เสน่ห์เมืองไทย ชาวมาเลเซียติดใจขึ้นแท่นนักท่องเที่ยวอันดับ 1

ภูมิภาค
8 ต.ค. 66
10:00
2,656
Logo Thai PBS
เสน่ห์เมืองไทย ชาวมาเลเซียติดใจขึ้นแท่นนักท่องเที่ยวอันดับ 1
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แม้จีนมีประชากรมากกว่าพันล้านคน แต่เทียบสถิตินักท่องเที่ยวสะสมเดินทางเข้าไทย "มาเลเซีย" กลับขึ้นแซงอันดับ 1 ด้วยปัจจัยหลายด้าน เรียกว่าสำหรับไทยแล้ว นักท่องเที่ยวจากแดนเสือเหลือง คือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้ความสำคัญ

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา (Economics Tourism and Sports Division) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดข้อมูลล่าสุด 2 ต.ค.2566 เกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. - 1 ต.ค.2566 

ข้อมูลนักท่องเที่ยวสะสม 1 ม.ค.-1 ต.ค.2566

ข้อมูลนักท่องเที่ยวสะสม 1 ม.ค.-1 ต.ค.2566

ข้อมูลนักท่องเที่ยวสะสม 1 ม.ค.-1 ต.ค.2566

พบว่ายอดนักท่องเที่ยวสะสมมีจำนวน 20,051,535 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 250 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว แล้ว 5 อันดับนักท่องเที่ยวสูงสุด ได้แก่

  1. มาเลเซีย 3,280,622 คน
  2. จีน 2,509,698 คน
  3. เกาหลีใต้ 1,197,763 คน
  4. อินเดีย 1,165,935 คน
  5. รัสเซีย 994,431 คน

ส่วนปัจจัยที่คาดว่ามีผลทำให้ยอดนักท่องเที่ยวเดินทางเที่ยวไทยอยู่ได้แก่

  • มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราเข้าประเทศ หรือ วีซาฟรี ให้แก่นักท่องเที่ยวจีนและคาซักสถาน ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นถึง 100,000 คนในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลังประกาศใช้ (ข้อมูล 24 ก.ย.-1 ต.ค.2566) 
  • วันหยุดต่อเนื่องในมาเลเซียและเกาหลีใต้
  • วันหยุดช่วง Golden week ของชาวจีน (1-7 ต.ค.2566)
  • การเริ่มฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวยุโรป เช่น เยอรมนี รัสเซีย  

จากข้อมูลดังกล่าว อาจสร้างความสงสัยและแปลกใจได้ว่า จีนไม่ใช่สุดยอดนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเมืองไทยหรอกหรือ ?

ลองมาดูกันว่า 3 ปัจจัยที่ทำให้ มาเลเซียแซงหน้าจีน เข้าวินอันดับ 1 ยอดนักท่องเที่ยวสะสมเดินทางเข้าไทย

ไกลแค่ไหนก็ใกล้ที่สุด

พื้นที่ภาคใต้ของไทยที่ติดกับมาเลเซียมี 4 จังหวัด ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา นราธิวาส ที่ด่านเบตง จ.ยะลา ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองให้ข้อมูลว่า วันธรรมดาจะมีชาวมาเลเซียข้ามแดนมาเที่ยวประมาณวันละ 1,000 คน แต่ถ้าวันหยุดสุดสัปดาห์จะมากถึง 2,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเดินทางมาด้วยรถบัส รถตู้โดยสาร และรถยนต์ส่วนตัว 

ข้อมูลจาก UASEAN มหานครอาเซียน ระบุว่า ด่านเบตง และ ด่านสุไหงโก-ลก เป็น 2 ด่านที่มีคนเข้าเมืองมากที่สุด เมื่อเทียบกับด่านทางบกอื่นๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นอย่างดี

ล่าสุดเมื่อ 11 ส.ค.2565 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดบริการรถไฟสายใต้ เส้นทางสถานีกรุงเทพฯ – สถานีปาดังเบซาร์ (ฝั่งมาเลเซีย) – สถานีกรุงเทพฯ ต่อมาเดือน เม.ย.2566 รถไฟมาเลเซีย KTM (Keretapi Tanah Melayu) จัดเดินรถขบวนพิเศษเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์ เปิดให้บริการตั้งแต่  29 เม.ย.2566 - 1 ม.ค. 2567 

เส้นทางรถไฟไทย-มาเลเซีย

เส้นทางรถไฟไทย-มาเลเซีย

เส้นทางรถไฟไทย-มาเลเซีย

ถูกดีที่เมืองไทย

ในวันหยุดยาวของมาเลเซีย หรือเทศกาลท่องเที่ยว ชาวมาเลเซียจะนิยมเดินทางมาเที่ยวไทย เพราะค่าใช้จ่ายมีราคาที่ถูกกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบินกัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ พบว่ามีราคาอยู่ประมาณ 2,000-3,000 บาท ในขณะที่หากชาวมาเลเซียเองต้องการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ เช่น จากกัวลาลัมเปอร์ ไปยัง รัฐซาบาห์ บนเกาะบอร์เนียว ต้องเสียค่าตั๋วประมาณ 3,000-15,000 บาท 

ตั๋วเครื่องบินที่มีราคาถูก ทำคนมาเลเซียยอมจ่ายเพื่อเที่ยวไทย

ตั๋วเครื่องบินที่มีราคาถูก ทำคนมาเลเซียยอมจ่ายเพื่อเที่ยวไทย

ตั๋วเครื่องบินที่มีราคาถูก ทำคนมาเลเซียยอมจ่ายเพื่อเที่ยวไทย

ปีที่แล้ว (2565) สื่อมาเลเซียเสนอข่าวนักท่องเที่ยวมาเลเซียไหลเข้าไทย ทำเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยวมาเลเซียบนเกาะลังกาวี ลดลงกว่าร้อยละ 48.9 แต่ก็ถูกชาวเน็ตมาเลเซียโต้กลับว่า

สยาม (ไทย) คือที่สุด อาหารอร่อยและราคาถูก ซื้ออาหารตามรถขายอาหารก็เทียบเท่าอาหารจากร้าน 5 ดาวเลย นอกจากนั้น ซื้อตั๋วไปซาบาห์ ซาลาวัก ราคาเหมือนซื้อตั๋วไปออสเตรเลีย 
สื่อมาเลเซียอ้าง นักท่องเที่ยวมาเลเซียเที่ยวไทย ทำเศรษฐกิจมาเลเซียถดถอย

สื่อมาเลเซียอ้าง นักท่องเที่ยวมาเลเซียเที่ยวไทย ทำเศรษฐกิจมาเลเซียถดถอย

สื่อมาเลเซียอ้าง นักท่องเที่ยวมาเลเซียเที่ยวไทย ทำเศรษฐกิจมาเลเซียถดถอย

ความคิดเห็นชาวเน็ตมาเลเซีย

ความคิดเห็นชาวเน็ตมาเลเซีย

ความคิดเห็นชาวเน็ตมาเลเซีย

มากไปกว่านั้น ด้วยมาตรการวีซาฟรี ไทย-มาเลเซีย นักท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศจะสามารถพำนักอยู่ในไทย หรือ มาเลเซียได้ไม่เกิน 30 วัน โดยไม่ต้องทำเรื่องขอวีซา ยิ่งเป็นมาตรการที่อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และ เป็นสิ่งดึงดูดให้ชาวมาเลเซียนิยมเดินทางเข้ามาใช้จ่ายในไทย มากกว่าประเทศของตนเอง 

วัฒนธรรมบ้านพี่เมืองน้อง

"กินเมืองคอน นอนเมืองไทร" ยังถือเป็นคำขวัญบ้านพี่เมืองน้องของชาวมาเลเซียและชาวไทย เดือน มิ.ย.2566 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกัวลาลัมเปอร์ เปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมจากมาเลเซียนิยมท่องเที่ยวในภาคใต้ของไทย ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม และอาหารที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยว 1 คนใช้เงิน 28,729 บาท/ทริป 

อาหารมาเลเซียที่มีความคล้ายคลึงกับอาหารไทย

อาหารมาเลเซียที่มีความคล้ายคลึงกับอาหารไทย

อาหารมาเลเซียที่มีความคล้ายคลึงกับอาหารไทย

และไทยยังเป็นประเทศเสรี มีอิสระทางความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ เพศ ไม่ได้มีระเบียบทางศาสนาที่เข้มงวดเท่ามาเลเซีย ชาวมาเลเซียหลายคนจึงมองว่า ไม่ใช่แค่ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวที่ถูก แต่ความบันเทิงก็เป็นอีก 1 ปัจจัยด้วย ที่เมืองไทยมีโอกาสที่พวกเราจะได้เจอศิลปินที่ชื่นชอบ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าพวกเขาเป็น LGBT แต่อย่างใด สิ่งสำคัญคือเราต้องการคือ สนุกกับเสียงดนตรีและความบันเทิง เท่านั้น  

ความคิดเห็นชาวเน็ตมาเลเซีย

ความคิดเห็นชาวเน็ตมาเลเซีย

ความคิดเห็นชาวเน็ตมาเลเซีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง