อน 10 ปี คดีฟอสซิลหอย อายุ 13 ล้านปี

ขั้นตอนศาลพิจารณา 13 ปี

  • 13 ก.ย.2561 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องประเด็นด้านกฎหมายตามคำพิพากษาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดพื้นที่ยังคงได้รับความคุ้มครองตาม มติ ครม. เมื่อ 21 ธ.ค.2547
  • แหล่งซากดึกดำบรรพ์หอยขมแม่เมาะ อยู่ภายใต้การคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำพรรพ์ พ.ศ.2551
  • พื้นที่ทั้งหมด 52 ไร่ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ 34 ไร่ แบ่งเป็น เป็นพื้นที่ก่อสร้าง พิพิธภัณ์กลางแจ้ง อาคารพิพิธภัณฑ์ถาวร และทางออกสาธารณะ ส่วนอีก 18 ไร่ เป็นพื้นที่ซากดึกดำพรรษ์หอยขม

ขั้นตอนหลังคำพิพากษา

  • 13 ก.ย.2561 ทธ. เข้าร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
  • 17-21 ก.ย.2561 ทธ.ประสานเข้าพื้นที่แหล่งซากร่วมกับ กฟผ.(แม่เมาะ)
  • 22 พ.ย.2561 ทธ.หารือแนวทางอนุรักษ์และบริหารจัดการแหล่งร่วมกับ ทสจ.ลำปาง และกฟผ.แม่เมาะ
  • 21 ธ.ค.2561 ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองซากดึกดำพรรษ์ ครั้งที่ 3/2561 มีข้อเสนอแนะให้ขอใช้พื้นท่เพื่อการศึกษาวิจับกับกรมป่าไม้ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ ทั้งมิตืเชิงสังคมเศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรม โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
  • 6-7 ก.ค.2562 ทธ.เข้าดำเนินการสำรวจ ศึกษาวจัยแหล่งซากดึกดำพรรษ์ แม่เมาะบริเวณขอบเหมืองทางทิศตะวันตกพบว่า บริเวณแหล่งซากหอยขม มีการลุกไหม้ของชั้นถ่านหินที่วางตัวใต้ชั้นหอย
  • 25 ก.ค.2562 ทธ. กฟผ.(แม่เมาะ) ทสจ.ลำปาง และผู้แทน สจป.เขต 3 ลำปาง เข้าร่วมแก้ไขปัญหาการดับไฟ ร่วมกันพื้นที่
  • ต.ค.2562 กฟผ.(แม่เมาะ) คืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้
  • เม.ย.-พ.ค.2563 กฟผ.(แม่เมาะ)ดำเนินการแก้ไขกรณีไฟไหม่ (ปรับความลาดชัน)
  • ก.ค.2563 ทธ.ดำเนินการรังวัดพื้นที่ 52 ไร่ใหม่
  • ส.ค.2563 อยู่ในระหว่างการดำเนินการประกาศเขตสำรวจศึกษาวิจัย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รอขึ้นทะเบียนซากดึกดำบรรพ์ "แหล่งหอยขมแม่เมาะ" 13 ล้านปี

ศาลยกฟ้องคดีคุ้มครองฟอสซิลหอย 13 ล้านปี เหมืองแม่เมาะ

10 ปีที่รอคอย ! ตัดสินคดีฟอสซิลหอยขมแม่เมาะ 13 ล้านปี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง