มท.มอบโล่เกียรติคุณ 25 หน่วยงานท้องถิ่น ส่งเสริมจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์

สิ่งแวดล้อม
17 ส.ค. 66
10:23
490
Logo Thai PBS
มท.มอบโล่เกียรติคุณ 25 หน่วยงานท้องถิ่น ส่งเสริมจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปลัดมหาดไทย มอบโล่เกียรติคุณโครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 25 หน่วยงาน

วานนี้ (16 ส.ค. 66) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “การสนับสนุนบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการลดภาวะโลกร้อน” ในงานแถลงผลสำเร็จผลการดำเนินงานและมอบโล่เกียรติคุณโครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบโล่เกียรติคุณ "โครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ให้แก่ผู้บริหารสำนักงานเขต และผู้บริหารเทศบาล แบ่งเป็น 3 ประเภท รวม 25 หน่วยงาน คือ

1) ประเภทสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ สำนักงานเขตดินแดง สำนักงานเขตบางขุนเทียน และสำนักงานเขตประเวศ

2) ประเภทเทศบาลเมือง 13 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองกุฉินารายณ์ เทศบาลเมืองชุมเห็ด เทศบาลเมืองเดชอุดม เทศบาลเมืองตาก เทศบาลเมืองตาคลี เทศบาลเมืองบางคูรัด เทศบาลเมืองบึงยี่โถ เทศบาลเมืองปากพูน เทศบาลเมืองเมืองปัก เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ เทศบาลเมืองสะเดา เทศบาลเมืองหล่มสัก และเทศบาลเมืองอรัญญิก

3) ประเภทเทศบาลตำบล 9 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลขัวมุง เทศบาลตำบลเขื่องใน เทศบาลตำบลคลองตำหรุ เทศบาลตำบลท่าช้าง เทศบาลตำบลท่าทอง เทศบาลตำบลบวกค้าง เทศบาลตำบลนาจอมเทียน เทศบาลตำบลนาป่า และเทศบาลตำบลสูงเนิน

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย (Partnership) ที่สำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในการร่วมกัน Change for Good ทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ ภายใต้การนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ซึ่งในวันนี้มีสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ได้มาร่วมหัวจมท้ายเป็นผู้นำช่วยกันลดภาวะโลกร้อนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องตระหนักเป็นพิเศษซึ่งปรากฏเป็นข้อมูลข่าวสารไปทั่วโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ประกาศวิกฤตสภาพภูมิอากาศใหม่ "ภาวะโลกเดือด" ที่ทวีความรุนแรงยิ่งไปกว่าภาวะโลกร้อน และจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “การสนับสนุนบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการลดภาวะโลกร้อน”

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “การสนับสนุนบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการลดภาวะโลกร้อน”

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “การสนับสนุนบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการลดภาวะโลกร้อน”

สะท้อนผ่านปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบทวีปยุโรป เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 47 องศาเซลเซียส หรือในทวีปเอเชียที่ประเทศญี่ปุ่นมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ชี้ชัดแล้วว่า “โลกเดือด” เริ่มใกล้เคียงกับความเป็นจริงและใกล้เคียงกับตัวเราทุกวินาที

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นทำให้พวกเราข้าราชการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่มีความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่มีภารกิจหน้าที่โดยตรงที่ต้องรับผิดชอบ ด้วยการสื่อสารสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายในสังคม

ทั้งภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชนภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคราชการทั้ง 77 จังหวัด 878 อำเภอ และอีก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องลุกขึ้นมาช่วยกันต่อสู้กับภาวะโลกร้อนให้โลกของเรา

ในวันนี้นับเป็นที่น่ายินดีที่ทุกท่านร่วมกันอย่างเข้มแข็งเพื่อช่วยกันทำให้ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกที่ดีของโลกใบนี้ในการลดการปล่อยก๊าซเสียที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต”

ในปัจจุบันองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งได้ช่วยกันทำแผนและฐานข้อมูล มีกิจกรรม (Activities) ภายใต้การขับเคลื่อนของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง ทำกิจกรรมที่จะส่งผลประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ

อีกทั้งยังช่วยกันรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ซึ่งจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้รับรายงานจากผู้ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body : VVB) ที่ได้ลงพื้นที่ทวนสอบโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนใน 22 จังหวัด

ก่อนหน้านี้ กระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้ร่วมประกาศความสำเร็จการจัดการขยะอาหารจากครัวเรือน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายประเทศไทยที่ยั่งยืน (MOI’s Success on Food Waste Management for Climate Action and a Commitment to Sustainable Thailand) ของจังหวัดนำร่องทั้ง 4 จังหวัด คือ จ.ลำพูน สมุทรสงคราม เลย และจังหวัดอำนาจเจริญ

25 หน่วยงานท้องถิ่นได้รับโล่เกียรติคุณ

25 หน่วยงานท้องถิ่นได้รับโล่เกียรติคุณ

25 หน่วยงานท้องถิ่นได้รับโล่เกียรติคุณ "โครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"

จนสามารถทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี บมจ.ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เป็นผู้รับซื้อคาร์บอนเครดิตในราคา 260 บาท/ตัน ซึ่งในเฟสแรก สามารถซื้อขายได้จำนวน 3,140 ตัน เป็นเงิน 816,400 บาท ถูกส่งกลับไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ช่วยรณรงค์ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนช่วยกันเป็นพลเมืองดีของโลก

นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า โครงการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ทำให้เราได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิตนั้น ด้วยมีกำลังหนุนเสริมที่สำคัญจากภาคีเครือข่ายวิชาการ คือ ศ.ชนาธิป ผาริโน ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยทำมาตรวิทยา (Metrology) ร่วมกับทาง TGO ตรวจสอบและรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ จึงเป็นที่มาของการคำนวณว่าเราสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเสียได้

จนทำให้สามารถต่อยอดไปถึงการขายให้ได้เงินและส่งคืนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคนในชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงมหาดไทยทำมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่า เราให้ความสำคัญและลงมือทำทันทีเพื่อลดภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง และยังคงเดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

นอกจากการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้ส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ อาทิ การจัดทำธนาคารใต้ดิน การน้อมนำพระราชดำริการสร้างความมั่นคงทางอาหารในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 สวนสมุนไพร และลงพื้นที่ร่วมกับชุมชนจัดทำผังภูมิสังคม (Geo-Social Map) เพื่อทวงคืนและดูแลพื้นที่ของน้ำให้ฟื้นคืนกลับมามีสภาพแวดล้อมที่ดีดังเดิม รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในทุกโอกาส ซึ่งทั้งหมดที่เราดำเนินการไปนั้นเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ

25 หน่วยงานท้องถิ่นได้รับโล่เกียรติคุณ

25 หน่วยงานท้องถิ่นได้รับโล่เกียรติคุณ

25 หน่วยงานท้องถิ่นได้รับโล่เกียรติคุณ "โครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"

ขอฝากไปยังผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกท่านว่า “ความสำเร็จของการทำงานขึ้นอยู่กับผู้นำ” ซึ่งทุกท่านต้องแสดงออกและให้ความสำคัญในเรื่องการลดภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจนและจริงจัง เฉกเช่นที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำมาโดยตลอด เช่น การร่วมกับ TGO ใช้วัสดุธรรมชาติปราศจากสารเคมีในกระบวนการผลิตผ้าไทยที่สามารถคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถตอบสนองในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

ดังนั้น ผู้นำจึงมีความสำคัญ ผู้นำต้องทำก่อน ต้องรวมทีม สร้างทีม มาร่วมกันพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ ดังที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงถอดบทเรียนการทรงงานจากโครงการพระราชดำริกว่า 4,741 โครงการ ว่าการจะทำให้เกิดผลลัพธ์ของการทำงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ ต้องเกิดการรวมกลุ่มโดยมีผู้นำในพื้นที่เป็นแกนหลักที่สำคัญ

เช่น อบต.โก่งธนู อ.เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี ที่มีโครงการถังขยะทองทำ โดยการนำขยะมาคัดแยก เพื่อรีไซเคิล เปลี่ยนขยะเป็นรายได้ เกิดเป็นมูลค่าสะสม ตั้งแต่ก่อตั้งถึงปัจจุบันรวมกว่า 30 ล้านบาท กลายเป็นกองทุนสวัสดิการให้กับหมู่บ้าน เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เกิดการแบ่งเบาภาระงานของทางราชการ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน 

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO มุ่งเป็นภาคีเครือข่ายกับกระทรวงมหาดไทยในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การขับเคลื่อนโครงการฯ นี้ จะส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและสามารถจัดทำแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กรได้ เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในระดับท้องถิ่น อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงมหาดไทย และรัฐบาลอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง