ภาคปชช.ยื่น 5 ข้อเรียกร้อง หลังรัฐบาลปรับหลักเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เศรษฐกิจ
17 ส.ค. 66
13:00
6,239
Logo Thai PBS
ภาคปชช.ยื่น 5 ข้อเรียกร้อง หลังรัฐบาลปรับหลักเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หลัง ก.มหาดไทยออกหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยเพิ่มคุณสมบัติการเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ เป็นเงื่อนไขในการรับเบี้ยยังชีพ เครือข่ายภาคประชาสังคม จึงรวมตัวคัดค้านเงื่อนไขดังกล่าว

วันนี้ (17 ส.ค.66) เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยมีข้อเรียกร้องร่วมกัน ดังนี้ 

อ่านข่าว ส่องนโยบายพรรคการเมือง "เบี้ยยังชีพ" เรียกคะแนนผู้สูงวัย 12 ล้านคน

1.กระทรวงมหาดไทย ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม ซึ่งคงสิทธิถ้วนหน้า โดยไม่ต้องพิสูจน์ความยากจน และตัดสิทธิการรับสวัสดิการซ้ำซ้อนไว้แล้ว

เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

2.คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ต้องออกมาปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุทุกคน ไม่ให้ถูกลิดรอนต่ำลงไปกว่าที่เคยเป็น ด้วยการไม่สนองตอบต่อหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566

3.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญถ้วนหน้า ด้วยการออกเป็นกฎหมายรองรับ ไม่ใช่ใช้หลักนโยบายการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามมติคณะรัฐมนตรี

อ่านข่าว "จุรินทร์" โต้ปรับเบี้ยผู้สูงอายุ ย้ำ ปชป.จุดยืนเดิมไม่มีคุยร่วมเพื่อไทย

4.กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ของตัวเองในการศึกษาตัดงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ เข้ารัฐ เพื่อเพิ่มรายได้มาเติมเต็มการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนแบบถ้วนหน้า เช่น การศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่ง ภาษีลาภลอย ภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น เป็นต้น

5.รัฐบาลใหม่ ต้องผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเรื่องรัฐสวัสดิการเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าบรรจุในกฎหมายให้ชัดเจน

สำหรับ กิจกรรมตั้งแต่ช่วงเช้า เครือข่ายได้เดินทางไปที่กระทรวงการคลังเป็นที่แรก และ ขณะนี้อยู่กระทรวงมหาดไทย ส่วนสถานที่ถัดไป คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อ่านข่าว "เบี้ยผู้สูงอายุ 2566" เช็กคุณสมบัติ - วิธีลงทะเบียน - ปฏิทินการจ่ายเงิน 

ด้าน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้แจงการแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ว่า เป็นเรื่องที่คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ ได้พิจารณาหารือข้อกฎหมาย กรมกิจการผู้สูงอายุ โดยระเบียบเดิมที่กำหนดไว้ ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้ผู้มีอายุเกิน 60 ปีทุกคน ไม่ว่าจะมีฐานะร่ำรวยหรือรายได้ประจำมากมายเพียงใด ถ้าไม่เคยได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ ย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ

ขณะที่ผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ แม้เพียงเล็กน้อย กลับไม่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีลักษณะ "อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม"

อ่านข่าว คนการเมืองมองต่างมุม กรณีปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ 

ทั้งนี้ ข้อสังเกตการกำหนดกรณีไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ อาจพิจารณาจากข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น รายได้ที่ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี, จำนวนรายได้ตามเส้นแบ่งความยากจน หรือ จำนวนเงินตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

ขณะที่ นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)  ระบุว่า ผลกระทบของหลักเกณฑ์ใหม่ ชัดเจนว่า มีผู้ที่จะมีสิทธิได้เงินน้อยลง ถ้าหลักเกณฑ์นี้ออกมาบังคับใช้จริงกระบวนการคัดกรองจะแน่ใจได้อย่างไรว่า จะไม่มีปัญหาตกหล่น

เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair จัดกิจกรรม ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณา ก็มีไม่กี่ทางเลือก เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่อย่าลืมว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็มีปัญหาในตัวเองอยู่แล้ว เพราะผู้มีสิทธิ์ตกหล่นเยอะมาก นอกจากนี้ ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีบัตรนี้ มีแนวโน้มจะเป็นผู้มีรายได้น้อยมาก ยากจนกว่าคนอื่นๆ

อ่านข่าว เปิดหลักเกณฑ์ "จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566"  

แนวคิดที่เสนอ คือ "แบบลูกผสม" โดยระบบถ้วนหน้าให้คงเอาไว้ แต่คงไว้ในระดับที่ไม่สูงนัก เช่น ระดับปัจจุบัน 600 - 1,000 บ. ผู้สูงอายุก็จะได้ถ้วนหน้าทุกคน แบบไม่มีการคัดกรอง แต่ถ้ารัฐบาลชุดใหม่ อยากเพิ่มงบประมาณตามที่หาเสียงไว้ ก็ให้เพิ่มส่วนที่ต้องเข้าสู่การคัดกรอง เพื่อให้ผู้รายได้น้อยมากจริง ๆ ได้รับเงินนี้ไป ซึ่งข้อดีของแนวคิด คือ จะไม่มีใครตกหล่น

อ่านข่าว เบี้ยผู้สูงอายุยังจ่ายเกณฑ์เดิม ไม่มีเบี้ยพิเศษรายปีคนละ 1,000 บาท 


"ข้อเสนอจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แบบลูกผสม" งบประมาณที่ต้องใช้ อาจมากกว่าปัจจุบัน แต่ว่าจะใช้ไม่มากเท่ากับกรณีที่เป็นถ้วนหน้าในอัตราจ่ายต่อหัวสูง โดยงบประมาณที่ต้องจ่าย ไม่ถึง 4-5 แสนล้านบาทต่อปี อาจอยู่ที่ราว 2 แสนล้านบาท ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องไปหาเงิน

อ่านข่าว อื่น ๆ 

ครม.คืนเงินให้ "ผู้สูงอายุ" ที่ได้รับเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนสวัสดิการอื่น  

มท. ชี้แจง 3 ประเด็น คลายข้อสงสัย "เบี้ยผู้สูงอายุ"  

ตัดสิทธิ “เบี้ยคนชรา” ตัดท่อน้ำเลี้ยง ใจคน(อ)ยากจน  

พม.ยืนยันผู้สูงอายุเดิมยังได้รับเบี้ยยังชีพ หลังรัฐบาลปรับหลักเกณฑ์ 

"เบี้ยผู้สูงอายุ 2566" เช็กคุณสมบัติ - วิธีลงทะเบียน - ปฏิทินการจ่ายเงิน  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง