แผ่นดินไหว 3.6 บ้านดงมะดะ "รอยเลื่อนแม่ลาว"จุดที่เคยเขย่า 6.3

ภัยพิบัติ
21 ก.ย. 66
09:56
2,832
Logo Thai PBS
แผ่นดินไหว 3.6 บ้านดงมะดะ "รอยเลื่อนแม่ลาว"จุดที่เคยเขย่า 6.3
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แผ่นดินไหวขนาด 3.6 ลึกแค่ 2 กม.พื้นที่บ้านดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย รู้สึกสะเทือนใน 4 อำเภอของเชียงราย กรมทรัพยากรธรณี ระบุเกิดจากรอยเลื่อนแม่ลาว ในอดีตเคยมีแผ่นดินไหวใหญ่ที่สุด 6.3 เมื่อ 5 พ.ค.2557

วันนี้ (21 ก.ย.2566) กรมทรัพยากรธรณี รายงานว่าเมื่อเวลา 00.45 น.เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.6 ระดับความลึก 2 กิโลเมตร ในพื้นที่ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่ลาว อ.พาน อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ทั้งนี้กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าสาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อน
แม่ลาว ที่มีการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีการเลื่อนตัวตามแนวระนาบเหลื่อมซ้าย (Left lateral strike slip fault) ประชาชนในพื้นที่ อ.เมือง อ.แม่ลาวอ.พาน และ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย และไม่มีอาฟเตอร์ช็อกตามมา

จากประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในรอยเลื่อนแม่ลาว ในช่วงปีพ.ศ.2559-2565 เคยเกิดขนาดแผ่นดินไหว ดังนี้

  • ต่ำกว่าขนาด 3.0 จำนวน 335 ครั้ง
  • ขนาด 3.0-3.9 จำนวน 21 ครั้ง
  • ขนาด 4.0-4.9 จำนวน 1 ครั้ง
  • ขนาด 6.3 จำนวน 1 ครั้งเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2557

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยารายงาน รับแจ้งข้อมูลจากประชาชนมากกว่า 10 ครั้งแจ้งเหตุรู้สึกสั่นไหว ซึ่งมีทั้งบ้านชั้นเดียว บ้าน 2 ชั้น อะพาร์ตเมนต์ ครอบคลุมในพื้นที่หลายตำบลใน อ.แม่สรวย อ.พาน อ.เมืองเชียงราย และ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย โดยส่วนใหญ่รู้สึก เช่นเตียงสั่นในช่วงเวลาสั้นๆ  รู้สึกมีเสียงดัง บ้านสั่นไหว ซึ่งบางรายถึงกับตกใจตื่น

เคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 6.3 

สำหรับรอยเลื่อนแม่ลาว เคยเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2557 เมื่อเวลา 18.08 น. ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย เนื่องจากพบแนวรอยแยกปรากฏอยู่จำนวนมาก โดยแผ่นดินไหวครั้งนั้นสร้างความเสียหายครอบคลุมจะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว

ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายด้านอาคารสถานที่ ทั้งโบราณสถาน สถานที่ราชการ เส้นทางคมนาคมและบ้านเรือนของประชาชน ในพื้นที่ที่รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนโดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และกำแพงเพชร

โดยมีบ้านเรือนเสียหายรวม 8,935 หลัง โดยที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง 116 หลัง ได้รับความเสียหายบางส่วน 8,463 หลัง, วัด 99 แห่ง โบสตถ์คริสต์ 7 แห่ง โรงเรียน 35 แห่ง มหาวิทยาลัย 1 แห่ง สถานพยาบาล 25 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม 6 แห่ง โรงแรม 1 แห่ง ถนน 5 สาย ตลิ่งพัง 1 แห่ง สะพาน 1 แห่ง และคอสะพาน 

อ่านข่าว

"รอยเลื่อนแม่ลาว" ขยับ 3.5 สะเทือน 4 อำเภอในเชียงราย

เปิดภาพ "รอยเลื่อนแม่ลาว" อายุกว่าแสนปี-ต้นเหตุแผ่นดินไหว 6.3

ข่าวที่เกี่ยวข้อง