"อบต.ดอนแก้ว" ชุมชนไร้ " รถเก็บขยะ-ถังขยะ" ต้นแบบท้องถิ่นจัดการขยะอย่างยั่งยืน

สิ่งแวดล้อม
20 ก.ย. 66
12:09
1,901
Logo Thai PBS
"อบต.ดอนแก้ว" ชุมชนไร้ " รถเก็บขยะ-ถังขยะ" ต้นแบบท้องถิ่นจัดการขยะอย่างยั่งยืน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยเป็น 1 ใน 4 ชุมชนต้นแบบที่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกให้เป้นต้นแบบการจัดการขยะในท้องถิ่น ซึ่ง อบต.ดอนแก้ว ได้สร้างความร่วมมือกับชุมชน จนสามารถจัดการขยะทั้งการคัดแยกขยะจากต้นทาง ทำปุ๋ย และนำไปขายเพื่อสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน โดยดำเนินการมาแล้วกว่า 20 ปี

บริเวณตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จะไม่พบเห็น ถังขยะวางไว้หน้าบ้านเหมือนกับที่อื่น ๆ

บริเวณตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จะไม่พบเห็น ถังขยะวางไว้หน้าบ้านเหมือนกับที่อื่น ๆ

บริเวณตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จะไม่พบเห็น ถังขยะวางไว้หน้าบ้านเหมือนกับที่อื่น ๆ

อบต.ไร้รถเก็บขยะ - ถังขยะ

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ตนเองมาอยู่ ที่นี่ตั้งแต่ปี 42 พบว่า การจัดการปัญหาขยะมีต้นทุนที่สูงซึ่ง ขณะนั้นการจ้างทิ้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้จากการเก็บขยะจะอยู่ที่ 3.5 แสนบาทต่อปี

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว

รวมถึงยังมีค่าใช้จ่าย ในการจัดซื้อรถเก็บขยะและพนักงาน และยังมีปัญหาพื้นที่ในการทิ้งขยะด้วยเนื่องจากพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ของกองทัพ ทำให้ไม่มีพื้นที่ในการนำขยะไปทิ้ง

จึงเป็นจุดเริ่มที่นำมาสู่การคัดแยกขยะในพื้นที่ อบต.ดอนแก้ว ทั้ง 10 หมู่บ้าน โดยมีความร่วมมือกับนักวิชาการ ประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ จัดทำระบบการคัดแยกขยะ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค.43 เป็นต้นมา และผ่านการเรียนรู้และทำความเข้าใจ จนนำมาสู่การจัดการขยะในชุมชนตำบอลดอนแก้วอย่างมีประสิทธิภาพ

เราไม่มี รถจัดเก็บขยะแม้แต่คันเดียว ไม่มีถังขยะแม้แต่ถังเดียว วิธีการจัดการขยะ ทั้งการคัดแยกขยะจากต้นทางในครัวเรือน รวมถึงการทำปุ๋ยหมัก ก็ผ่านการเรียนรู้มาด้วยกัน  

แยกขยะ 4 ประเภท จากต้นทางสู่การจัดการขยะแสนง่าย

น.ส.อารีรีรัตน์ มาตัน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข อบต.ดอนแก้ว อธิบายเพิ่มเติมว่า จุดเริ่มต้นการบริหารจัดการขยะในชุมชน ภายใต้แนวคิดว่า ใครที่เป็นผู้สร้างขยะ จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการ ซึ่งจะไม่ใช่หน้าที่ของท้องถิ่นเพียงอย่างเดียวในการจัดการขยะทั้งหมด โดยปลูกฝังแนวคิดนี้มาตั้งแต่ช่วงแรกในปี 43 ซึ่งในช่วงนั้นเกิดเวที “ข่วงกำกึ๊ด” หรือ “ลานความคิด” ในการระดมความคิดเพื่อจัดการปัญหาขยะในพื้นที่

จากนั้นจึงนำมาสู่ “โมเดล ดอนแก้ว 2” หลังจากโมเดลแรกคือ “ขี้หมูหอม” คือการจัดการขี้หมูจากโรงเลี้ยงให้เป็นแก๊สชีวภาพ และ ดอนแก้วโมเดล 2 คือ “ขยะบุฟเฟ่ต์” ซึ่งจุดสำคัญคือ การคัดแยกขยะจากต้นทางจนนำไปสู่แนวทางหลากหลายในการจัดการขยะ

ชาวบ้านในพื้นที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลในครัวเรือน มายังจุดรวบรวมขยะเพื่อให้ อบต.ดอนแก้ว นำไปขายและนำเงินมาสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน

ชาวบ้านในพื้นที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลในครัวเรือน มายังจุดรวบรวมขยะเพื่อให้ อบต.ดอนแก้ว นำไปขายและนำเงินมาสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน

ชาวบ้านในพื้นที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลในครัวเรือน มายังจุดรวบรวมขยะเพื่อให้ อบต.ดอนแก้ว นำไปขายและนำเงินมาสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน

ในพื้นที่ อบต.ดอนแก้วจะ คัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.ขยะเปียก 2.ขยะแห้ง 3.ขยะแห้งที่มีประโยชน์ 4.ขยะอันตราย 1.ขยะเปียกทั่วไป จากเศษจำพวกเศษอาหาร ผัก ผลไม้ต่าง ๆ

ขยะเปียกในครัวเรือนนำมาทำเป้นปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ปลูกพืชผักสวนครัว

ขยะเปียกในครัวเรือนนำมาทำเป้นปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ปลูกพืชผักสวนครัว

ขยะเปียกในครัวเรือนนำมาทำเป้นปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ปลูกพืชผักสวนครัว

2.ขยะแห้งทั่วไป ที่ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าต่อการนำไปรีไซเคิล เช่น ถุงพลาสติกเปื้อน ถุงขนม เปลือกลูกอม และอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำไปจัดการต่อไป

3.ขยะแห้งมีประโยชน์ (รีไซเคิล) เป็นขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ ขวด

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 -  60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 - 60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 - 60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

4.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟฉาย ถ่านไฟฉาย กระป๋องยาฆ่าแมลง เครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งเป็นขยะที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทาง อบต.ดอนแก้วจะเก็บรวบรวมเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป

ทั้งนี้ ปริมาณขยะในพื้นที่ อบต.ดอนแก้วมีทั้งสิ้นราว 2.9 ตันต่อปี แต่เมื่อมีโครงการคัดแยกขยะนำไปทำปุ๋ยหมักและส่งไปขายสามารถลดปริมาณจนเหลืองจนเหลือเพียง 1.76 ตันต่อปี หรือ จากขยะทั้งหมด 100 % สามารถลดปริมาณขยะไปได้ 30 -50 %

"ขยะบุฟเฟ่ต์" กระตุ้นจิตสำนึกจัดการขยะ 

น.ส.อารีรีรัตน์ ยังกล่าวว่า การให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการคัดแยก ก็จะนำมาสู่การจ่ายค่าจัดเก็บขยะในแต่ละครัวเรือนที่แตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า “ขยะบุฟเฟ่ต์” แบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

1.ขยะเปียกทำปุ๋ยหมักเองที่บ้าน และขยะแห้งนำมาวางที่จุดรวบรวมของหมุ่บ้าน รููปแบบนี้ ทาง อบต.จะไม่เก็บค่าเก็บขยะ

2.ขยะเปียกทำปุ๋ยหมักเองที่บ้าน และขยะแห้ง ให้อาสาสมัครจัดเก็บถึงบ้านสัปดาห์ละครั้ง จะมีค่าจัดเก็บเดือนละ 50 บ.

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 -  60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 - 60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 - 60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

3.ขยะเปียก ที่นำมาให้อาสาสมัครหมู่บ้านนำไปเก็บทุกวัน และขยะแห้งเจ้าของบ้านนำไปไว้ที่จุดรวบรวมในหมู่บ้านสัปดาห์ละครั้ง จะมีค่าจัดเก็บขยะ 70 บ.

4.ขยะเปียก อาสาสมัครของหมู่บ้านจะเข้าไปเก็บทุกวัน ขยะแห้งอาสาสมัครของหมู่บ้านจะไปเก็บถึงครัวเรือน สัปดาห์ละครั้ง แต่ละครัวเรือนสามารถทิ้งขยะได้ 3 ถุง/สัปดาห์ ครั้ง จะมีค่าจัดเก็บขยะ 70 บ.ขณะที่ครัวเรือนที่ไม่เข้าร่วมโครงการจะมีการเข้ามาจัดเก็บโดยเอกชน ราคาอยู่ที่ 200 -300 บ.

ยอดครัวเรือนเข้าร่วมจัดการขยะเพิ่มต่อเนื่อง 

น.ส.อารีรีรัตน์ ยังกล่าวว่า แนวคิด การจัดการขยะโดยชุมชน มีกลไก ในการจัดการขยะที่สำคัญ คือ การมี คณะกรรมการจัดการขยะในชุมชน ที่มีส่วนสำคัญในการคิด ออกแบบ และควบคุมดูแล การจัดการขยะ และ “อาสาสมัครจัดการขยะ” ที่จะมีรายได้จากการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 -  60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 - 60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

ขยะในครัวเรือนจะถูกรวบรวม โดยอาสาสมัครภายในหมู่บ้าน และนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาราว 45 - 60 ก็ได้ปุ๋ยมาใช้แล้ว

อาสาสมัคร จะมีทั้งหมด 29 คน ตระเวนรับขยะเปียกจากครัวเรือนกระจายในพื้นที่ 10 หมู่บ้านโดยแต่ละคนจะมีเส้นทางประจำในการเข้าเก็บขยะเปียก โดยจะตระเวนรับตั้งแต่เวลา 05.00 -09.00 น.หลังจากนั้นอาสาสมัครก็จะไปทำงานของตนเองได้ตามปกติ อาสาสมัครจะได้ค่าแรง 3,500 บาท/เดือนอาสาสมัคร 1 คนจะดูแล 50 ครัวเรือน จะเข้าไปรับขยะในแต่ละครัวเรือน โดยขยะเปียกที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษผัก อาหาร เปลือกผลไม้ เพื่อนำไปเป็นปุ๋ยหมักใช้ในการเพาะปลูกต่อไป

ชาวบ้านในพื้นที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลในครัวเรือน มายังจุดรวบรวมขยะเพื่อให้ อบต.ดอนแก้ว นำไปขายและนำเงินมาสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน

ชาวบ้านในพื้นที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลในครัวเรือน มายังจุดรวบรวมขยะเพื่อให้ อบต.ดอนแก้ว นำไปขายและนำเงินมาสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน

ชาวบ้านในพื้นที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลในครัวเรือน มายังจุดรวบรวมขยะเพื่อให้ อบต.ดอนแก้ว นำไปขายและนำเงินมาสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน

ทั้งนี้ในแต่ละหมู่ จะมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคัดแยกและจัดเก็บขยะ เช่น โครงการขยะแลกเบี้ย ในพื้นที่ ม.8 โดยชาวบ้านจะนำขยะที่คัดแยกแล้วจากบ้านมาส่งที่จุดรวบรวมขยะจากนั้นทาง อบต.จะนำไปขายและนำเงินที่ได้มาจัดสวัสดิการให้ชุมชน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการขยะแลกของ โดยเมื่อนำขยะมาให้ ก็จะคิดเป็นมูลค่า และชาวบ้านจะได้รับคูปอง ที่สามารถนำไปแลกเป็นสินค้าที่ร้านที่เข้าร่วมโครงการได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อบัญญัติ ปรับเงินจำนวน 2,000 บาท ให้กับผู้ที่ลักลอบทิ้งขยะด้วย 


จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2555 - 2566 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 55 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 9.59 %, ปี 56 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 23.07%, ปี 57 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 32.36 %, ปี 58 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 67.38%,ปี 59 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 74.32 %, ปี 60 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 76.01%, ปี 61 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 75.93 %, ปี 62 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 78.21%, ปี 63 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 80.02%, ปี 64 มีผู้เข้าร่วมสัดส่วน 88.83 %

“อบต.ดอนแก้ว” 1 ใน 4 ชุมชนนำร่องจัดการขยะชุมชน

ขณะที่นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ขอชื่นชม อบต.ดอนแก้ว ที่สามารถค่อยเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะได้ ทั้งการไม่ตั้งถังขยะ และสร้างวินัยในการทิ้งโดยมีตารางการจัดเก็บขยะ การนำขยะเปียกไปทำปุ๋ย เพราะการจัดการขยะมีต้นทุนไม่น้อยทั้งการเผาและฝัง
นอกเหนือจากสนับสนุนด้านวิชาการ

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว  (กลางซ้าย) นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (กลางขวา)

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว (กลางซ้าย) นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (กลางขวา)

นายนพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว (กลางซ้าย) นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (กลางขวา)

ทางกรมฯ ก็สนับสนุนแนวคิดขยะเป็นศูนย์ (Food Waste) ที่เกิดขึ้นที่แต่เดิมจะนำไปทิ้งแต่จะนำไปให้กับชุมชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งพยายามทำในหลายทางเพราะการกำจัดขยะปลายทางมีต้นทุนที่สูง หากลดได้ตั้งแต่ต้นทางก็จะมีประโยชน์มาก

การที่กรมฯเลือก อบต.ตอนแก้ว เป็นต้นแบบ 1 ใน 4 ชุมชนนำร่องในการจัดการขยะเพื่อต่อยอดการจัดการขยะ Food waste ต่อไป นอกจากนี้ยังมีใน จ.ยโสธร กรุงเทพฯ และเกาะเต่า ลองดูการจัดการขยะ การเก็บข้อมูล จนนำไปสู่การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ขอให้กำลังใจเพราะการทำเรื่องสิ่งแวดล้อม 

ขณะที่ นางสุธีรัตน์ ไชยาวรรณ์ คณะกรรมการหมู่บ้าน และเหรัญญิกกองทุนหมู่บ้าน กล่าวว่า ช่วงแรกก็อาจจะยากหน่อยในการพูดคุยทำความเข้าใจ แต่เมื่อเริ่มทำและรู้ว่านำขยะมาทิ้งรวมเพื่อนำไปขาย ในวันจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีขยะมาทิ้งและเกิดเป็นมูลค่าดีกว่านำไปทิ้งถึงวันนี้ชาวบ้านทุกคนก็มีความเข้าใจและร่วมมือเป็นอย่างดี  

อบต.ดอนแก้ว เป็น 1 ใน 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะโดยชุมชน

อบต.ดอนแก้ว เป็น 1 ใน 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะโดยชุมชน

อบต.ดอนแก้ว เป็น 1 ใน 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะโดยชุมชน

อบต.ดอนแก้ว จึงเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ในการจัดการขยะ ที่เรียกได้ว่าเป็นชุมชนที่ไร้ถังขยะ และสร้างความร่วมมือในชุมชนได้เป็นอย่างดี และสามารถดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ดีเดย์ 1 ก.ย. ร้านค้าบนเกาะเต่า เลิกขาย "เบียร์ขวด" เปลี่ยนเป็น "กระป๋อง" แทน 

มท.มอบโล่เกียรติคุณ 25 หน่วยงานท้องถิ่น ส่งเสริมจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง