6 เรื่องต้องรู้ ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ หลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน

อาชญากรรม
11 ส.ค. 66
10:37
6,586
Logo Thai PBS
6 เรื่องต้องรู้ ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ หลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกรณีผู้เสียหายถูกหลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงินสูญนับล้านบาท โดยทันทีที่ทราบเหตุได้ระงับธุรกรรมชั่วคราวแนะรีบแจ้งตำรวจ พร้อมแนะ 6 ข้อป้องกันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

วันนี้ (11 ส.ค.2566) จากกรณี ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมที่ดิน หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน แล้วถูกดูดเงินในโมบายแบงกิ้ง เสียหายกว่า 1,000,000 บาท นั้น

อ่านข่าว : ผู้ประกาศข่าวถูกหลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงินสูญกว่า 1 ล้านบาท

ล่าสุด สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า ทางธนาคารสมาชิกที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเหตุดังกล่าวและดำเนินการระงับธุรกรรมชั่วคราวทันทีเมื่อได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย และแจ้งให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจที่สะดวกหรือใกล้ที่สุด เพื่อขยายระยะเวลาการระงับธุรกรรมชั่วคราวไปอีก 7 วัน และดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนด

ขณะนี้ธนาคารที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างประสานกับผู้เสียหาย และเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด เพื่อรวบรวมข้อมูลให้กับพนักงานสอบสวนต่อไป โดยภาคธนาคารมีความห่วงใยและพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ ป้องกันและติดตามผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด

ทั้งนี้ สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกตระหนักถึงภัยทางการเงินที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น โดยทางชมรมป้องกันและปราบปราบทุจริต และศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TBCERT) ได้เร่งพัฒนาแนวทางการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คำแนะนำก่อนติดตั้งแอปฯ มือถือ

คำแนะนำก่อนติดตั้งแอปฯ มือถือ

คำแนะนำก่อนติดตั้งแอปฯ มือถือ

แนะ 6 ข้อป้องกันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 

  • ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งอื่น นอกจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store อาทิ Play Store หรือ App Store เท่านั้น
  • ไม่ตั้ง password ซ้ำ หรือ ใช้ร่วมกับ Mobile Banking
  • ไม่ทำการสแกนใบหน้า หรือยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก
  • ไม่กดลิงก์จาก SMS แปลกปลอม โดยภาคธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ SMS แนบลิงก์ทุกชนิด หรือมีข้อความให้แอด Line ID หากได้รับ SMS ดังกล่าว อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
  • ควรสังเกตโล่ ที่อยู่ด้านหน้า Line account เสมอ ซึ่งควรมีโล่สีเขียว หรือน้ำเงินเข้ม เท่านั้น
  • หากต้องการทำธุรกรรมใด ๆ ควรโทรกลับไปที่หน่วยงานที่ถูกแอบอ้างด้วยตนเอง

หากลูกค้าธนาคารพบธุรกรรมผิดปกติหรือมีข้อสงสัย ขอให้ติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารที่ลูกค้าใช้งานทันที เพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท.ชี้ถูก "ดูดเงิน" ไม่ใช่สายชาร์จปลอม แต่เป็นแอปฯ แฝงมัลแวร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง