รู้จัก "ยายทองพูน" แม่แปรกผู้ใจดีในโขลง "ช้างปางบุญ"

สิ่งแวดล้อม
9 ส.ค. 66
15:25
1,281
Logo Thai PBS
รู้จัก "ยายทองพูน" แม่แปรกผู้ใจดีในโขลง "ช้างปางบุญ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วันช้างโลก 12 ส.ค.ของทุกปี ช้างตัวแทนของสัตว์ที่ตั้งท้องนานที่สุด 18-22 เดือน ทำความรู้จัก "ทองพูน" แม่แปรก และโขลงปางบุญ แหล่งเรียนรู้สำคัญในการเลี้ยงช้างวิถีดั้งเดิม กึ่งปล่อยธรรมชาติ สร้างความสุขทั้งช้างและพี่ควาญ

"ใจดี ใจเย็น สุขุม" เป็นลักษณะนิสัยของ "ทองพูน" ที่ "อำนาจ หอมชื่น" เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ถ่ายถอดเรื่องราวที่เขาสัมผัสถึงช้างตัวนี้ได้

"ทองพูน" ช้างตัวเมียมากประสบการณ์ อายุ 58 ปี มีนิสัยเรียบร้อย นิ่ง ๆ ไม่ค่อยตื่นตกใจ มักเดินปิดท้ายโขลง ดูแลความเรียบร้อย จนได้รับการยอมรับและยกเป็น "แม่แปรก" ในโขลงช้างปางบุญ

โขลงช้างปางบุญหากินในป่ากึ่งธรรมชาติ

โขลงช้างปางบุญหากินในป่ากึ่งธรรมชาติ

โขลงช้างปางบุญหากินในป่ากึ่งธรรมชาติ

ทองพูน มีลูกสาว 2 เชือก คือ พังแก่งโสภา และพังฟ้าใส ปัจจุบันกลายเป็น "ยาย" เพราะมีหลานสาว "พังสายชล" ลูกของแม่แก่งโสภา

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ทองพูนเดินไปส่งพังฟ้าใสที่ขณะนั้นอายุ 3 ปี เข้าโรงเรียนฝึกช้าง 3 เดือน ทั้งฝึกเดิน ฝึกยกขาหน้า ยกขาหลังเหยียบแท่นเช็กฝ่าเท้า หรือตะไบเล็บ ฝึกเก็บน้ำล้างงวง ให้ช้างพ่นน้ำจากงวงใช้ตรวจหาโรค ฝึกนอนด้านข้าง นอนตะแคง นอนเบาะ ฝึกอ้าปาก ฝึกยืนและฝึกชิดคอก

พี่ควาญสัมผัสยายทองพูนด้วยความรัก-ผูกพัน

พี่ควาญสัมผัสยายทองพูนด้วยความรัก-ผูกพัน

พี่ควาญสัมผัสยายทองพูนด้วยความรัก-ผูกพัน

ความเป็นแม่และเสียสละของทองพูนมีให้กับลูกหลานช้างทุกเชือกในโขลง ด้วยบุคลิกคุณยายใจดี นิ่ง สงบ เดินช้า ชอบกินจนตัวใหญ่ที่สุดในโขลง ทำให้ช้างหลายเชือกเดินมาหาแม่แปรกบ่อย ๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่ทองพูนถูกท้าทายจากช้างงาวัยรุ่น ยายสายทองและสมาชิกในโขลงต่างช่วยกันทั้งผลัก ดัน และใช้งวงกระแทก จนช้างล่าถอย

ไม่เว้น "แทนทอง" ลูกช้างตัวเล็กที่สุดในโขลง อายุ 8 เดือน นิสัยซุกซน ชอบแกล้งนอนทับหญ้าของช้างเชือกอื่น ๆ ในโขลง แต่กับยายทองพูนจะเสียสละไปกินตรงจุดอื่น ไม่โมโห หรือแสดงท่าทีรำคาญเมื่อลูกช้างขอทดลองเข้าเต้าดูดนม

ช้างเลี้ยงรวมโขลง ณ ปางบุญ จุดเริ่มต้นมาจาก "บุญ ชาติพานิชย์" ได้ซื้อช้างจากเจ้าของช้างที่ได้ใช้เดินเร่ร่อนตามในเมือง เพื่อช่วยเหลือช้างแบบไม่หวังผลกำไร และอยากให้ช้างได้มีชีวิตที่ดีท่ามกลางธรรมชาติในพื้นที่ จ.พิษณุโลก

ต่อมาบริจาคช้างให้อยู่ในความดูแลของสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2561 จำนวน 15 เชือก จึงจัดพื้นที่ดูแลช้างกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ให้ช้างอยู่ร่วมกันเป็นโขลงแบบกึ่งปล่อยป่าธรรมชาติ และมีควาญช้างกลุ่มเดิมติดตามมาดูแลช้างด้วยความผูกพันกัน ปัจจุบันมีควาญช้าง 7 คน และช้าง 10 เชือก

โขลงช้างเล่นดินโคลน

โขลงช้างเล่นดินโคลน

โขลงช้างเล่นดินโคลน

ทุกเช้าหลังจากดูแลความสะอาดแหล่งมัดช้าง ในเวลา 07.00-08.00 น. พี่ควาญจะนำช้างโขลงปางบุญออกไปใช้ชีวิตตามธรรมชาติ เดินหากินหญ้า ใบไผ่ ใบไม้ เปลือกไม้ หน่อไม้ เล่นน้ำในลำห้วย จากนั้นเวลา 15.00 น. จะนำช้างกลับมาอาบน้ำขัดถูทำความสะอาด ปล่อยช้างเล่นน้ำ กินน้ำผ่านสายยาง ก่อนนำเข้าหลักมัดอยู่ใกล้ที่พักของควาญช้าง การเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยธรรมชาติ ทำให้โขลงช้างมีความสุข และยอมรับพี่ควาญเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม

ทองเจือ เสียงหวาน ควาญช้าง ทำงานที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยตั้งแต่ปี 2528 และได้รับหน้าที่ดูแลทองพูน บอกว่า เขารักและผูกพันกับช้างเหมือนลูก เรียกว่าแค่มองตาก็รู้ใจ สัมผัสก็เข้าใจกัน จุดเด่นของทองพูนเป็นช้างนิสัยดี น่ารัก ชอบกินใบไผ่ หน่อไม้ ใบหญ้า และเปลือกต้นกระโดน กิจวัตรประจำวันของเขา คือ การเลี้ยงช้าง เดินอย่างน้อยวันละ 10 กิโลเมตร เฝ้าติดตามและดูช้างใช้ชีวิตอิสระตามจุดต่าง ๆ ในป่ากึ่งธรรมชาติ

ทองเจือ เสียงหวาน ควาญช้างผู้ดูแลทองพูน

ทองเจือ เสียงหวาน ควาญช้างผู้ดูแลทองพูน

ทองเจือ เสียงหวาน ควาญช้างผู้ดูแลทองพูน

ช้างกลุ่มปางบุญ เป็นช้างที่ทำให้คนไทยได้รู้จักธรรมชาติของช้างอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ บอกว่า ช้างกลุ่มนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ช้างบ้านที่สำคัญของไทย ซึ่งมีการเลี้ยงลักษณะนี้ในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและในพื้นที่ภาคใต้ อีกทั้งในอดีตไทยเลี้ยงช้างโดยปล่อยเข้าไปในป่าธรรมชาติ และเมื่อจะใช้งาน หรือรับราชการ ก็จะต้อนออกจากป่า

น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

ลักษณะโครงสร้างช้างโขลงนี้ เป็นแบบธรรมชาติ มี 3 เจเนอเรชั่น ปู่ย่า พ่อแม่ และลูก คือ ช่วงอายุ 40-50 ปี, อายุ 20-30 ปี และกลุ่มอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยมียายทองพูนเป็นจ่าฝูง และช้างแม่ตัวอื่น ๆ ในโขลง ล่าสุดเพิ่งมีลูกน้อย "แทนทอง" เมื่อเดือน ธ.ค.2565

ถ้าจะอนุรักษ์ช้าง ต้องอนุรักษ์ควาญช้าง ผมรู้สึกว่าก่อนที่ช้างจะสูญพันธุ์ ควาญช้างจะหมดไปก่อน

สพ.ดร.ทวีโภค อธิบายความสำคัญของควาญช้างและช้างที่ต้องเรียนรู้ แค่มองตาก็เข้าใจกัน ว่า การเลี้ยงช้างแบบนี้เป็นความฝันของคนเลี้ยงช้าง เพราะช้างจะได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด จึงได้รับความสนใจโดยเฉพาะในกลุ่มคนไทยและต่างชาติที่ไม่อยากดูช้างรูปแบบเก่า ๆ ทั้งการโชว์ช้าง การสัมผัสใกล้ชิด

พี่ควาญเตรียมหญ้าไปให้ช้าง

พี่ควาญเตรียมหญ้าไปให้ช้าง

พี่ควาญเตรียมหญ้าไปให้ช้าง

แต่เป็นการดูวิถีธรรมชาติ คำนึงสิทธิสัตว์และการเว้นระยะห่าง ไม่สัมผัส หรือให้อาหารช้างโดยตรง เพราะช้างไม่ใช่สัตว์ก้าวร้าว ถ้าเข้าหาอย่างเป็นมิตรและเป็นธรรมชาติ คน-ช้างจึงต้องปรับตัวให้เกียรติซึ่งกันและกัน

ภูมิปัญญาในการเลี้ยงช้างกึ่งธรรมชาติ แค่มองตาก็รู้นิสัยช้างแต่ละตัว ถ้าไม่รักษาไว้สิ่งพวกนี้จะหายไปเรื่อย ๆ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

3 อาการ “พลายศักดิ์สุรินทร์” ขาซ้ายงอตึง-ตาขวาเสี่ยงต้อ-โปรตีนสูงในฉี่ 

ครั้งแรกของโลก! อ.อ.ป.สอบคุณวุฒิอาชีพ "ควาญช้าง" 

คำบอกเล่า 2 รุ่น "สมุนไพรรักษาช้าง" ภูมิปัญญา 100 ปี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง