MCATT ไม่พบพฤติกรรมก้าวร้าวในรร. เด็ก14 ยิงในพารากอน

สังคม
5 ต.ค. 66
14:20
2,170
Logo Thai PBS
MCATT ไม่พบพฤติกรรมก้าวร้าวในรร. เด็ก14 ยิงในพารากอน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีม MCATT เผยหลังลงพื้นที่รร.ผู้ก่อเหตุ เด็กไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวครูและเพื่อนนร.ทราบอาการป่วย ชี้ซึมซับพฤติกรรมรุนแรงมีหลากปัจจัย

วันนี้ (5 ต.ค.) พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หลังส่งทีม MCATT ลงพื้นที่ รร.ของผู้ก่อเหตุ พบว่า โรงเรียนมีความเข้าใจในสถานการณ์ ที่อาจเกิดผลกระทบเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงที่ พารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากวานนี้ (4 ต.ค.)เพจและเฟสบุ๊คของ รร. ถูกโจมตีโดยชาวโซเชียล ซึ่งจากการพูดคุยกับครู และนักเรียน ของโรงเรียนดังกล่าว ทุกคนต่างทราบถึงอาการป่วยของนักเรียนที่ก่อเหตุมาตลอด

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของเด็กผู้ก่อเหตุเมื่ออยู่ภายในโรงเรียน ไม่ได้มีพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากโรงเรียนได้ปิดเทอมไปแล้ว 1 สัปดาห์ จึงบอกไม่ได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และจากการพูดคุยกับเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นต่างก็ไม่เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

สำรวจพฤติกรรมคนใกล้ตัวก่อนก่อเหตุรุนแรง

พญ.วิมลรัตน์ กล่าวว่า จากการพูดคุยกับครูและผู้ปกครองได้ข้อคิดเห็นตรงกันว่า ทำอย่างไรจึงจะสำรวจหรือ เฝ้าระวังคนใกล้ตัวที่อาจจะมีพฤติกรรมรุนแรง หรือมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนหรือไม่ เพื่อความปลอด ภัยของทุกคน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนนี้ ไม่แตกต่าง จากโรงเรียนอื่น หรือ ส่อทำให้เด็กมีความเครียด เนื่องจากเด็กยังอยู่ในระดับชั้นมัธยมต้น ไม่ใช่เด็กวัยที่ต้องสอบแข่งขัน

สัญญาณล่วงหน้า เรื่องความรุนแรง มักมีเสมอ ไม่ว่าจะรุนแรงต่อตนเอง และคนอื่น เพียงแต่จะออกมาในรูปแบบใด เช่น จากการพูดคุย

หลากปัจจัยเด็กซึมซับความรุนแรง

พญ.วิมลรัตน์ ยังกล่าวถึงการซึมซับพฤติกรรมความรุนแรงในวัยเด็กว่า มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และต้องสะสมเป็นเวลานาน โดยปัจจัยก่อพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดขึ้นทั้งจากในโรงเรียน,การรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ผ่านโซเชียลมีเดีย และครอบครัว เด็กอยู่ใกล้สิ่งไหนและใช้เวลาอยู่กับสิ่งใดมากกว่า ก็จะซึมซับกับสิ่งนั้นฉะนั้นทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ของตนให้ดี โรงเรียนต้องดูแลเด็กให้ดี ,สื่อ ต้องมีเนื้อหาที่สร้างสรรค์ รื่นรมย์ ,ครอบครัวต้องเข้าใจและมีเมตตากับเด็ก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับคนขายปืนให้เด็ก 14 ปี ได้แล้ว 2 คน เร่งตามตัวอีก 1

ตร.ชุดระงับเหตุเปิดใจนาทีเผชิญหน้า-เจรจาเด็กยิงในพารากอน

อย่ามองเกมเป็นจำเลย ครอบครัวคือโค้ชคนแรกของลูก 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง