5 ไฮไลต์ "วัตถุชิ้นสำคัญ-หาดูยาก" นิทรรศการวันพิพิธภัณฑ์ไทย

ไลฟ์สไตล์
23 ก.ย. 66
11:20
490
Logo Thai PBS
5 ไฮไลต์ "วัตถุชิ้นสำคัญ-หาดูยาก" นิทรรศการวันพิพิธภัณฑ์ไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดคลัง 17 แห่ง โชว์วัตถุชิ้นสำคัญในธีม "เรื่องลึก เบื้องหลัง วัตถุหาชมยาก" สู่สายตาหลายคนเป็นครั้งแรก ทั้งรอยตีนไดโนเสาร์ 120 ล้านปี ตลับงาช้าง เหรียญจีน ต้นขั้วโฉนดสมัยรัชกาลที่ 5 เขี้ยววาฬ ขยายเวลาจัดแสดงถึง 1 ต.ค.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
คลัง หัวใจสำคัญของพิพิธภัณฑ์ วัตถุยังอยู่ก็เล่าเรื่องได้ มรดกวัฒนธรรมของชาติจะไม่สูญหายไป

ดวงกมล กมลานนท์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร บอกเล่าความสำคัญของ "คลัง" แหล่งเก็บโบราณวัตถุ สิ่งของล้ำค่าหายาก หากพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ บริหารจัดการคลังได้ดี จะยังคงมีข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติอย่างยั่งยืน

ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พาเดินชมมหกรรม "วันพิพิธภัณฑ์ไทย" ที่ขยายเวลาจัดกิจกรรมไปถึงวันที่ 1 ต.ค.นี้ ภายใต้แนวคิด “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทย

พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทย

ย้อนหลังไป 149 ปี เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปิดพิพิธภัณฑ์หลวง ณ หอคองคอเดีย ภายในพระบรมมหาราชวัง ให้ประชาชนเข้าชมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ถือเป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทย ต่อมาปี 2538 ครม.มีมติกำหนดให้วันที่ 19 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย

ในปีนี้ทางเครือข่ายฯ รวมตัวกันจัดงานโดยมีพิพิธภัณฑ์เข้าร่วม 17 แห่ง นำวัตถุชิ้นสำคัญ สิ่งของแปลก ที่ถูกเก็บไว้ในคลังเป็นเวลานาน หรือเคยจัดแสดงนานแล้ว อาจเป็นครั้งแรกที่หลายคนจะได้ชม ในธีม "เรื่องลึก เบื้องหลัง วัตถุอันซีนหายาก" ที่ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ ยืนยันว่า "เด็ดทุกชิ้น" พร้อมหยิบยกไฮไลท์ห้ามพลาด

เรื่องลึก "รอยตีนไดโนเสาร์" 120 ล้านปี

"เรื่องลึก" ชวนชม รอยตีนไดโนเสาร์ไทย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี ถูกค้นพบที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นรอยตีนของไดโนเสาร์กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส

รอยตีนไดโนเสาร์ 120 ล้านปี

รอยตีนไดโนเสาร์ 120 ล้านปี

รอยตีนไดโนเสาร์ 120 ล้านปี

นักธรณีวิทยา และภัณฑารักษ์ เล่า "เรื่องลึก" ว่า ขณะเข้าสำรวจพื้นที่ได้พบรอยเท้าประหลาด 600 รอย สรุปว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ อยู่ในหมวดหินโคกกรวด กลุ่มหินโคราช ยุคครีเทเชียนตอนต้น หรือประมาณอายุ 120-100 ล้านปีก่อน

เบื้องหลัง "ตลับงาช้าง-เหรียญจีน-ต้นขั้วโฉนดสวน"

"เบื้องหลัง" ชวนชม "ตลับงาช้าง" ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โดยมี 20 ใบหลากขนาด สามารถวางซ้อนกันจนเหลือชิ้นเดียวได้

ตลับงาช้าง หลากหลายขนาด 20 ชิ้น

ตลับงาช้าง หลากหลายขนาด 20 ชิ้น

ตลับงาช้าง หลากหลายขนาด 20 ชิ้น

"เบื้องหลัง" คือ เมื่อปี 2446 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลเกล้าฯ ถวายงาช้าง 2 กิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างกลึงเป็นตลับงารูป "ลูกพลับ" ขนาดไล่เรียงกัน พระราชทานให้พระมเหสีเทวี 3 พระองค์ พร้อมพระราชทานนามเป็นชุดคล้องจองกัน หนึ่งในสามชุดคือ ชุดตลับงาในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระราชทานชื่อเป็นนกชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

อีก 1 "เบื้องหลัง" คือ เหรียญจีน ขุดค้นและสำรวจจากซากเรือรางเกวียน จ.ชลบุรี ระหว่างปี 2521-2524 พบสภาพวัตถุเกาะกันเป็นก้อนน้ำหนัก 200 กิโลกรัม เมื่อนำขึ้นจากน้ำมาไว้บนบกพบว่าเหรียญเสื่อมสภาพเร็วมาก

เหรียญจีน ขุดค้นและสำรวจจากซากเรือรางเกวียน

เหรียญจีน ขุดค้นและสำรวจจากซากเรือรางเกวียน

เหรียญจีน ขุดค้นและสำรวจจากซากเรือรางเกวียน

ทางภัณฑารักษ์และนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ได้ใช้เทคนิคในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภายใต้สนิมและการกอดรัดของเหรียญ 9,000 ชิ้น พบว่าเหรียญมีลักษณะกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3-2.5 เซนติเมตร วัสดุที่ใช้ผลิตเหรียญเป็นโลหะผสมทองแดงกับดีบุก และมีส่วนผสมของตะกั่วด้วย

ตรงกลางเหรียญมีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีตัวอักษรจีน 4 ตัว บอกอายุสมัยตั้งแต่ราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1164-1450) จนถึงราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2205) ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี

สมุดไทยดำ เจ้าหน้าที่ใช้บันทึกขณะสำรวจพื้นที่

สมุดไทยดำ เจ้าหน้าที่ใช้บันทึกขณะสำรวจพื้นที่

สมุดไทยดำ เจ้าหน้าที่ใช้บันทึกขณะสำรวจพื้นที่

โฉนดสวนและต้นขั้วโฉนดสวน ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน "เบื้องหลัง" ก่อนจะได้มานั้น เจ้าหน้าที่จะใช้ "สมุดไทยดำ" หรือ "สมุดข่อย" สำรวจพื้นที่เพื่อบันทึกจำนวนต้นไม้ และจำนวนอากรที่ต้องเสีย ก่อนนำมาเขียนลงในโฉนดสวน เพื่อแจกแก่เจ้าของสวนต่อไป การจัดแสดงในครั้งนี้จะได้เห็นทั้งต้นขั้วและโฉนด

โฉนดสวนและต้นขั้วโฉนดสวน ในสมัยรัชกาลที่ 5

โฉนดสวนและต้นขั้วโฉนดสวน ในสมัยรัชกาลที่ 5

โฉนดสวนและต้นขั้วโฉนดสวน ในสมัยรัชกาลที่ 5

อันซีนหายาก "เขี้ยววาฬ"

อันซีนหายาก คือ "เขี้ยววาฬ" เดิมจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยปรับปรุงการจัดแสดงหลายครั้ง และวัตถุเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในคลัง ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้ชมน้อย

เขี้ยววาฬ แกะสลักภาพเรือ

เขี้ยววาฬ แกะสลักภาพเรือ

เขี้ยววาฬ แกะสลักภาพเรือ

"เขี้ยววาฬสเปิร์ม" เป็นศิลปะตะวันตก คริสต์ศตวรรษที่ 19 แกะสลักเป็นภาพเรือในมหาสมุทร โดยเป็นงานศิลปะของกลาสีเรือ ที่เรียกว่าสคริมซอว์

นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดแสดงสิ่งของสำคัญ สิ่งของแปลก จากคลังพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งกาน้ำไข่นกกระจอกเทศ, ชุดแสตมป์ดวงแรกของประเทศไทย, โทรศัพท์รุ่นแรกที่นำเข้ามาใช้ในไทย, เครื่องตัดต่อภาพยนตร์โบราณ

กาน้ำไข่นกกระจอกเทศ

กาน้ำไข่นกกระจอกเทศ

กาน้ำไข่นกกระจอกเทศ

รูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญสมัยกรุงศรีอยุธยาบนภาชนะดินเผา, เครื่องส่งโทรเลข, เขาสมัน, งาช้างแปลก, ตุ๊กตาทองตัวแรก, เครื่องพิมพ์ดีดของ ป อินทรปาลิต, ตราประทับชาดงาดำ, ตั๋วรถราง, ป้ายรถราง, ปืนพระรามหก, รูปยาซิกาแรตชุดเจ้านายไทย อัณฑะผู้ป่วยโรคเท้าช้าง

ตุ๊กตาทองตัวแรก

ตุ๊กตาทองตัวแรก

ตุ๊กตาทองตัวแรก

 

อ่านข่าวอื่นๆ

เปิดเอกสารลับ! ทบ.สั่งตรวจสอบน้ำมันของ มทบ.18 หายจากคลัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง