ชะตากรรมชาววังหีบ เมื่อถูก "เขื่อน" คุกคาม

สิ่งแวดล้อม
18 ก.ค. 66
12:43
248
Logo Thai PBS
ชะตากรรมชาววังหีบ เมื่อถูก "เขื่อน" คุกคาม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาวชุมชนบ้านวังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง เพราะไม่รู้ชะตากรรมว่า ตัวแทนกรมชลประทานจะนำกำลังเข้าพื้นที่ เพื่อปักหมุดหมายเดินหน้างานก่อสร้างเขื่อนอีกเมื่อไหร่

หลังเกิดการเผชิญหน้าครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านยืนยันจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด แม้มีความพยายามสร้างความแตกแยกภายในชุมชน

แทบไม่น่าเชื่อว่าชุมชนเล็ก ๆ ภายใต้ชื่อชุมชนบ้านวังหีบ ที่ตั้งของน้ำตกวังหีบ ใน ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ซุกซ่อนความสมดุลทางธรรมชาติ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ โอมล้อมสายธารน้ำ ที่ไหลลงมาจากเทือกเขาหลวง ผลพวงมาจากการร่วมใจกันอนุรักษ์
สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ใน ต.วังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กำลังจะเปลี่ยนไป หากกรมชลประทานเข้ามาสร้างเขื่อนวังหีบ

สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ใน ต.วังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กำลังจะเปลี่ยนไป หากกรมชลประทานเข้ามาสร้างเขื่อนวังหีบ

สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ใน ต.วังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กำลังจะเปลี่ยนไป หากกรมชลประทานเข้ามาสร้างเขื่อนวังหีบ

และกำลังกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อถูกระบุความเหมาะสมจากกรมชลประทาน ในการใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,800 ไร่ สำหรับก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังหีบ

หรือเขื่อนวังหีบ ขนาดความสูง กว่า 70 เมตร มูลค่าการรก่อสร้าง กว่า 2,300 ล้านบาท อ้างเหตุผล เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง แก้ไขปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองทุ่งสง ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอาชีพประมง แต่ถูกโต้แย้งจากชาวชุมชนบ้านวังหีบ มาโดยตลอด

สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ใน ต.วังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กำลังจะเปลี่ยนไป หากกรมชลประทานเข้ามาสร้างเขื่อนวังหีบ

สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ใน ต.วังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กำลังจะเปลี่ยนไป หากกรมชลประทานเข้ามาสร้างเขื่อนวังหีบ

สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ใน ต.วังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กำลังจะเปลี่ยนไป หากกรมชลประทานเข้ามาสร้างเขื่อนวังหีบ

สภาพภูมิประเทศปัจจุบัน ต่างจากในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่เปลี่ยนจากอาชีพทำนา หันมาทำสวนผลไม้ อีกทั้งสายน้ำวังหีบ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองทุ่งสง กว่า 6 กิโลเมตร จึงไม่ใช่สาเหตุของปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างใด

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน พยายามอ้างเหตุผลทั้ง 3 ข้อ ในการสร้างเขื่อนวังหีบว่า เป็นโครงการพระราชดำริ เมื่อปี 2533 กระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 โดยมีรายละเอียดแนบท้ายว่า ให้ไปทำความเข้ากับชาวบ้านก่อนดำเนินการ

และก่อนหน้านั้นมีการมอบหมายให้นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์ อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รับทราบข้อเท็จจริง มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษา จนได้ข้อสรุปว่า เห็นควรให้มีการปรับปรุงฝายกั้นน้ำที่มีอยู่ และไม่ความจำเป็นที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนวังหีบ

ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้า ที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังผู้บริหารสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 นำกำลังฝ่ายปกครอง และตำรวจตระเวนชายแดน เตรียมเข้าไปปักหมุดหมายหัวงาน โดยอ้างว่า ได้รับอนุญาตจากผู้ที่สนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนวังหีบ แต่ถูกผลักดันออกจากพื้นที่ โดยชาวบ้านยืนยันจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด

ศรีไพร หนูเพชร หนึ่งในชาวชุมชนบ้านวังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ระบุว่า รู้สึกว่าหวาดกลัว หลังมีความพยายามในการเชิญชาวบ้านเข้าไปคุยเป็นรายคน

ชุมชนบ้านวังหีบ ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนดั้งเดิมอาศัยอยู่กันมา 5 ชั่วอายุคน มีทั้งหมด 70 ครอบครัว ความพยายามในการเข้ามาสร้างเขื่อนของกรมชลประทาน ทำให้ชาวบ้านเสียโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรที่ดิน เป็นเขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก.เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับใน ปี 2539

กวีวงศ์ ธีระกุล ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคใต้ รายงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง