ทีมวิจัยจุฬาเกาะติด "น้ำมันรั่วกลางทะเล" จ.ชลบุรี หวั่นปะการังเป็นหมัน

สิ่งแวดล้อม
6 ก.ย. 66
13:19
1,358
Logo Thai PBS
ทีมวิจัยจุฬาเกาะติด "น้ำมันรั่วกลางทะเล" จ.ชลบุรี หวั่นปะการังเป็นหมัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัย จุฬาฯ หวั่น น้ำมันรั่วในทะเลที่ จ.ชลบุรี ต้องติดตามใกล้ชิด ชี้อาจจะใช้เวลากว่าปีกว่าจะเห็นผลกระทบ เผยผลวิจัยชี้ชัดทำปะการังเป็นหมัน

วันนี้ (6 ก.ย.66) จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ จ.ชลบุรี สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกไปสำรวจเบื้องต้น พบว่า ยังไม่พบผลกระทบที่เห็นชัดเกิดขึ้น เนื่องจากคราบน้ำมันได้ถูกกำจัดไปเกือบหมดแล้ว

อ่านข่าว อัปเดตคราบน้ำมัน! ไม่พัดเข้าหาดบางพระ-จ่อเอาผิดไทยออยล์ 

อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของทีมวิจัยที่ทำงานศึกษาผลกระทบของน้ำมันรั่วที่มีต่อระบบนิเวศปะการัง ในอดีตที่ระยองทั้ง 2 ครั้ง พบว่า ผลกระทบอาจจะยังไม่เกิดให้เห็นทันที แต่สิ่งมีชีวิตอาจจะใช้เวลาในการแสดงออกถึงผลกระทบที่ได้รับภายหลัง

อ่านข่าว ทส.เฝ้าระวัง 5 จุดเสี่ยง "น้ำมันรั่วชลบุรี" ห่วงปะการังเกาะค้างคาว 

ศ.สุชนา ชวนิชย์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า จากการศึกษาในอดีต และในห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน หรือ คราบน้ำมัน รวมทั้งสารขจัดคราบน้ำมันสามารถทำให้ปะการังเป็นหมัน โดยปะการังไม่สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์มได้ หรือ ถึงแม้ปะการังจะสามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์มได้ แต่คราบน้ำมันและสารขจัดคราบน้ำมัน จะทำให้เซลล์สืบพันธุ์ที่ถูกปล่อยออกมามีรูปร่างที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถปฏิสนธิกันได้จึงทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า ปะการังเป็นหมันชั่วคราว

อ่านข่าว "ไทยออยล์" แจงปมน้ำมันดิบรั่วกลางทะเล-เร่งกำจัดคราบน้ำมัน 

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งแวดล้อมกลับมาเหมือนเดิม ปะการังส่วนใหญ่ก็สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่อาจจะไม่ 100 % ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบในระยะกลางและระยะยาวอย่างไรต่อสัตว์ทะเล ซึ่งการตรวจติดตามผลกระทบนี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขึ้นสูงเพื่อดูไปถึงสรีรภายในของสัตว์ทะเล

ศ.สุชนา ชวนิชย์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.สุชนา ชวนิชย์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.สุชนา ชวนิชย์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้าน ศ.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสถานีวิจัยสัตว์ทะเลตั้งอยู่บนเกาะสีชัง และมีงานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกปะการังที่เกาะค้างคาว จึงต้องมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดว่า การรั่วไหลของน้ำมันในครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลบริเวณนั้นอย่างไร เนื่องจากทั้งเกาะค้างคาวและเกาะสีชังห่างจากบริเวณที่น้ำมันรั่วประมาณ 1-2 กม.เท่านั้น

อ่านข่าว เตือนเฝ้าระวัง "อาการทางเดินหายใจ-อาหารเป็นพิษ" เหตุน้ำมันรั่ว 

ทางทีมนักวิจัยจากจุฬาฯ กำลังดำเนินการเก็บตัวอย่างและสำรวจอย่างละเอียดโดยจะใช้เรือจุฬาฯ วิจัย ออกไปเก็บตัวอย่างน้ำทะเลและดิน ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ กลุ่มคราบน้ำมัน เพื่อดูผลกระทบของน้ำมันที่รั่วและสารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (Oil Spil Dispersant) ต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และจะนำมาศึกษาวิจัยในเชิงลึก และนำเทคโนโลยีการแยกลำดับสารทางพันธุกรรม (DNA) ของสิ่งมีชีวิตแบบ metagenomic มาประยุกต์ใช้ โดยการศึกษาในลักษณะนี้จะสามารถบ่งบอกถึงผลกระทบภายในของสัตว์ทะเล รวมทั้งปลาต่าง ๆ ในบริเวณเหล่านั้นได้

อ่านข่าว กางสถิติ ทะเลไทยเผชิญเหตุน้ำมันรั่ว จังหวัดที่พบบ่อยสุด 

นอกจากนี้ ทางทีมจุฬาฯ ได้วางแผนการศึกษาผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันในระยะยาวด้วยเช่นกัน โดยจะมีการลงไปเก็บตัวอย่างมาศึกษาเป็นระยะๆ

จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556 และเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2565 ที่ระยอง ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการประเมินถึงการรั่วไหลของน้ำมันดิบลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยได้เข้าไปศึกษาปริมาณโลหะหนัก ปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ผลของน้ำมันและสารเคมีขจัดคราบน้ำมันต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล

อ่านข่าว ยกระดับ! Tier 2 "น้ำมันรั่วชลบุรี" คาด 3-4 วันจบ 

รวมทั้งการสะสมและส่งผ่านสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในห่วงโซ่อาหารทะเล “สำหรับในครั้งนี้ ทางทีมวิจัยจะติดตามศึกษาผลกระทบต่อสัตว์ทะเลและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมมือกันป้องกันแก้ไขในระยะยาว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” ศ.ดร.วรณพ กล่าว

 อ่านข่าว

อัปเดตคราบน้ำมัน! ไม่พัดเข้าหาดบางพระ-จ่อเอาผิดไทยออยล์  

"ไทยออยล์" แจงปมน้ำมันดิบรั่วกลางทะเล-เร่งกำจัดคราบน้ำมัน 

ด่วน! ทิศทางคราบน้ำมันรั่ว 4.5 หมื่นลิตรจุดแรกเข้า "เกาะท้ายค้างคาว" 

เที่ยงนี้! คราบน้ำมันรั่วเข้า "หาดบางพระ-อ่าวอุดม" รัศมี 4 กม.  

กางสถิติ ทะเลไทยเผชิญเหตุน้ำมันรั่ว จังหวัดที่พบบ่อยสุด 

ทส.เฝ้าระวัง 5 จุดเสี่ยง "น้ำมันรั่วชลบุรี" ห่วงปะการังเกาะค้างคาว 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง