ถอดรหัสพันธุกรรม 25,000 คนไทย ค้นหายีนเสี่ยงสูงเกิดภาวะลองโควิด

สังคม
7 ส.ค. 66
10:20
821
Logo Thai PBS
ถอดรหัสพันธุกรรม 25,000 คนไทย ค้นหายีนเสี่ยงสูงเกิดภาวะลองโควิด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ถอดรหัสพันธุกรรม 25,000 คนไทย ค้นหายีนเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการลองโควิด-19

วันนี้ (7 ส.ค.2566) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ ถอดรหัสพันธุกรรมคนไทย: ค้นหายีนความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการลองโควิด โดยระบุ ทำไมบางคนไม่ว่าจะเป็น "เด็ก คนหนุ่มสาว หรือ ผู้สูงวัย" แม้จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 นานเท่าไรก็ไม่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด (resistant) ทำไมบางคนเมื่อติดเชื้อโควิด-19 กลับมีอาการรุนแรง และบางรายถึงขั้นเสียชีวิตทั้งที่อายุน้อยกว่า 50 ปี และไม่มีโรคประจำตัว (life-threatening) แต่ทำไมบางคนถึงเป็นลองโควิด (long covid)

ลองโควิดเป็นภาวะที่พบในบางคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และยังคงมีอาการเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรืออาจหลายปี หลังจากการติดเชื้อครั้งแรก อาการของลองโควิดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หายใจไม่ออก สมาธิสั้น ปวดหน้าอก สมองล้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปัญหาการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และการสูญเสียการรับรู้กลิ่นหรือรสชาติ

แม้สาเหตุที่แท้จริงของลองโควิดยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ครั้งแรก อายุของบุคคล โรคประจำตัว และพันธุกรรมของแต่ละบุคคล ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับอาการลองโควิด แต่มีบางสิ่งที่ผู้คนสามารถทำได้เพื่อจัดการกับอาการดังกล่าว เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จัดการความเครียด และรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอื่นๆ

ล่าสุดทีมนักวิจัยไทยจากสามสถาบัน ได้แก่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ได้ร่วมกันศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมเฉพาะตำแหน่งที่เรียกว่า "single nucleotide polymorphisms" หรือ "SNP" บนจีโนมของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 260 คน ที่มีรายงานมาก่อนหน้าว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาการลองโควิด โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่มตามความรุนแรงของอาการโควิด-19 ของพวกเขา คือกลุ่มมีอาการเล็กน้อยและกลุ่มอาการรุนแรงและบางคนมีการพัฒนาอาการไปเป็นลองโควิด โดยตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Emerging Microbes & Infections เมื่อวันที่ 31 ก.ค.2566

หลังจากวิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมของผู้ติดเชื้อ 260 คน ทีมวิจัยพบว่า "SNP" จำนวน 9 ตำแหน่งจาก 9 ยีนอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดอาการลองโควิด การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเหล่านี้คาดว่าไปเกี่ยวข้องกับโปรตีนบางชนิดที่ช่วยให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของเรา การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการอักเสบ

ถอดรหัสพันธุกรรม

ถอดรหัสพันธุกรรม

ถอดรหัสพันธุกรรม

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้พบ "SNP หนึ่งตำแหน่ง" ที่อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ลดลงของอาการลองโควิด และการทำความเข้าใจปัจจัยทางพันธุกรรมเหล่านี้สามารถช่วยในการพัฒนาการรักษาที่ดีขึ้นและการบริหารจัดการอาการลองโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และขณะนี้ทีมวิจัยจากศูนย์จีโนมฯ รพ. รามาธิบดีกำลังดำเนินการคือถอดรหัสพันุกรรมยีนทั้งหมด 25,000 ยีนที่ประกอบเป็นจีโนมมนุษย์ โดยเทคโนโลยี "whole exome sequencing" เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ทุกส่วนของยีนที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีน ในร่างกายของเรา โดยทีมนักวิจัยไทยจากศูนย์จีโนมฯได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยนานาชาติ "COVID Human Genetic Effort" ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องทางคลินิกกับการติดเชื้อ SARS-CoV-2

ทั้งนี้จะนำข้อมูลจีโนมประชากรไทยเปรียบเทียบกับจีโนมประชากรทั่วโลกที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งที่ไม่มีอาการรุนแรง กลุ่มที่มีอาการรุนแรง และกลุ่มที่มีอาการลองโควิด ในลักษณะเดียวกับการถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมไวรัสโคโรนา 2019 และเปรียบเทียบข้อมูลจีโนมไวรัสโคโรนา 2019 จากทั่วโลกร่วมกันจากฐานข้อมูลจีเสส (GISAID)

ถอดรหัสพันธุกรรม ค้นหายีนความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการลองโควิด

ถอดรหัสพันธุกรรม ค้นหายีนความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการลองโควิด

ถอดรหัสพันธุกรรม ค้นหายีนความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการลองโควิด

การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แสดงให้เห็นถึงความผันแปรทางคลินิกระหว่างบุคคลอย่างมาก ตั้งแต่การติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการไปจนถึงเกิดโรคร้ายรุนแรง แม้หายแล้วยังมีอาการลองโควิดติดตามมา บทบาทของพันธุกรรมมนุษย์การตอบสนองทางคลินิกต่อไวรัสขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน

ดังนั้นการศึกษาใน กลุ่มประชากรซึ่งยังไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 เลยแม้จะมีเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เปรียบเทียบกับ กลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อยสุขภาพดีแต่กลับติดเชื้อได้ง่ายและมีความรุนแรงคุกคามถึงชีวิต จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

สรุปคือ มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษา "พันธุกรรมของมนุษย์" ที่ส่งผลต่อการติดเชื้อและการเกิดโรคโควิด-19 ควบคู่ไปกับการศึกษา "พันธุกรรมการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19" 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“จีโนม” ไขความลับมนุษย์-เชื้อโรคกลายพันธุ์

"หมอธีระ" ระบุวัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันโอมิครอน 2 สายพันธุ์ไม่แตกต่างกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง