จับตา "โคอินุ" รุนแรงใกล้เคียง "เตี้ยนหมู่" เข้าไทย 9-11 ต.ค.นี้

ภัยพิบัติ
30 ก.ย. 66
17:47
41,923
Logo Thai PBS
จับตา "โคอินุ" รุนแรงใกล้เคียง "เตี้ยนหมู่" เข้าไทย 9-11 ต.ค.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ทีมกรุ๊ป" เปิดเผยชื่อ "ไต้ฝุ่นโคอินุ" คาดเข้าไทย 9-11 ต.ค.นี้ ส่งผลให้มีฝนตกหนักทั่วประเทศ ความรุนแรงใกล้เคียงพายุเตี้ยนหมู่ ปี 2564

วันนี้ (30 ก.ย.2566) กรมอุตุนิยมวิทยาอัปเดต สถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" (ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น )แล้ว มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรก ทิศทางไปยังเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ ทิศทางยังเปลี่ยนแปลง

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

สอดคล้องกับ เฟซบุ๊ก Chawalit Chantararat นาย ชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทีมกรุ๊ป โพสต์ข้อความระบุ ยืนยันชื่อ "พายุไต้ฝุ่นโคอินุ" จากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก มีแนวโน้มจะเข้าไทย ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก 9-11 ต.ค.2566

ทำให้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีความจำเป็นต้องระบายน้ำพร่องน้ำออกจากเขื่อนที่มีน้ำมากในแนวเส้นทางที่จะมีฝนตกหนัก เช่นลำปาว น้ำอูน หนองหาร ห้วยหลวง เพิ่มเติมอีกหรือไม่

ที่มา : FB Chawalit Chantararat

ที่มา : FB Chawalit Chantararat

ที่มา : FB Chawalit Chantararat

ไทม์ไลน์พายุไต้ฝุ่นโคอินุ (#14 : Koinu = ดาวหมาญี่ปุ่น)

ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นพายุลูกที่ 14 ของปีนี้ เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก

  • 3 ต.ค.2566 เพิ่มกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 และ 2 (สูงสุด=5)
  • 4 ต.ค.2566 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมากในไต้หวันทั้งประเทศ
  • 5 ต.ค.2566 เพิ่มกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ทำให้ฝนตกหนักที่ฮ่องกง แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางตะวันตก

หากไม่เปลี่ยนแปลง จากการคาดการณ์เบื้องต้น คาดว่า

  • 7 ต.ค.2566 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมากที่ไหหลำ
  • 9 ต.ค.2566 ขึ้นฝั่งเวียดนาม ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่กรุงฮานอยและพื้นที่ใกล้เคียงและในพื้นที่ประเทศลาว ตั้งแต่เวียงจัน สุวรรณเขต ลงไปถึงจำปาสัก และเริ่มมีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ใน จ.นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึง กทม.
  • 10 ต.ค.2566 จะทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน และอีสานตอนกลาง ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึง กทม.
  • 11 ต.ค.2566 ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ในพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคตะวันออก รวมถึง กทม.

จึงต้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิดต่อไป ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา นายชวลิตได้เคยโพสต์คาดการณ์ไว้ว่า จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก มีแนวโน้มจะเข้าไทย ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก 9-11 ต.ค. (หากไม่สลายตัวก็จะใกล้เคียงกับพายุเตี้ยนหมู่) จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีความจำเป็นต้องระบายน้ำพร่องน้ำออกจากเขื่อนที่มีน้ำมากในแนวเส้นทางที่จะมีฝนตกหนัก เช่นลำปาว น้ำอูน หนองหาร ห้วยหลวง หรือไม่

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

อ่านข่าวเพิ่ม :

 น้ำท่วมหนัก! เหนือ-อีสาน สะพานชำรุด ชาวบ้านพาควายหนีน้ำ

ฝนตกหนัก รถไฟกรุงเทพ-เชียงใหม่ ตกราง จ.แพร่ ผู้โดยสารเจ็บเล็กน้อย

สภาพอากาศวันนี้ 13 จังหวัดภาคเหนืออ่วม ฝนตกหนัก 80% พื้นที่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง