ยาเสียสาวตัวใหม่ "ฟลูอัลปราโซแลม" กินถึงตายระบาดภาคใต้

อาชญากรรม
30 ส.ค. 66
18:12
1,171
Logo Thai PBS
ยาเสียสาวตัวใหม่ "ฟลูอัลปราโซแลม" กินถึงตายระบาดภาคใต้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมวิทย์ฯ เตือนฟลูอัลปราโซแลม ยาเม็ดกลมแบบสีส้มพิมพ์เลข "5" อีกด้านหนึ่งพิมพ์สัญลักษณ์ บนแผงพิมพ์ "Erimin 5" ออกฤทธิ์แบบยาเสียสาว แต่ยาวนานกว่า 6-14 ชั่วโมง เสี่ยงตายถึงขั้นเสียชีวิต

วันนี้ (30 ส.ค.2566) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผอ.สำนักยาและวัตถุเสพติด และดร.วราพร ชลอำไพ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา แถลงข่าวประเด็นตรวจพบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดใหม่ (ฟลูอัลปราโซแลม)

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้รับของกลางเพื่อตรวจวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนสีส้ม ด้านหนึ่งพิมพ์เลข “5” อีกด้านหนึ่ง พิมพ์สัญลักษณ์บนแผงพิมพ์คำว่า อีริมิน 5 “Erimin 5” ตรวจพบตัวยาฟลูอัลปราโซแลม ซึ่งเป็นยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอะเซปีนส์ชนิดใหม่ ที่ยังไม่เคยตรวจพบมาก่อน ในประเทศไทย จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1

ยาเม็ดอีริมิน 5 โดยปกติมีส่วนประกอบของวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ชื่อไนเมตาซีแพม มีขนาดยา 5 มิลลิกรัม จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ฯ ในประเภท 2 ปัจจุบันไม่มีการจำหน่าย

ในประเทศไทย มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด และพบระบาดมากใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจ.นราธิวาส ระยะหลังพบการระบาดของยาอีริมินปลอมเพิ่มมากขึ้น โดยการใส่หรือผสมยาหรือวัตถุออกฤทธิ์ตัวอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย

จากรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลาง Erimin 5 ตั้งแต่ปี 2556 ตรวจพบ Nimetazepam, Nitrazepam, Phenazepam, Diazepam, Clozapine และ Etizolam

การตรวจพบ ตัวยาฟลูอัลปราโซแลม จึงเป็นการตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีการตรวจพบ ตั้งแต่ปี 2564

สำหรับฟลูอัลปราโซแลม เป็นยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีนส์ ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น  มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับอัลปราโซแลม  แตกต่างกันที่ฟลูอัลปราโซแลมมีอะตอมของฟลูออรีนอยู่ในโครงสร้าง

ทั้งนี้ ฟลูอัลปราโซแลม จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 มีการออกฤทธิ์คล้ายกับยานอนหลับตัวอื่นในกลุ่มเบนโซไดอะเซปีนส์ โดยออกฤทธิ์คลายความวิตกกังวล และทำให้ง่วงนอน เนื่องจากฟลูอัลปราโซแลม ไม่มีการใช้เป็นยาในมนุษย์ จึงไม่พบการศึกษาวิจัยทางคลินิก ของตัวยา แต่จากโครงสร้างทางเคมี

คาดว่าฟลูอัลปราโซแลมออกฤทธิ์ภายใน 10-30 นาที หลังการกิน และออกฤทธิ์นาน 6-14 ชั่วโมง

เนื่องจากไม่มีข้อมูลทางคลินิกที่ชัดเจน ดังนั้นการใช้หรือเสพ ตัวยาฟลูอัลปราโซแลม จึงเป็นความเสี่ยงต่อผู้เสพที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ควบคุมการแพร่ระบาดของยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง