ตรวจหา "มะเร็งเต้านม" ด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระงานรังสีแพทย์

Logo Thai PBS
ตรวจหา "มะเร็งเต้านม" ด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระงานรังสีแพทย์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลุนด์ (Lund University) ประเทศสวีเดน พบว่าการตรวจหามะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรม (mammogram) ที่มี AI เป็นตัวช่วย สามารถตรวจพบ "มะเร็ง" ได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกันกับการตรวจโดยนักรังสีวิทยา 2 คน

การตรวจหา "มะเร็งเต้านม" สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการคัดกรองเบื้องต้นด้วยการตรวจด้วยตนเอง การตรวจแบบอัลตราซาวนด์ และการตรวจแบบแมมโมแกรม ซึ่งการตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรมถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำอยู่แล้ว และจะแม่นยำเพิ่มขึ้นไปอีกหลังจากผลการศึกษาพบว่าการตรวจแมมโมแกรมที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นตัวช่วยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจเต้านม และช่วยลดภาระการทำงานของรังสีแพทย์ได้

ผู้หญิงราว 1 ล้านคนในสวีเดนเข้ารับการตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรม ซึ่งในการตรวจแต่ละครั้งจะได้รับการตรวจโดยนักรังสีวิทยา 2 คน หรือที่เรียกว่าการอ่าน 2 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่เนื่องจากการขาดแคลนของนักรังสีวิทยาเต้านมในสวีเดนและที่อื่น ๆ อาจส่งผลให้การบริการตรวจคัดกรองเกิดความเสี่ยงและให้ผลไม่แม่นยำมากพอ จึงมีการดึงศักยภาพของ AI เข้ามาช่วยให้การตรวจเต้านม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า นักรังสีวิทยาตรวจเต้านม 1 คน กับการใช้ AI ในการตรวจเต้านมให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกันกับการตรวจเต้านมโดยนักรังสีวิทยา 2 คน

นักวิจัยทำการทดสอบความแม่นยำของการใช้ AI เพื่อตรวจเต้านม โดยการสุ่มผู้หญิงเพื่อจัดกลุ่มตรวจด้วยการทดลองตรวจแมมโมแกรมด้วย AI จำนวน 80,033 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการคัดกรองเต้านมที่สนับสนุนโดย AI และกลุ่มที่ได้รับการอ่าน 2 ครั้งแบบไม่มี AI ช่วย

ผลลัพธ์ คือ ในกลุ่มที่ได้รับการตรวจด้วย AI พบว่าผู้หญิง 244 คน (28%) เป็นมะเร็ง เทียบกับกลุ่มที่ได้รับการตรวจตามมาตรฐานโดยไม่มี AI ช่วย พบกว่าผู้หญิง 203 คน (25%) เป็นมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหมายถึงการทำงานของ AI มีศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนรังสีแพทย์ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยการช่วยให้รังสีแพทย์มีภาระงานน้อยลงได้

ที่มาข้อมูล: newatlas, theguardian, news-medical, bbc

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง