“กลืนลำบาก-สำลักบ่อย” ในผู้สูงอายุต้องระวัง เสี่ยงเสียชีวิต

สังคม
14 ก.ย. 66
12:53
309
Logo Thai PBS
“กลืนลำบาก-สำลักบ่อย” ในผู้สูงอายุต้องระวัง เสี่ยงเสียชีวิต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ระบุ นอกจากสาเหตุการผิดพลาดอุบัติเหตุจากการเคี้ยวอาหารแล้ว หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการสำลักอาหารในผู้สูงอายุ คือ “ภาวะการกลืนลำบาก” หากปล่อยไว้อาจจะลุกลามจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ญาติและครอบครัวต้องสังเกตอาการของผู้สูงอายุ

สาเหตุผู้สูงอายุกลืนลำบาก ทำให้เกิดการสำลักอาหาร เสี่ยงเสียชีวิต

ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึงสาเหตุการสำลักอาหาร เกิดได้จากหลายปัจจัย

1.ความผิดพลาดอุบัติเหตุในจังหวะการกลืน เช่น การกินอาหารชิ้นใหญ่และค่อนข้างเหนียว การพูดในขณะกินอาหารโดยไม่ทันระวัง การเตรียมอาหารที่ไม่เหมาะกับการกลืนในผู้สูงอายุ การกินรสจัดก็กระตุ้นการสำลัก

2.เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น เริ่มมีปัญหาเรื่องการกลืน เช่น ผู้สูงอายุบางคนที่มีอายุ 75-80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 เริ่มมีอาการสำลักเล็กน้อย เช่น การจิบน้ำ หรือ การกินอาหารบางอย่างจะมีการไอ การกระแอม หรือการเคี้ยวกลืนรอบเดียวอาจจะไม่ได้ ต้องกลืนหลายครั้ง หรือภาวะด้านโภชนาการถดถอย เช่น น้ำหนักตัวลดลง กล้ามเนื้อลีบลง

3.การมีโรคหรือการเจ็บป่วยเดิมที่ทำให้การกลืนไม่ดี เช่น กล้ามเนื้อการกลืนไม่ดี หลอดอาหารมีปัญหา

ต้องยอมรับว่าผู้สูงอายุ การแบ่งสมาธิทำกิจกรรมพร้อมกันเริ่มถดถอย อาจจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้สำลักอาหาร แต่ชนิดของอาหารและความเผลอเลอก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย
ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วิธีการสังเกตภาวะการกลืนลำบาก

ศ.นพ.วีรศักดิ์ แนะวิธีสังเกตในผู้สูงอายุเริ่มมีภาวะการกลืนลำบาก คือ เมื่อกินอาหารจะมีการไอหรือการกระแอม กินอาหารจะรู้สึกติดที่คอหอยหรือบริเวณกลางหน้าอก รวมทั้งกินแล้วอาจจะสำลักมีน้ำไหลออกทางปากหรือจมูก การกินอาหารเคี้ยวและกลืนแต่ละคำใช้เวลาการกลืนมากกว่า 1-2 ครั้ง บางคนเคยมีประวัติสำลักลงปอดและเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลง

การสำลักเล็กน้อย มีผลกระทบต่อโภชนาการ อาจมีผลต่อปอดอักเสบ ถ้าสำลักที่เป็นโรค เช่น มะเร็งทางเดินอาหาร โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเกี่ยวกับเซลล์ประสาท ทำให้กลืนไม่ค่อยดี บางโรคพบเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เช่น กล้ามเนื้อไม่มีแรง อาจสำลัก หรือ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก มีผลกระทบต่อการกลืน

สำลักอาหารต้องเร่งปฐมพยาบาล

ศ.นพ.วีรศักดิ์ ระบุว่า หากเป็นการสำลักอาหารแบบผิดพลาดอุบัติเหตุต้องสังเกตอาการว่าสามารถพูดคุยได้หรือไม่ หากพูดคุยได้ควรให้ดื่มน้ำ หากพูดคุยไม่ได้ต้องสังเกตว่า ผู้ที่สำลักมีอาการกระสับกระส่ายหรือไม่ ซึ่งต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายใน 4-5 นาที โดยใช้วิธีเข้าไปที่ด้านหลังของผู้สำลักและใช้มือโอบ

นำมือกดบริเวณใต้อกแล้วดันขึ้น ส่วนการสำลักแล้วเกิดอาการหอบ อาจจะมีเศษอาหารลงปอดหรือมีการติดเชื้อตามมา ต้องรีบไปพบแพทย์ หากเป็นผู้สูงอายุที่สื่อสารไม่ได้ ญาติต้องสังเกตว่ามีอาการเหนื่อยหอบ มีไข้ขึ้น มีการซึมหรือไม่ หลังจากสำลักแล้วกินอาหารได้น้อยลงต้องรีบไปพบแพทย์

ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

ศ.นพ.วีรศักดิ์ ระบุว่า ผู้สูงอายุบางคนอาจจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือ บางคนอาจมีภาวะสมองเสื่อม มีความเข้าใจ จังหวะการกิน การเคี้ยว-กลืนที่เปลี่ยนแปลงไปเริ่มเคี้ยวและกลืนไม่เป็น ผู้สูงอายุบางคนต้องป้อนอาหาร

การป้อนอาหารนั้นผู้สูงอายุต้องรู้สึกตัว ไม่ควรป้อนหรือกินอาหาร ในช่วงที่มีอาการซึมหรือผู้สูงอายุมีอารมณ์หงุดหงิด อีกแนวทางการป้องกันการสำลักควรจัดท่าทางผู้สูงอายุให้ศีรษะสูง จัดอาหารชนิดที่กลืนง่าย อาหารที่นิ่ม ไม่เหนียวเกินไปและควรเป็นชิ้นเล็กไม่แข็งเกินไป หากมีปัญหาเรื่องการกลืน ต้องทำอาหารข้นเป็นเนื้อเดียวกัน

การตื่นดี การร่วมมือในการกินอาหาร ไม่ให้ผู้สูงอายุแบ่งแยกสมาธิในจังหวะที่กิน ชวนคุยเพิ่มความเพลิดเพลิน ก็ทำให้เกิดการสำลักขึ้นได้

ศ.นพ.วีรศักดิ์ ระบุว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุที่มารักษาภาวะการกลืนลำบากเพิ่มจำนวนขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะประชาชนมีอายุยืนเป็นสังคมผู้สูงอายุ มีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รวมทั้งญาติหรือผู้ป่วยมีความพยายามค้นหาข้อมูลเบื้องต้นและไปพบแพทย์ก่อนจะแสดงอาการชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่มักพบอาการมากจึงไปพบแพทย์

รายงาน : วิภา ปิ่นแก้ว ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส

อ่านข่าวอื่นๆ

โยก 4 นายตำรวจ รักษาการ ผกก.- สว.กก. 2 บก.ทล.

นายกฯ ยืนยัน "แค่ทางเลือก" ไม่บังคับจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด

"พิธา" ติดอันดับ 100 ผู้ทรงอิทธิพลแห่งอนาคต นิตยสารไทม์

ไทยพีบีเอส ถ่ายทอดสดกีฬา “เอเชียนเกมส์ 2022” (ครั้งที่ 19) เช็กโปรแกรมแข่ง ทีมชาติไทย ที่นี่!

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง