ตร.ทลายแก๊งนักล่าสมบัติโบราณ ยึดโบราณวัตถุ 1,000 ชิ้น

อาชญากรรม
4 ก.ย. 66
10:46
5,137
Logo Thai PBS
ตร.ทลายแก๊งนักล่าสมบัติโบราณ ยึดโบราณวัตถุ 1,000 ชิ้น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตำรวจสอบสวนกลาง ทลายแก๊งนักล่าสมบัติโบราณ ยึดวัถตุโบราณกว่า 1,000 ชิ้น หนึ่งในนั้นเป็นวัตถุโบราณรูปวัวสำริด อายุ 1,600 ปี

วันนี้ (4 ก.ย.2566) เวลา 10.30 น. ที่ตึกกองบังคับการปราบปราม ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับกรมศิลปากร แถลงผลการทลายแก๊งนักล่าสมบัติโบราณ โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง เป็นประธานในการแถลงข่าว

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า ผู้ต้องหาได้นำโบราณวัตถุไปขายผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ยึดของกลาง 1,000 ชิ้น เครื่องสแกนโลหะ 11 เครื่อง

นอกจากนี้ พบเงินเคลื่อนไหวในบัญชีธนาคารของผู้ต้องหาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลักสิบล้านบาท 

พฤติการณ์ขบวนการนี้ คือ นายทศพร นายทศพล และนายศรีออน ลักลอบขุดโบราณวัตถุในพื้นที่หลายจังหวัดภาคเหนือ และ จ.ราชบุรี นำไปขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนอีกกลุ่มเป็นผู้รับซื้อ คือ นายอธิพงศ์ และนายสุชิน โดยตรวจค้น 9 จุด 4 จังหวัด จับกลุ่มได้ 3 คน คือ นายทศพร นายทศพล และนายศรีออน เมื่อวันที่ 30 ส.ค.2566 

เบื้องต้นถูกแจ้งข้อหาเป็นผู้เก็บได้ ซื้อโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ และเบียดบังเอาโบราณวัตถุเป็นของตนเอง และจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พบการขายโบราณวัตถุผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งผู้ก่อเหตุใช้เครื่องตรวจโลหะในการตรวจค้นโบราณวัตถุใต้ดิน และลักลอบขุดมาขาย

อธิบดีกรมศิลปากร ยกตัวอย่างโบราณวัตถุรูปวัว ทำจากโลหะสำริด อายุ 1,600 ปี ซึ่งบ่งบอกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การค้าขายของอินเดียกับไทย และรูปช้างสำริด อายุ 500-600 ปี ศิลปะล้านนาโบราณ

วัตถุดังกล่าวมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาแต่ละยุคสมัยว่าในอดีตมีการวิวัฒนาการ การติดต่อสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นมูลค่าที่ประเมินไม่ได้

ราคาที่ไปขายทางออนไลน์ เทียบไม่ได้กับคุณค่าของโบราณวัตถุ และการศึกษา

ขบวนการดังกล่าวถูกล่อซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ล่าสุดจับกุมได้ 3 คน เหลืออีก 2 คน ซึ่งกลุ่มนี้จะนำของมาเก็บไว้ และขายบางส่วนให้พ่อค้า หรือนักสะสมของโบราณ ซึ่งได้ตรวจยึดโบราณวัตถุหลายรายการจากผู้รับซื้อด้วย

สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ มีทั้งภาชนะดินเผา เข็มสักโบราณ เงินเหรียญลักษณะเกือกม้า 2 ชิ้น และมีตราประทับ เครื่องประดับโบราณ สะท้อนให้เห็นเส้นทางการค้าระหว่างจีนตอนใต้ และอินเดีย

หากผู้ใดพบวัตถุใดที่ผิดปกติ ไม่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน จากการพบในการทำเกษตร หรือตามแหล่งน้ำ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบ ห้ามนำไปขายต่อ เพราะเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ และหากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นวัตถุโบราณ ผู้ที่พบจะได้เงินราวัลจำนวน 1 ใน 3 ของราคาประเมินอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง